Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความคืบหน้าสถานการณ์น้ำในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไป โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เผยถึงการเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในขณะนี้ ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 61 ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำเชิงลึก โดยต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 11 แห่ง ที่คาดการณ์ว่าอีก 1 เดือนข้างหน้า ปริมาณน้ำอาจจะสูงมากกว่านี้ ทั้งนี้ หลายฝ่ายได้หาทางป้องกัน ในขณะที่หลายพื้นที่เตรียมตัวรับน้ำและประกาศเตือนประชาชนให้เก็บของขึ้นที่สูงแล้ว

ติดตามความคืบหน้า “สถานการณ์น้ำ 2018” ไปกับ “ทีมข่าวเวิร์คพอยท์” ได้ ดังนี้

 

8 ส.ค. 61

  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตือนสื่อมวลชนอย่าเสนอข่าวสถานการณ์น้ำเกินจริง ยอมรับต้องมีท่วมบ้าง แต่ไม่หนักมากเกินไป
  • พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี ติดตามการบริหารจัดการน้ำจากเขื่องแก่งกระจาน ที่จะไหลเข้าตัวเมืิองเพชรบุรี ตามคาดการณ์ คือวันที่ 10 ส.ค. นี้ โดยผลจากการพร่องน้ำที่เขื่อนเพชร จุดรับน้ำก่อนเข้าสู่ชุมชน ทำได้ 42 % วางแผนตัดน้ำก่อนเข้าเขื่อนเพชรให้ลงคลองชลประทาน และคลองระบายน้ำ D9 ออกอ่าวไทยให้ได้ 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
  • กรมชลประทาน คาดการณ์ปริมาณน้ำจากเขื่อนแก่งกระจานมากที่สุดจะไหลเข้าตัวเมืองเพชรบุรีวันที่ 10 ส.ค.นี้ จะตัดน้ำให้น้ำออกจากเขื่อนเพชร 140-160 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดว่า น้ำจะไหลพื้้ำที่ริมแม่นำ อ.เมือง จ.เพชรบุรี สูงเฉลี่ย 50 เซนติเมตร และท่วมขังไม่เกิน 10 วัน
  • จังหวัดนครพนม ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติทั้งจังหวัด

 

7 ส.ค. 61

  • นายสันต์ จรเจริญ ผอ.โครงการชลประทานเพชรบุรี ระบุว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนแก่งกระจาน มีมากกว่า 724 ล้าน ลบม. คิดเป็น 103% ขณะที่การระบายน้ำอยู่ที่ 13 ล้าน ลบม./วินาที ซึ่งเป็นปริมาณที่ชลประทานยังสามารถควบคุมได้ ด้าน พลตรี สุรินทร์ นิลเหลือง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 ยืนยันว่า น้ำไม่ท่วมตัวเมืองเพชรบุรีใน 24 ชม.แน่นอน
  • 13.00 น. ความแรงของน้ำบริเวณรีสอร์ตบ้านอิงน้ำ ใกล้เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งน้ำได้เข้าท่วมรีสอร์ตแล้ว โดยระดับน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนแรงขึ้นมาก แต่ชาวบ้านบอกว่า ยังท่วมสูงไม่เท่าปี 2546

 

