SHARE

คัดลอกแล้ว

ตอบทุกคำถามปัจจัยเร่งให้ ศอร.ปฏิบัติการนำทีมหมูป่าออกจากถ้ำ  ขณะที่ “ผบ.หน่วยซีล” เปิดเผยขั้นตอนในการพาทีมหมูป่าอะคาเดมี ทั้ง 13 คน ออกจากถ้ำหลวง ทุกคนดำน้ำโดยใช้หน้ากากแบบพิเศษ

พลเรือตรี อาภากร อยู่คงแก้ว ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ  กองเรือยุทธการ หรือ ผบ.หน่วยซีล ตอบคำถามผู้สื่อข่าว หลังการแถลงข่าวปิดศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง –ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย วันที่ 11 ก.ค. ถึงขั้นตอนในการนำน้องๆ ทีมหมูป่าอะคาเดมี และโค้ชเอก เอกพล จันทะวงษ์ ออกจากถ้ำหลวงว่า ในการนำน้องๆ ออกจากเนินนมสาว ใช้อุปกรณ์ wet suit หรือเสื้อผ้าที่ใส่ป้องกันความหนาว ขนาด 5 มิลลิเมตร เครื่องช่วยหายใจ หน้ากากแบบเต็มหน้า มีท่อแบบพิเศษที่ปล่อยอากาศตลอดเวลา โดยน้องหายใจปกติ

เมื่อดำน้ำ น้องๆ มีขวดอากาศ มีการปรับความเป็นกลาง “ไม่ให้จม ไม่ให้ลอย” โดยมีนักดำน้ำ 2 คนประกบต่อน้อง 1 คน น้องไม่ต้องทำอะไร อยู่นิ่งๆ ลอยออกมาดำน้ำผ่านซอกหินไปเรื่อยๆ ซึ่งบางช่วงต้องดำน้ำ บางช่วงตื้น บางช่วงน้ำไม่สูงนักจนมาถึงโถง 3

แม้ขณะนั้นจากโถง 3 ถึง โถง 1 น้ำจะแห้งจนสามารถเดินได้แล้ว แต่เราไม่อยากให้น้องๆ เดิน เพราะการเดินจากโถง 3 มาถึงปากถ้ำ “โคตรเหนื่อย” จึงให้น้องๆ นอนในเปล เปลที่ใช้ เพื่อไม่ให้น้องหลุดออกจากเปล ขณะที่บางช่วยต้องขึ้นเนิน มีการต้องชักรอกเป็นระยะๆ ซึ่งจากโถง 3 มาโถง 1 ใช้กำลังพลจากหน่วยต่างๆ รวมทั้งทีมนานาชาติ 100 กว่าคน เพื่อพาน้องออกจากถ้ำ โดยให้น้องเป็นไข่ในหิน และทุกจุดต้องมีพยาบาลตรวจเช็คตลอดและสุดท้ายก็ปลอดภัย

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/687153421653939/

พลเรือตรีอาภากร กล่าวระหว่างการแถลงข่าวปิด ศอร.ด้วยว่า  ตอนที่เราเจอน้องๆ ก็อุ่นใจ และคิดว่า น้องๆ น่าจะอยู่ได้เป็นเดือน แต่สุดท้ายมาเจอข้อจำกัด เนื่องจากอากาศในถ้ำน้อยลง มีออกซิเจนเพียง 15 เปอร์เซ็นต์ และน้ำฝนที่ตกลงมา เราสู้กับธรรมชาติยากมาก เมื่อฝนมาอะไรก็ต้านทานไม่ได้ จะเจาะถ้ำก็เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร เพราะความหนาของชั้นหินถึง 500 เมตร และไม่รู้ตำแหน่งของน้องๆ ในทีมดำน้ำจึงคุยกัน สุดท้ายจึงมีแผน ที่ได้ร่วมมือกับนักดำน้ำมืออาชีพระดับโลก ซึ่งได้รับการอนุมัติจาก ผบ.ศอร. และหน่วยเหนือให้ทำได้

“ภารกิจตรงนี้ยากจริงๆ ไม่เคยเจอ ต้องเป็นบทเรียนพัฒนาบุคลากรเพิ่มไปอีกเพื่อรับภัยพิบัติหลายรูปแบบ กองทัพเรือต้องเตรียมคนให้พร้อม เพราะกองทัพเรือบอกว่า จะไม่ทิ้งประชาชน” ผบ.หน่วยซีล กล่าว

(คลิปการพาทีมหมูป่าออกจากถ้ำ เผยแพร่โดยเพจหน่วยซีล Thai NavySEAL)

https://www.facebook.com/ThaiSEAL/videos/1648720748584651/

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์อำนวยการร่วมค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวง –ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย หรือ ผบ.ศอร. กล่าวเสริมว่า ถ้าออกซิเจน เหลือ 12 เปอร์เซ็นต์จะโคม่าออกซิเจนบีบให้เราต้องทำงานแข่งเวลา เพราะคนทั่วไปหายใจที่ออกซิเจน 20 เปอร์เซ็นต์ และน้ำกำลังมา ฤดูฝนภาคเหนือฝนตกมาเป็นน้ำตก พื้นที่ที่น้องๆอยู่ ประมาณ 5 คูณ 5 ประมาณ 25 ตารางเมตรก็จะน้อยลง เป็นตัวเร่งที่ 2 ให้เราตัดสินใจ

และความพร้อมในขณะนั้น คือ สูบน้ำลดลงได้มาก ซึ่งคนที่อยู่เบื้องหลัง คือ ทีมสูบน้ำจนถึงวันดีเดย์ ( 8 ก.ค. 61) น้ำแทบจะไม่มี โดยสามารถสูบน้ำออกได้ 1,000,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม. ) ขณะที่น้ำในถ้ำ ที่น้องต้องเผชิญ คือ 500,000 ลบ.ม. และมีน้ำเติมเข้าทุกวัน วันละ 20,000 ลบ.ม.

สรุปสถานการณ์พาทีมหมูป่ากลับบ้าน 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า