SHARE

คัดลอกแล้ว

ในการเลือกตั้งครั้งที่ 6 ของกัมพูชาเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของฮุน เซน ได้คะแนนเสียงเลือกตั้งกว่า 77.5 % โดยกวาดที่นั่งส่วนใหญ่ในสภาล่างจากจำนวน 125 ที่ ส่งผลตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ฮุน เซนครองมาเป็นเวลา 33 ปี มั่นคงต่อไป

แม้กกต.กัมพูชาจะระบุว่ามีการใช้สิทธิสูงมากถึง 82% แต่นานาชาติก็กังขาต่อความชอบธรรมของการเลือกตั้งครั้งนี้เนื่องจากมีหลายจุดที่ไม่เป็นไปตามหลักความเป็นอิสระและยุติธรรม

แม้จะมีพรรคอื่น ๆ เข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้อีก 19 พรรค แต่ก็ไม่มีพรรคใดงัดรัฐบาลได้อย่างเปิดเผย ทั้งนี้พรรค CNPR คู่แข่งหนึ่งเดียวของพรรครัฐบาลได้ถูกกวาดล้างไปแล้ว

พรรค CNPR เป็นอดีตพรรคฝ่ายค้านมาจากการรวมตัวของพรรคสมรังษี และพรรคสิทธิมนุษยชน (Human Rights Party) ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วเมื่อปี 2013 ทำคะแนนเสียงล้นหลามจนเกือบเอาชนะพรรคของฮุน เซน

ในเดือนกันยายน 2017 นายเกิม โซะคา หัวหน้าพรรค CNRP ถูกจับกุมจาการตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดกับสหรัฐฯ กระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อรัฐบาล ปัจจุบันถูกฝากขังในเรือนจำแห่งหนึ่งใกล้ชายแดนเวียดนาม

16 พฤศจิกายน ศาลกัมพูชามีคำสั่งตัดสินยุบพรรค CNRP ข้อหาวางแผนโค่นล้มรัฐบาล สมาชิกของพรรคทั้งหมด 118 คนถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองนาน 5 ปี ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้กัมพูชาเหลือพรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียวโดยไร้คู่แข่ง

ก่อนการเลือกตั้ง สม รังษี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านที่ลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส ได้รณรงค์โครงการ “นิ้วสะอาด” ชักชวนให้ประชาชนชาวกัมพูชาคว่ำบาตรการไม่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มให้การเลือกตั้งมีความชอบธรรมมากขึ้น

ต่อมารัฐบาลและกกต.กัมพูชาออกมาเตือนว่าการรณรงค์คว่ำบาตรการเลือกตั้งถือว่าผิดกฎหมาย และจะดำเนินคดีกับผู้สนับสนุนการกระทำดังกล่าว โดยฮุน เซนกล่าวว่าในการขึ้นปราศรัยเมื่อวันศุกร์ 27 ก.ค. ว่า “นอกจากคนที่เป็นกบฎต่อชาติแล้ว คนที่ไม่ไปเลือกตั้งก็ถือว่าขัดขวางระบอบประชาธิปไตยด้วย”

นายเฮง (นามสมมติ) บอกแก่ซีเอ็นเอ็นว่า หากเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้านทราบว่าเลือกพรรคอื่น กระบวนการออกเอกสารต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างล่าช้า ครอบครัวจะถูกกดดัน และหากหัวคะแนนพรรคเป็นเจ้าพ่อก็อาจถูกฆ่าได้

มีกรณีผู้สนับสนุนพรรคอื่นถูกฆาตกรรมกลางเมืองมาแล้ว นายเกิม เลย์ นักวิเคราะห์การเมืองที่วิจารณ์รัฐบาลถูกยิงในคาเฟ่กลางเมืองพนมเปญ โดยฮิวแมนไรจ์วอชเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากเรื่องการเมือง

หมึกที่ใช้ประทับนิ้วขณะเลือกตั้งกลายมาเป็นเครื่องตรวจสอบว่าใครไม่ยอมไปใช้สิทธิ นายเอล สิธา อดีตสมาชิกพรรค CNRP ถูกเรียกเข้าสถานีตำรวจหลังจงใจโพสต์ภาพมือที่ไม่เปื้อนหมึกในวันเลือกตั้ง

หนังสือพิมพ์เลอมงของฝรั่งเศสรายงานว่า ในนิคมอุตสาหกรรมสิ่งทอที่นายจ้างส่วนใหญ่ใกล้ชิดกับรัฐบาลฮุน เซนบังคับให้ลูกจ้างทุกคนไปเลือกตั้ง ด้านลูกจ้างคนหนึ่งกล่าวว่าเธอกลัวว่าจะไม่มีใครคบค้าด้วยหากมีนิ้วมือปราศจากหมึก

ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับฮุน เซนจึงเลือกที่จะประท้วงการบังคับเลือกตั้งที่มีพรรคเดียวนี้โดยการทำบัตรเสียและไม่ลงคะแนนเสียง

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ http://www.workpointnews.com

Facebook / https://www.facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / https://www.instagram.com/workpointnews/

Twitter / https://twitter.com/WorkpointShorts

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า