6 ส.ค. 61

  • รองนายกฯ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ระบุว่า น้ำออกจากเขื่อนแก่งกระจาน จะไหลเข้าท่วม อ.บ้านลาด บ้านแหลม และตัวเมืองเพชรบุรี เฉลี่ยระดับน้ำจะสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ไม่เกิน 2 สัปดาห์ และหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม มั่นใจว่า ชาวบ้านจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไม่นานนัก แต่ต้องเฝ้าระวังมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่อาจจะนำน้ำฝนเข้ามาเติมในอีก 3-4 วันข้างหน้า ซึ่งหากมีฝนตกลงมาเพิ่มก็จะต้องปรับแผนจัดการน้ำใหม่
  • เวลา 14. 20 น. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายจาก นายกรัฐมนตรีให้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำเขื่องแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า น้ำในเขื่อนแก่งกระจานเต็มความจุของเขื่อนแล้ว 100 เปอร์เซ็นต์ ระดับน้ำสูงกว่าสปิลเวย์ 3 เซนติเมตร แต่กรมชลประทาน ยืนยันว่า ปริมาณที่น้ำมากขนาดนี้ไม่มีผลกระทบต่อความแข็งแรงของตัวเขื่อน ขณะเดียวกันได้วางแผนตัดน้ำก่อนเข้าเขื่อนเพชร 3 จุด คือให้ลงคลองชลประทานซ้าย-ขวา และคลอง D9 เป้าหมายให้เหลือน้ำเข้าเขื่อนเพชร 140 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากที่คาดการณ์ไว้วันที่ 10 ส.ค. นี้จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพชร 250 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คือต้องตัดน้ำให้ได้ 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
  • มณฑลทหารบกที่ 15  ตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัย โดยมีกำลังพล จำนวน 150 นาย พร้อมด้วยรถยนต์ทหารยกสูง รถผลิตน้ำดื่มสะอาด รถครัวผลิตอาหารเคลื่อนที่ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือในการช่วยเหลือ พร้อมรับสถานการณ์น้ำที่เข้าถึงตัวเมืองเพชรบุรี
  • เวลา 10.00 น. นายสันต์ จรเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเพชรบุรี แจ้งว่า ปริมาณน้ำเต็มความจุอ่างเก็บน้ำ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 99.99 %
  • ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต คาดว่า น้ำที่ล้นจะไหลถึงเขื่อนเพชร เวลา 22.00 น.วันนี้ (7 ส.ค. 61) และจะถึง อ.บ้านลาด อ.เมือง จ.เพชรบุรี เวลา 22.00 น. (7 ส.ค. 61)
  • เวลา 09.00 น.เพจเฟซบุ๊ก อบต.แก่งกระจาน รายงานว่า น้ำจากเขื่อนแก่งกระจานล้นข้ามสันปูนสปิลเวย์แล้ว

 

5 ส.ค. 61

  • นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า อธิบดีกรมชลประทานได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี เพื่อช่วยสนับสนุนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ดูแลบริหารจัดการน้ำ ติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง พร้อมยืนยันว่าน้ำไม่ล้นสันเขื่อนแก่งกระจานแน่นอน
  • กอปภ.ก. สั่งการ 20 จังหวัด เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ และคลื่นลมแรงบริเวณอันดามันและอ่าวไทยตอนบน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมด้านสรรพกำลังและเครื่องจักรกลสาธารณภัย รวมถึงจัดชุดเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอดจนจัดชุดเคลื่อนที่เร็วประจำพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุและให้ความช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที
  • จ.ราชบุรี เตือนประชาชนสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง เฝ้าระวังน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ ซึ่งพร่องน้ำ และขณะนี้มวลน้ำเดินทางมาถึงเขื่อนแม่กลอง จ.กาญจนบุรี แล้ว โดยเขื่อนแม่กลองจะเร่งระบายทิ้งท้ายเขื่อนในปริมาณ 697 ลบ.ม./วินาที และจะระบายเพิ่มอีกภายใน 2-3 วัน ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลองเพิ่มสูงขึ้น คาดว่าประมาณ 1 เมตร และแนวโน้มน่าจะต้องระบายเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งถ้าระบาย 1,000 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ริมตลิ่งแถวบริเวณ อ.บ้านโป่ง อ.โพธาราม และอำเภอเมืองราชบุรี บริเวณ ต.คุ้งกระถิน จะมีผลกระทบทันที
  • ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ คำนวณปริมาตรน้ำไหลเข้าเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี คาดน้ำล้นสปิลเวย์คืนนี้ ล่าสุดระดับน้ำอยู่ที่ร้อยละ 99 ของความจุเขื่อน ขณะที่กรมชลประทานใช้บทเรียนน้ำท่วมจากปี 2559 และ ปี 2560 รับมือสถานการณ์
  • ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ เตรียมลำเลียงเรือผลักดันน้ำกว่า 20 ลำ เร่งระบายน้ำในแม่น้ำเพชรบุรีลงสู่ทะเล ใช้เวลา 10 ชม. หวั่นทะลักท่วมพื้นที่ จ.เพชรบุรี ในไม่ช้านี้
  • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรียกประชุมด่วน ปรับแผนการระบายน้ำ เขื่อนน้ำอูน, เขื่อนแก่งกระจาน และ เขื่อนวชิราลงกรณ เผยต้องพร่องน้ำให้มากที่สุดภายใน 10 วัน
  • จ.เพชรบุรี ยืนยันรับมือสถานการณ์น้ำเขื่อนแก่งกระจานแบบบูรณาการให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ขณะที่กรมชลประทาน ชี้แจงกรณีเขื่อนแก่งกระจานปริมาณเต็มความจุ และจะส่งผลกระทบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี
  • ชาวบ้านริมน้ำเพชร จ.เพชรบุรี ระดมกำลังช่วยกันเตรียมกระสอบทราย เพื่อนำไปเป็นแนวป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านเรือน หลังเจ้าหน้าที่ประกาศเตือนระบายน้ำจากเขื่อนแก่งกระจานเพิ่ม
  • สถานการณ์น้ำเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เริ่มวิกฤติ แต่น้ำยังไม่ล้นสปิลเวย์ เจ้าหน้าที่เร่งระบายน้ำสู่ท้ายเขื่อน ขณะที่ในพื้นที่ยังมีฝนตกต่อเนื่อง คาด 24 ชม.น้ำล้นเขื่อน
  • พายุ ‘เซินติญ’ ส่งผลกระทบไทย 47 จังหวัด ปภ.สั่งเตรียมพร้อมรับมือฝนถล่ม-คลื่นลมแรง ระหว่างวันที่ 5 – 8 ส.ค.นี้ คาด ภาคอีสาน – เหนือ ได้รับผลกระทบมากสุด

