SHARE

คัดลอกแล้ว

ต่างชาติร่วมส่งกู้ภัยและทหาร ลงพื้นที่ช่วย 13 ชีวิต ทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง ทั้งกู้ภัยและทหารของสหรัฐฯ สปป.ลาว เมียนมา รวมไปถึงอีกหลายประเทศที่เตรียมพร้อมรอการร้องขอจากไทย

วันที่ 28 มิ.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เข้าสู่วันที่ 6 ของการปฏิบัติภารกิจค้นหา 13 ชีวิต ติดถ้ำหลวง ขณะที่ทีมกู้ภัยจากเดอร์บีเชอร์ เคฟ เรสคิว ชมรมนักประดาน้ำอาสาที่เคยช่วยเหลือนักดำน้ำ 3 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่งในอังกฤษ ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ 3 คน พร้อมอุปกรณ์วิทยุแรงส่งสูง 4 เครื่อง สามารถส่งสัญญาณจากถ้ำลึก และอุปกรณ์ดำน้ำ เข้าพื้นที่ตั้งแต่เย็นวันที่ 27 มิ.ย. ที่ผ่านมา

โดยเมื่อวานนี้ (28 มิ.ย.) ทางทีมนักดำน้ำจากประเทศอังกฤษ พร้อมอุปกรณ์ดำน้ำส่วนตัว ได้ลุยเข้าถ้ำหลวง ที่มีน้ำท่วมขังจนเต็มถ้ำ และอยู่ในระหว่างการสูบน้ำออก โดยทีมได้ลงดำน้ำเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง แต่ก็เข้าไปได้ไม่ลึกเท่าไหร่ และก็ยังไม่เจอกลุ่มเด็กที่สูญหาย อย่างไรก็ตาม ทางทีมก็จะดำน้ำเพิ่มเติมร่วมกับทีมกู้ภัยของไทยต่อไป

ส่วนทีมกู้ภัยของสหรัฐฯ ได้เข้ามาช่วยเหลือ พร้อมอุปกรณ์ค้นหาสัญญาณชีพของกองทัพเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (USPACOM) เดินทางถึงถ้ำหลวง เมื่อช่วงกลางดึกวันที่ 27 มิ.ย. เช่นกัน

ขณะที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกแถลงการณ์ว่า มีความเป็นกังวลอย่างยิ่งต่อกรณีที่นักฟุตบอลเยาวชนและผู้ฝึกสอน ที่สูญหายเข้าไปภายในถ้ำหลวง ในเขตภาคเหนือของไทย ตลอดจนครอบครัวและทีม ช่วยเหลือผู้สูญหาย กองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) ได้ส่งทีมค้นหาและกู้ภัย เพื่อช่วยตามหาผู้สูญหายตามคำขอของรัฐบาลไทย ขณะนี้ทีมค้นหาและกู้ภัยของสหรัฐฯ เดินทางถึง จ.เชียงราย แล้ว และได้นำเอาประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถด้านการค้นหาและกู้ภัย มาสนับสนุนความพยายามของทางการไทยในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ในถ้ำ โดยหวังว่านักฟุตบอลและผู้ฝึกสอนจะได้กลับบ้านอย่างปลอดภัยในเร็ววัน

อีกทั้ง ยังได้มีกองกำลังสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิกได้ส่งเจ้าหน้าที่ 30 นาย เป็นทีมค้นหาและกู้ภัยเดินทางมาสมทบช่วยเหลือค้นหาผู้สูญหาย และเดินทางมาถึงหน้าถ้ำหลวงเมื่อวานนี้ พร้อมกับเข้าประชุมกับหน่วยซีลของไทย และหารือช่องทางของถ้ำและภูเขาทั้งหมด โดยหน่วยของสหรัฐฯ เตรียมอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งจะสแกนภูเขาทั้งลูกโดยใช้ดาวเทียมแต่ต้องไปติดตั้งอุปกรณ์ตามจุดต่างๆ แล้วเริ่มสแกน หากพบมีคนอยู่ข้างใน ผลการสแกนจะออกมาเป็นรูปคน ทำให้สามารถรู้ว่ามีผู้สูญหายอยู่ภายในหรือไม่ ก่อนทำการเจาะเปิดทางเข้าถ้ำในโอกาสต่อไป

กู้ภัยจากเมียนมา

ส่วน สปป.ลาว เป็นเพื่อนบ้านชาติแรกที่ส่งทีมกู้ภัย มาร่วมสำรวจดอยผาหมี นับว่าเป็นทีมแรกที่เข้ามาช่วยเหลือ นอกจากนี้ ยังมีทีมกู้ภัยจากเยอรมนี และออสเตรเลีย เข้ามาเสริมอีกจำนวนหนึ่ง ส่วน จีน และฟิลิปปินส์ ได้แสดงความพร้อมที่จะส่งทีมเข้าร่วมปฏิบัติการทันทีที่ไทยร้องขอ

นอกจากนี้ ทางเว็บไซต์ท่าขี้เหล็กของเมียนมา ยังได้เผยภาพ เจ้าหน้าที่ของทางการจังหวัดท่าขี้เหล็ก จังหวัดชายแดนฝั่งเมียนมา ที่ติดกับ อ.แม่สาย ทำการค้นหาโพรงที่อาจเชื่อมกับถ้ำหลวง ซึ่งอาจใช้เป็นเส้นทางในการค้นหาเด็กๆ และโค้ช รวม 13 ชีวิต ได้อีกทางหนึ่ง

กู้ภัยจาก สปป.ลาว

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ http://www.workpointnews.com

Facebook / https://www.facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / https://www.instagram.com/workpointnews/

Twitter / https://twitter.com/workpoint_news

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า