Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลปี 2558 มีหญิงคลอดบุตรวัย 10-19 ปี จำนวน 104,289 คน หรือคลอดเฉลี่ยวันละ 286 คน ในจำนวนนี้มีอัตราการคลอดบุตรซ้ำถึง 12,702 คน เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมคุณภาพ (สสส.) และภาคส่วนต่างๆ จึงได้ผลักดันให้เกิดการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 “และได้มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2559 ที่ผ่านมา ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภาพใหญ่ของประเทศ

และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ครั้งที่ 2/2561 ขึ้น โดยมีพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น 5 ยุทธศาสตร์ คือ

ยุทธศาสตร์ 1 พัฒนาระบบการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตที่มีคุณภาพและมีระบบการดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสม
ยุทธศาสตร์ 2 ส่งเสริมบทบาทครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบกิจการในการเลี้ยงดูสร้างสัมพันธ์ภาพ และการสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น
ยุทธศาสตร์ 3 พัฒนาระบบบริการสุขภาพทางเพศ และอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีคุณภาพและเป็นมิตร
ยุทธศาสตร์ 4 การพัฒนาระบบการช่วยเหลือการคุ้มครองสิทธิ์อนามันเจริญพันธุ์และการจัดสวัสดิการทางสัมคมในกลุ่มวัยรุ่น
ยุทธศาสตร์ 5 ส่งเสริมการ บูรณาการการจัดการฐานข้อมูล งานวิจัย และการจัดการความรู้

นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ยังเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ 5 เรื่อง คือ

1) ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดให้มีการสอบความรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตโดยบรรจุในข้อสอบของการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานในแต่ละช่วงชั้นทุกปีโดยให้ทันในการทดสอบในปี 2561 และแจ้งให้นักเรียนทุกคนทราบผ่านโรงเรียน
2) เร่งรัดให้คณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร จัดทำแผนปฏิบัติการจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตะหนักรู้เพศศึกษาและทักษะชีวิต
3) ให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาออกกฏกระทรวง เพื่อสนับสนุนและเสริมพลังบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความแข็งและมั่นใจในการดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
4) ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรัดมาตรฐานการให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวรของหญิงวัยรุ่นหลังคลอดหรือหลังแท้งในโรงพยาบาล
5) ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการติดตามสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเพื่อการวิเคราะห์และส่งต่อข้อมูลให้ทันต่อสถานการณ์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า