SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมวิจัยเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณเขื่อนอุบลรัตน์ ตรวจหาสารเคมีปนเปื้อน จากน้ำ ดิน ตะกอนดิน สัตว์น้ำในห่วงโซ่อาหาร ตอบโจทย์ในการเจ็บป่วยจากโรคเนื้อเน่าหนังเน่าของชาวบ้านที่สูงกว่าพื้นที่อื่น หวั่นหากพบในเขื่อนมากคือโจทย์ใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (2 มิ.ย. 61) รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล หรือ “อาจารย์พวงรัตน์” ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก พร้อมทีมเจ้าหน้าที่วิจัย สำนักงานสาธารณสุข อ.โนนสัง และสาธารณสุข จ.หนองบัวลำภู และเจ้าหน้าที่ทหารจากกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย จ.หนองบัวลำภู พร้อมด้วยทีมงานนักวิจัย ได้เข้าเก็บตัวอย่างของดิน ตะกอนดิน และน้ำ ที่อยู่ในเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น รวมทั้งเก็บปลา หอย สัตว์น้ำจากหมู่บ้านที่มีการทำการประมง

โดยมีการเก็บตัวอย่างทั้งในบริเวณแหล่งต้นน้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนสารเคมี บริเวณกลางเขื่อน และบริเวณหน้าเขื่อน เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบระหว่างในส่วนของสัตว์น้ำที่อยู่เหนือเขื่อน ที่ที่เป็นต้นน้ำ สารเคมีเข้าไม่ถึง กับส่วนที่มีการปนเปื้อนสารเคมี

ทีมงานวิจัยได้ลงเรือลงไปเก็บตัวอย่างน้ำในบริเวณกลางเขื่อนอุบลรัตน์ เก็บตัวอย่างน้ำ ดิน บริเวณรอบเขื่อน กระจายตามแนวรอบเขื่อน จุดละ 3 แห่ง เพื่อนำไปศึกษาหาข้อมูลของปริมาณสารเคมี จากการใช้ยากำจัดวัชพืช พวกพาราควอต ในพื้นที่เกษตรกรรม

โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกอ้อย ปลูกยางพารา และข้าว ที่มีการใช้กันในกลุ่มของเกษตรกรในพื้นที่ที่อยู่เหนือเขื่อน ซึ่งจากการที่น้ำที่ไหลจากเหนือเขื่อน พื้นที่การเกษตรได้มีการชะล้างเอาสารเคมีมาด้วยกับน้ำ ลงตามสายน้ำสำคัญของจังหวัด เช่น ลำน้ำพะเนียง ลำน้ำพวย ลำน้ำพอง ไหลมารวมแหล่งใหญ่ที่เขื่อนอุบลรัตน์ และยังเป็นแหล่งน้ำที่จะไหลไปยัง จ.ขอนแก่น, จ.มหาสารคาม, จ.กาฬสินธุ์ และ จ.ร้อยเอ็ด

ทางด้าน รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล กล่าวว่า สำหรับผลในการเก็บตัวอย่างในครั้งนี้ใช้เวลาในการศึกษาประมาณ 1 เดือน จากนั้นก็จะได้มีการสรุปผลให้กับทาง จ.หนองบัวลำภู แต่ผลที่ได้ยังเป็นผลดิบ แต่สิ่งที่เราต้องการนั้นเป็นผลทั้งหมดเลย ไม่ใช่บอกว่า ตกค้างในดินเท่าไร ตกค้างในน้ำเท่าไร เราจะประมวลค่าทั้งหมดว่า อำเภอนี้จุดไหนเป็นจุดเปราะบาง การกระจายของสารเคมีมันเกิดขึ้นได้อย่างไร เช่น ที่บริเวณริมน้ำมีสารเคมีไปอยู่ในผักไหม หรือน้ำลงมาที่เขื่อน ลักษณะพื้นที่เป็นอย่างไร อยู่ตรงไหนบ้าง ความเข้มข้นสัมพันธ์กันหรือเปล่า ระหว่างดิน น้ำ ตะกอนดิน จุดไหนคือจุดเปราะบาง หรือห่วงโซ่อาหาร ตรงไหนที่ต้องระวัง จะทำการประเมินให้ทั้งหมดในแต่ละอำเภอ

นอกจากนั้น ผอ.สถาบันฯ ยังกล่าวอีกว่า จากการที่ได้มีการจับภาพในมุมสูง ทำให้เห็นว่า สาเหตุที่ทำให้ พื้นที่มีการกระจายของสารเคมีมากน่าจะมาจากเหตุอะไร ในบริบทของการกระทำของมนุษย์ สิ่งที่เราจะรายงานไม่ใช่แค่รายงานถึงการปนเปื้อน แต่เป็นบริบทการกระจายของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ของน้ำ ดิน เป็นอย่างไร ที่จะโยงไปสู่การเจ็บป่วยของชาวบ้าน ซึ่งก็น่าเป็นห่วง ถ้าเขื่อนมีปริมาณน้ำเยอะมาก โอกาสที่สารเคมีจะเจือจางมีสูง สารเคมีในระดับความข้นไม่อันตราย ก็ถือว่าโอเค ไม่มีปัญหา เราก็จะแก้เฉพาะในจังหวัด ในบริเวณพื้นที่ที่มีการเกษตรกรรม ชาวบ้านยังสบายใจ ปลอดภัยได้อยู่

แต่ถ้าบริเวณพื้นที่หน้าเขื่อน ในเขื่อนมีสารเคมีระดับสูงมาก นั่นคือ สิ่งที่จะต้องตอบโจทย์ให้กับภาครัฐ แล้วเราจะจัดการอย่างไร เพราะว่าเขื่อนเป็นเรื่องใหญ่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า