 

4 ส.ค. 61

  • กฟผ.ยัน น้ำจากลำห้วยบ้องตี้ที่ไหลบ่าทำให้ฝายน้ำล้น ซึ่งเป็นทางสัญจรของชาวบ้านหาดงิ้ว จ.กาญจนบุรี พังเสียหาย ไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ เหตุลำห้วยบ้องตี้อยู่สูงกว่าแม่น้ำแควน้อย น้ำจากแม่น้ำแควน้อยจึงไหลย้อนกลับไปลำห้วยบ้องตี้ไม่ได้ 
  • อธิบดีกรมชลประทาน สั่งระดมเครื่องสูบน้ำ – เครื่องผลักดันน้ำ ติดตั้งริมแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี เตรียมพร้อมรับมือเขื่อนแก่งกระจานระบายน้ำเพิ่ม
  • เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนท้ายน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ให้ยกของขึ้นที่สูง เพื่อความปลอดภัย เพราะยังต้องเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนแก่งกระจานอย่างต่อเนื่อง
  • น้ำเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพิ่มระดับเป็น 97% สำนักงานทรัพยากรน้ำฯ หารือผู้ว่าฯ เพชรบุรี ซักซ้อมแผนเตือนภัยรับมือน้ำท่วมพื้นที่ท้ายน้ำ และการบรรเทาสาธารณภัย หลังประเมินแนวโน้มน้ำล้นสปิลเวย์เขื่อนแก่งกระจานหลังเที่ยงพรุ่งนี้ คาดได้รับผลกระทบ 5 อำเภอ ระดับน้ำท่วมสูงใกล้เคียงปีที่ผ่านมา
  • จังหวัดเพชรบุรี เตรียมประกาศประชาชนในพื้นที่ 5 อำเภอ ที่จะได้รับผลกระทบยกของขึ้นที่สูง ได้แก่ อ.บ้านแหลม อ.เมือง อ.ท่าลาด และ อ.ท่ายาง โดยประสานให้ทาง ปภ.เตรียมเคลื่อนย้ายอุปกรณ์กู้ภัยไปยังศูนย์อำนวยการภัยพิบัติ ที่ศาลากลางจังหวัดตั้งแต่วันพรุ่งนี้
  • รีสอร์ตและที่พักริมแม่น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ทยอยปิดบริการชั่วคราวแล้ว หลังเขื่อนแก่งกระจานเร่งระบายน้ำส่งผลให้แม่น้ำเพชรบุรีเอ่อล้นท่วมพื้นที่
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เซินติญ” ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2561 ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยใน 27 จังหวัด โดยสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 18 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และ ยโสธร
  • เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีน้ำ 689.974 ล้านลูกบาศก์เมตร จากจำนวนจุน้ำสูงสุด 710 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 97.18 เปอร์เซ็นต์ แต่สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเพชรยังไม่วิกฤติ เพราะน้ำยังไม่ล้นตลิ่ง แต่อยู่ในระดับเฝ้าระวัง ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ทำหนังสือด่วนถึง ผบ.ทร. ขอสนับสนุนเรือยนต์ผลักดันน้ำ และกำลังพล

 

