SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ความเชื่อฝังหัวเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้แคว้นกาตาลุญญาพยายามแยกตัวเป็นเอกราชจากสเปน ส่วนรัฐบาลสเปนก็เดินเกมพลาดที่ใช้ความรุนแรงจากความเชื่อฝังหัวเช่นกัน 

จะเป็นอย่างไรเมื่อประเทศที่ศักยภาพทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคน และบูรณภาพแห่งประชาธิปไตยรุดหน้ามากว่า 4 ทศวรรษ ต้องมารับมือกับวิกฤติดินแดนและรัฐธรรมนูญครั้งเลวร้ายที่สุดในยุโรป ?

คำตอบประเด็นนี้ไม่ได้อยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจ สเปนโดยเฉพาะอย่างยิ่งแคว้นกาตาลุญญาเติบโตเร็วกว่าประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป ทั้งคู่ไม่ได้ขัดแย้งกันในเรื่องชาติพันธุ์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนที่พูดภาษากาตาลันกับคนที่พูดภาษาสเปนก็ไม่ได้แย่ แต่ปัญหาอยู่ที่มุมมองความคิดที่ฝังรากลึกสองเรื่อง เรื่องแรกซึ่งเป็นความเชื่อฝังหัวกลุ่มที่อยากให้แคว้นคากาตาลุญญาแยกตัวเป็นเอกราช คือรัฐบาลสเปนเป็นเผด็จการมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ส่วนเรื่องที่สองซึ่งเป็นความเชื่อของคนสเปนทั่วไปคือ เหยี่ยว (คนฉลาด) ย่อมจัดการปัญหาได้ดีกว่านกพิราบ (คนโง่)

ความเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชของแคว้นกาตาลุญญาถูกกระตุ้นจากมุมมองที่มองว่ารัฐบาลสเปนเป็นผู้กดขี่ แต่ถ้ามองจากประวัติศาสตร์ สเปนไม่เน้นแนวทางรวมศูนย์อำนาจ หากแต่ใช้แนวทางกระจายอำนาจมากกว่า เมืองและแคว้นต่างๆ ในสเปนจึงค่อนข้างจะมีอำนาจปกครองตัวเอง มีแม้กระทั่งมีสิทธิ์ยับยั้งนโยบายของรัฐบาลกลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่หาได้ยากในประเทศอื่นเรื่องนี้ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและความร่วมมือซึ่งทำให้สเปนพัฒนาประเทศได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ฟื้นฟูประชาธิปไตยเมื่อปี 2521 แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ เพราะแนวทางนี้ก็ทำให้เกิดความต่างของกฎระเบียบและการจัดเก็บภาษีในแต่ละพื้นที่ส่งผลให้การรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยเฉพาะในทางตลาดเศรษฐกิจทำได้ยาก แม้รัฐบาลสเปนจะอ้างเรื่องการกระจายอำนาจแต่คนจำนวนไม่น้อยก็ยังกังขาเรื่องนี้ จึงเกิดกระแสต่อต้านชนชั้นผู้ปกครองตามเมืองและแคว้นต่างๆ บวกกับปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลง ยิ่งกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวจากล่างขึ้นบน

มาเรียโน ราฮอย

สเปนยังเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบความสำเร็จเรื่องการผนวกรวมผู้อพยพให้อยู่ร่วมในสังคมได้โดยไม่เกิดภาวะหวาดกลัวคนต่างชาติของคนที่อยู่ในสังคมแต่เดิม ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศหนึ่งที่สังคมเปิดรับคนกลุ่มน้อยทางเพศมากที่สุดด้วย แต่แทนที่จะขายความสำเร็จเรื่องความหลากหลายที่ว่านี้ รัฐบาลสเปนภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีมาริอาโน ราฮอยกลับแสดงปฏิกิริยาต่อความพยายามแยกตัวเป็นเอกราชของแคว้นกาตาลุญญาด้วยการใช้ความรุนแรง นายกรัฐมนตรีราฮอยน่าจะปล่อยให้คนกาตาลันออกไปลงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชแต่โดยดี เพราะไม่ว่าผลจะออกมายังไง การลงประชามติครั้งนี้ก็ยากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ขึ้นได้และไม่มีทางได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่ปรากฏว่านายกฯ ราฮอยกลับไม่เลือกที่จะปิดตาข้างเปิดตาข้าง เหมือนเมื่อครั้งที่เคยมีการลงประชามติลักษณะนี้เมื่อปี 2557

