SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็น – “เพราะจนก็เลยต้องกินคนฟิลิปปินส์กับชีวิตที่ไร้ทางเลือก ต้องกินอาหารขยะที่มาจากกองขยะจริง ๆ  

ถ้าพูดถึงคำว่า “อาหารขยะ” หลายคนไม่เฉพาะแค่คนไทยคงนึกถึงอาหารที่แทบจะหาประโยชน์อะไรไม่ได้ มีแต่ไขมัน น้ำตาล เกลือ แถมแคลอรียังสูงปรี๊ด แต่ที่ฟิลิปปินส์ อาหารขยะหรือ “pagpag” ในภาษาตากาล็อก คืออาหารที่เก็บมาจากขยะจริง ๆ พูดง่าย ๆ ว่าเป็นเศษอาหารเหลือทิ้งจากร้านอาหารที่เก็บมาจากกองขยะ ก่อนจะมาทำความสะอาด จากนั้นก็เอามาผัด ทอด ต้ม ปรุงรสชาติใหม่ กลายเป็นอาหารจานใหม่ของคนยากจน

ผลสำรวจของสำนักงานสถิติฟิลิปปินส์ระบุว่าคนฟิลิปปินส์เกือบ 1 ใน 4 มีฐานะยากจน รายได้เฉลี่ยอยู่ที่เดือนละประมาณ 5,500 บาท หญิงคนหนึ่งเล่าว่าเธอมีรายได้จากการขาย pagpag วันละประมาณ 100 เปโซ (ประมาณ 65 บาท) “ฉันหาเลี้ยงปากท้องด้วยการขาย pagpag ตามถุงขยะมักจะมีอาหารเหลือทิ้งจากร้านอาหาร เราก็จะต้องคัดเอาส่วนที่ยังมีเศษเนื้อติดอยู่ เลือกส่วนที่ยังพอกินได้ ถ้ามีแต่กระดูกหรือว่าบูดแล้วก็ไม่เอา บางทีก็ต้องชิมดูว่าบูดหรือยัง”

ส่วนยายอีกคนที่ขาย pagpag เล่าว่า “เดิมยายขายผลไม้ ขายไม่ค่อยดี พอเปลี่ยนมาขาย pagpag ขายหมดทุกวัน ตอนแรกยายก็ห่วงเรื่องความสะอาดแต่ใคร ๆ ก็บอกว่าถ้าล้างดี ๆ ก็กินได้ ” คุณยายไม่ได้ออกไปคุ้ยหาเศษอาหารจากกองขยะเองแต่จะรับมาแบ่งใส่ถุงขาย ถุงละประมาณ 20-30 เปโซ (ประมาณ 13-19 บาท) ขึ้นอยู่กับว่าเศษเนื้อที่ติดกระดูกมีมากหรือน้อย

Morena Sumanda แม่ลูกสองที่อาศัยอยู่ในสลัมบอกว่าพวกเธอไม่มีทางเลือกอื่นและ pagpag ก็ดีกว่าอย่างอื่น “ด้วยฐานะที่เป็นอยู่ pagpag ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ถุงเดียวไม่กี่เปโซเลี้ยงคนทั้งบ้านให้อิ่มท้องได้แล้วเพราะจนก็เลยต้องกิน”

ผู้หญิงอีกคนบอกว่าถ้ารู้วิธีปรุงก็กินได้ปลอดภัย “คนที่กินแล้วป่วยก็เพราะไม่รู้จักวิธี ไม่ได้ล้างให้ดี pagpag เป็นอาหารเหลือทิ้ง เคยผ่านปากคนอื่นมาแล้ว แถมยังเคยรวมอยู่ในถุงเดียวกับขยะอื่นด้วย ต้องล้างแล้วก็ต้มก่อนถึงค่อยเอาไปผัด ไปทอด ใส่เกลือ น้ำตาล ปรุงรสชาติใหม่ ครอบครัวฉันกิน pagpag อาทิตย์ละครั้งสองครั้ง”

ถึงคนเหล่านี้จะเชื่อว่า pagpag กินได้เพราะผ่านการล้างและความร้อน แต่ก็มีความกังวลเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยเฉพาะสำหรับเด็ก เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ รวมถึงอาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคทางเดินอาหาร

Melissa Alipalo ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคมและอาสาสมัครจากกองทุกชุมชนฟิลิปปินส์บอกว่า “สำหรับคนจน การต้องกินอาหารเหลือทิ้งจากคนอื่นเป็นเรื่องน่าอายแต่มันเป็นกลไกการอยู่รอดที่ต้องทำ”

 

ที่มา ADB NTD

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า