3 ส.ค. 61

  • พบรอยร้าวขนาดใหญ่จำนวนมากบนสันฝายเก็บน้ำบ้านซับไทรทอง หมู่ 8 ต.แหลมทอง อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ ซึ่งเป็นฝายขนาดใหญ่ เก็บกักน้ำไว้เป็นจำนวนมากหลายสิบล้านลูกบาศก์เมตร ที่จะรับน้ำไหลผ่านจากเทือกเขาพญาฝ่อ และรอยต่อเทือกเขาพังเหย ก่อนที่จะไหลเชื่อมลงมาที่ลำเชียงทา ในเขต อ.ภักดีชุมพล อ.เทพสถิต และ อ.หนองบัวระเหว ก่อนจะไหลลงเชื่อมต่อสู่ลำน้ำชีผ่านไปอีกหลายอำเภอของ จ.ชัยภูมิ เตือนประชาชนในพื้นที่ อ.ภักดีชุมพล จ.ชัยภูมิ หลังน้ำป่า 2 เทือกทะลักซัดฝายร้าวใกล้แตก สั่งเฝ้าระวังเข้มเตรียมพร้อมอพยพคนได้ทันที หากเกิดเหตุในรัศมีพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทำการเกษตรใต้สันฝายที่จะต้องเสี่ยงเกิดน้ำทะลักรุนแรง
  • ปริมาณน้ำในเขื่อนยโสธร-พนมไพร จ.ยโสธร ถึงขั้นวิกฤติ หลังปริมาณน้ำชีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ต้องขึ้นธงแดงเพื่อแจ้งเตือนประชาชน
  • น้ำป่าซัดฝายห้วยผึ้งแตกร่วมปี ที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ กระทบโรงพยาบาล โรงเรียน พื้นที่เกษตรกว่า 3 พันไร่ ชาวบ้านต้องทำฝายชั่วคราวใช้เองมาแล้ว 6 ครั้ง หวั่นพังอีก วอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
  • อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าโครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยทรายขมิ้น จังหวัดสกลนคร เผยความคืบหน้าแล้ว 80% ถ้าโครงการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความจุได้เป็น 3 ล้าน ลบ.ม.
  • ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ลำห้วยบ้องตี้ในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เพิ่มระดับและพัดสะพานข้ามลำน้ำทางเข้าหมู่บ้านขาด ชาวบ้านแก่งประลอม 30 ครอบครัว ติดอยู่ภายในหมู่บ้านนานกว่า 1 สัปดาห์ จนขาดแคลนอาหารต้องว่ายน้ำออกมาขอความช่วยเหลือ
  • น้ำโขง ที่ จ.นครพนม ใกล้ระดับวิกฤติ ทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือน พื้นที่เกษตร ใน อ.บ้านแพง กระทบแล้ว 6 ตำบล จนท.เร่งช่วยเหลือ สั่งเฝ้าระวังน้ำป่าภูลังกาทะลัก 24 ชั่วโมง

 

