SHARE

คัดลอกแล้ว

สพฉ.ร่วมกับ กพท. เตรียมแก้ระเบียบให้บริการแพทย์ด่วน ‘เฮลิคอปเตอร์’ เชื่อการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ จะช่วยลดความสูญเสีย คาดว่าจะเริ่มได้ที่พื้นที่อีอีซีก่อน

วันที่ 14 พ.ค. 2561 สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ประกาศความร่วมมือผลักดันบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ในไทยร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (อียู)

นายจุฬา สุขมานพ ผอ.กพท. เปิดเผยว่า ระยะแรกจะสนับสนุนโครงการให้ได้รับการอนุญาตให้เฮลิคอปเตอร์ทำการบินบริเวณจุดจอดที่มีการขออนุญาตกรณีฉุกเฉินไว้ล่วงหน้า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตโรงพยาบาล หลังจากนั้นจะแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้เฮลิคอปเตอร์ประเภทนี้สามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้ทุกที่เช่นเดียวกับในยุโรป และได้นำร่องให้บริการที่โรงพยาบาลกรุงเทพ และเตรียมขยายให้ครอบคลุมต่อไป รวมถึงจะมีการเร่งเปิดพื้นที่นำร่อง ในจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในอนาคตโดย กพท. จะพยายามให้เฮลิคอปเตอร์มีบทบาทเรื่องของการแพทย์มากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันในการขนส่งผู้ป่วยจะใช้ถนนและการใช้เครื่องบินจะเฉพาะแค่ส่งระหว่างโรงพยาบาล ซึ่งมีข้อจำกัดต่างๆ และมีใช้แค่ในบางพื้นที่

ด้าน ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการ สพฉ. กล่าวว่า การใช้เฮลิคอปเตอร์จะเป็นอีกทางเลือกที่จะช่วยลดเวลาการเดินทางของทีมแพทย์ ในการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย รวมถึงลดระยะเวลาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยอากาศยานภายใต้โครงการ Thai sky doctor ตั้งแต่ปี 2553 เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปแล้ว 286 ราย เป็นผู้ป่วยจังหวัดแม่ฮ่องสอนมากที่สุด 125 ราย รองลงมาคือ จ.สุราษฎร์ธานี 35 ราย และจ.กาญจนบุรี 28 ราย

ทั้งนี้ บริการการแพทย์ฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ และอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ โดยเฉพาะการเจ็บป่วยขั้นวิกฤตของผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ที่จะต้องได้รับการรักษาภายใน 1 ชั่วโมง โดยเชื่อว่าการดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวจะเป็นการสร้างมาตรฐานระบบการแพทย์ฉุกเฉินด้วย

(แฟ้มภาพ) SKY ICU รพ.กรุงเทพสนามจันทร์

ขณะที่นายเฮนริค โฮโลลีย์ ปลัดกระทรวงคมนาคมและขนส่งสหภาพยุโรป กล่าวว่า การนำเฮลิคอปเตอร์มาช่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ ซึ่งที่ผ่านมาทางยุโรปได้ให้ความร่วมมือกับประเทศไทยด้วยการสนับสนุนเรื่องการขนส่งทุกภาคส่วนเช่น ความปลอดภัยทางอากาศ และการที่ประเทศไทยจะนำเอาการแพทย์ฉุกเฉินทางเฮลิคอปเตอร์มาใช้เช่นเดียวกับในยุโรปในพื้นที่โรงพยาบาลและจุดเกิดเหตุ การนำผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เข้าถึงผู้ป่วยได้เร็วขึ้น โดยที่ผ่านมาในประเทศไทยพบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุบนถนนค่อนข้างมาก สิ่งที่ต้องช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ คือการเข้าถึงผู้ประสบอุบัติเหตุให้ได้ภายในชั่วโมงแรก เพื่อนผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพื่อเป็นการช่วยชีวิต

ทั้งนี้ แม้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์ จะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดความสูญเสียชีวิตผู้ป่วย แต่ด้วยข้อจำกัดของกฎระเบียบด้านการบินในปัจจุบัน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย จึงต้องแก้ไขกฎระเบียบเพื่อปลดล็อกให้เฮลิคอปเตอร์สามารถบินขึ้นลงในกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า