สำหรับรัฐบาลสเปน การตัดสินใจใช้ความรุนแรงดูจะมาจากมุมมองที่เรียกได้ว่าสมเหตุสมผล เพราะหากรัฐบาลแสดงท่าทีลังเลกับคำขู่ของฝ่ายเรียกร้องการแยกตัวเป็นเอกราช ย่อมจะไปนำสู่การอ่อนข้อและส่งสัญญาณถึงความอ่อนแอ แต่การส่งตำรวจหลายพันนายบุกเข้าไปปิดคูหาลงประชามติจนทำให้เกิดการใช้ความรุนแรง เป็นธรรมดาที่ภาพของหญิงชราเลือดอาบจากการพยายามลงประชามติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม จะโหมกระพือให้ทั้งฝ่ายเรียกร้องการแยกตัวเป็นเอกราชรวมถึงคนสเปนคนอื่นๆ ยิ่งรู้สึกไม่พอใจ ทั้งยังกระตุ้นให้คนกาตาลันที่ตอนแรกไม่เห็นด้วยกับการลงประชามติครั้งนี้เปลี่ยนใจ

ความเคลื่อนไหวของนายกรัฐมนตรีราฮอยครั้งนี้จึงมองได้ว่าไม่สร้างสรรค์ เพราะคนระดับผู้นำรัฐบาลทำไมจึงไม่สามารถเข้าใจได้ว่ารัฐยุคใหม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการผูกขาดการใช้รุนแรง หากแต่ขึ้นอยู่กับการผูกขาดความชอบธรรมทางกฎหมาย

ลักษณะเด่นที่ทำให้ปัญหาแคว้นกาตาลุญญามีความยากเป็นพิเศษมีสองข้อ ข้อแรกคือคนกาตาลันมีมุมมองแบ่งออกเป็นสองฝ่ายพอ ๆ กัน ฝ่ายหนึ่งมองว่ากาตาลุญญาเป็นอิสระได้ยาก ส่วนอีกฝ่ายมองว่าความคิดเรื่องการแยกตัวเป็นอิสระไม่มีวันหมดไปจากแนวคิดทางการเมืองของกาตาลุญญา ข้อสองคือแนวคิดแยกตัวเป็นเอกราชได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลางถึงชนชั้นสูงที่มีอิทธิพลทางการเมืองในกาตาลุญญามากกว่าคนที่ไม่ได้ประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเคลื่อนไหวและสิ่งที่เกิดขึ้นในกาตาลุญญามีนัยกับยุโรปด้วย เพราะความพยายามประกาศแยกตัวเป็นเอกราชของกาตาลุญญาอาจกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชในเขตแดนต่างๆ ทั่วยุโรปได้ อีกทั้งยังมีความเป็นไปได้ที่ความวุ่นวายภายในประเทศสเปนอาจรุนแรงขึ้นซึ่งจะทำให้ประเทศที่มีอิทธิพลทางการทูตอื่นๆ ต้องเลือกข้างว่าจะสนับสนุนฝ่ายไหน ถึงแม้ยุโรปจะยังห่างไกลจากความตึงเครียดที่รุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ แต่ดูเหมือนยุโรปจะกำลังเดินในเส้นทางเดียวกันนั้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้อาจฟังดูเกินจริงแต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ หากมีมุมมองความคิดผิดๆ ที่เป็นพิษกับประชาธิปไตย

 

*แปลจากบทความโดยรองศาสตราจารย์ Victor Lapuente Giné อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย Gothenburg สวีเดน

 

ที่มา TheGuardian

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า