2 ส.ค. 61

  • ระดับน้ำโขง ที่ จ.บึงกาฬ เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยน้ำได้หนุนลำน้ำสาขาเอ่อท่วมถนน บ้านเรือน พื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย ผู้ว่าฯ ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ว 2 อำเภอ คือ อ.เมืองบึงกาฬ และ อ.บุ่งคล้า สั่งเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง ประชาชนต้องช่วยกันขนย้ายสิ่งของขึ้นไว้ในที่สูง เพื่อป้องกันความเสียหาย บางแห่งมีระดับน้ำสูงกว่า 2 เมตร โดยน้ำโขงได้หนุนลำน้ำสาขาเอ่อท่วมถนนทางเข้าหมู่บ้าน บ้านเทพมีชัย ต.หนองเดิ่น อ.บุ่งคล้า ระดับน้ำสูงกว่า 30 เซนติเมตร ระยะทางยาวกว่า 300 เมตร รถเล็กที่สัญจรเข้าออกหมู่บ้านต้องใช้ความระมัดระวัง
  • รัฐบาลเตรียมเปิดศูนย์เฉพาะกิจเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะบูรณาการข้อมูลจากทุกหน่วยงาน เพื่อประมวลและสั่งการอย่างทันท่วงที เลขาธิการ สทนช. ยอมรับถึงปริมาณน้ำในบางพื้นที่ในปีนี้ มีมากกว่าปี 2554 โดยเฉพาะในเขื่อนหลักหลายแห่ง
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยประสาน 18 จังหวัด เฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม เตือน 8 จังหวัดอ่วม เฝ้าระวังเป็นพิเศษ  ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน ตาก จันทบุรี ตราด ระนอง เนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายจังหวัดมีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ศักยภาพในการอุ้มน้ำของดินต่ำลง หากมีปริมาณฝนสะสมเพิ่มขึ้นในพื้นที่ลาดเชิงเขา อาจทำให้พื้นที่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ส่วนพื้นที่เฝ้าระวัง 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แพร่ เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ราชบุรี พังงา กระบี่ และ สตูล ให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มอย่างใกล้ชิดในระยะนี้
  • กรมชลประทาน ชี้แจงสถานการณ์น้ำในเขื่อนทั่วประเทศ เผยเฝ้าระวังและตรวจสอบระดับน้ำ ความแข็งแรงของเขื่อนอย่างต่อเนื่อง หลังสื่อหลักและโซเชียลมีเดีย ยังคงแสดงข้อคิดเห็นเชิงกังวลใจ
  • จ.ชัยภูมิ น้ำป่าเขาพังเหยทะลักท่วมพื้นที่ไร่มันอ่วมนับพันไร่ เกษตรกรต้องเร่งดำน้ำเก็บเกี่ยวก่อนเน่าตาย บางจุดระดับน้ำสูงกว่า 10 เมตร ต้องจำใจปล่อยเน่าตาย ขาดทุนรายละไม่น้อยกว่า 1 – 2 แสนบาท บางจุดถนนหลายสายถูกตัดขาด ยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตออกมาจำหน่ายได้
  • แม่น้ำชีที่ จ.ยโสธร มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง จากการรับน้ำเหนือที่ไหลมาจากลำน้ำยัง และน้ำที่ระบายมาจากเขื่อนลำปาว จนท.เฝ้าระวังระดับน้ำ ตลอด 24 ชั่วโมง ล่าสุดน้ำทะลักท่วมแล้ว 5 อำเภอ

 

1 ส.ค. 61

  • จ.กาฬสินธุ์ เริ่มแผนพร่องน้ำออกเขื่อนลำปาว จากเดิมวันละ 10 ล้าน ลบ.ม. จะไต่ระดับเพิ่มเป็นวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. ในช่วงกลางเดือน ส.ค.นี้ เพื่อรองรับมวลน้ำจากเทือกเขาภูพานและปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่อง
  • จ.นครพนม ประกาศพื้นที่ประสบอุกภัย 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอท่าอุเทน อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอปลาปาก อำเภอเมืองนครพนม อำเภอบ้านแพง และอำเภอนาแก รวมถึงพื้นที่การเกษตร ถูกน้ำท่วมแล้วกว่า 3 หมื่นไร่ หลังระดับน้ำโขงแตะ 12 เมตร จ่อล้นตลิ่ง อีกทั้งเตรียมรับมือลำน้ำก่ำ น้ำสงคราม เอ่อล้น
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 41 จังหวัด รับมือภาวะฝนตกหนักบางแห่ง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง ทำให้มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม โดยแบ่งเป็น

    ภาคเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน เพชรบูรณ์ ตาก กำแพงเพชร และ พิจิตร

    ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ชลบุรี และ ระยอง

    ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี และ ราชบุรี

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และ ศรีสะเกษ

    ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา กระบี่ สตูล ตรัง และ ภูเก็ต

    สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ขอให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ สามารถติดต่อแจ้งเหตุและติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขาในพื้นที่ หรือ สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

  • ระดับน้ำโขงที่ไหลผ่าน จังหวัดหนองคาย เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนทะลุ 11 เมตร ทำสถิติสูงสุดในรอบปี ชลประทานจังหวัดหนองคายปิดประตูห้วยหลวง ป้องกันไม่ให้น้ำโขงหนุนเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรทั้งจังหวัดหนองคายและจังหวัดอุดรธานี พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 10 เครื่อง ระดมสูบน้ำจากลำห้วยลงแม่น้ำโขงแทน
  • ดร.ไพฑูรย์ รักษ์ประเทศ ผู้ว่าราชการ จ.มุกดาหาร ลงตรวจตลาดอินโดจีน หลังระดับน้ำโขงพุ่งขึ้นถึง 12.58 เมตร ทะลักเข้าท่วมชั้นใต้ดินของตลาดอินโดจีน จนท.เร่งช่วยพ่อค้าแม่ค้าขนของขึ้นที่สูง เตรียมประชุมด่วนรับมือน้ำท่วม

 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์: workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว
ยูทูบ: workpoint news
ทวิตเตอร์: workpoint news
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า