SHARE

คัดลอกแล้ว

มท.1 สั่งการให้ทุกจังหวัด เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์อุทกภัย ดินถล่ม และคลื่นลมแรงที่จะเกิดขึ้น

วันที่ 5 ส.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กระทรวงมหาดไทย นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศเตือนภัยลักษณะอากาศว่า ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมจะเกิดคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ และฝนตกหนักบริเวณประเทศไทย โดยที่ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งทั่วทุกภาคของประเทศ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่ม อีกทั้งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

โดย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ดำเนินการตามแนวทางการเตรียมความพร้อม และแนวทางเผชิญเหตุ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้

ด้านการเตรียมความพร้อม 1) เพิ่มประสิทธิภาพการแจ้งเตือนภัยสู่ประชาชนในทุกช่องทางทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน วิทยุภาคเอกชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เครือข่ายอาสาสมัคร อปพร. มิสเตอร์เตือนภัย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องให้ความสำคัญในการส่งข้อมูลการแจ้งเตือนถึงประชาชน อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และทั่วถึง โดยประชาชนต้องรับทราบข้อมูลการปฏิบัติงาน การเตรียมความพร้อมของภาครัฐ ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง แนวทางการปฏิบัติตนของประชาชนให้เกิดความปลอดภัย และช่องทางการแจ้งข้อมูลภาครัฐและท้องถิ่น

2) ตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ขึ้นในส่วนอำนวยการของศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด เพื่อทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์ทางด้านสภาวะอากาศและการจัดการน้ำ ได้แก่ หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยา สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หน่วยงานด้านอุทกวิทยา ประกอบด้วย กรมทรัพยากรน้ำ และกรมชลประทาน หน่วยงานด้านธรณีวิทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษาที่มีผู้เชี่ยวชาญ และเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อทำหน้าที่ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์สภาวะอากาศ สภาพน้ำท่าม น้ำหลาก และคลื่นลมในทะเลในพื้นที่ตลอด 24 ชั่วโมง โดยหากเกิดภัยให้ดำเนินการสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยไปอยู่ในจุดปลอดภัยในทันที และสามารถแจ้งเตือนภัยสู่ประชาชนได้ก่อนที่จะเกิดสถานการณ์ในพื้นที่

3) กำหนดจุดพื้นที่ปลอดภัย ด้วยการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เต็นท์สนาม ให้มีความพร้อมในการอพยพประชาชนก่อนที่จะเกิดสถานการณ์ในพื้นที่ โดยพิจารณากำหนดสถานที่ที่มีความปลอดภัยสูง เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว

4) ในพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ให้วางมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลด้านการคมนาคมทางทะเลและการท่องเที่ยว เพื่อให้มีมาตรการในการประกาศห้ามการเดินเรือออกจากฝั่ง หรือเข้ามายังฝั่ง ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนประกาศ หรือคำสั่งของทางราชการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันกำหนดแนวทางวิธีการ และระบบในการบังคับควบคุมนำเรือที่ฝ่าฝืนซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงภัยกลับเข้าสู่ฝั่ง หากมีการฝ่าฝืนให้ดำเนินการทางกฎหมายในทุกกรณี และสำหรับจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยเฉพาะถ้ำ น้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภัย ให้สั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ห้ามบุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงตลอด 24 ชั่วโมง

ในด้านการเผชิญเหตุ ให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญกับการประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เมื่อเกิดอุทกภัยในพื้นที่เป็นลำดับแรก และกำหนดขั้นตอนวิธีการที่เป็นรูปธรรมชัดเจนใน 4 ด้าน  1) ด้านการสื่อสาร ด้วยการจัดระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยทหาร เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มช่องทางและระบบการสื่อสารกับประชาชน โดยจัดให้มีช่องทางที่สามารถติดต่อสื่อสารกับประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้สำหรับการแจ้งข้อมูลข่าวสาร การรับเรื่องราวร้องทุกข์ การขอรับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ จากประชาชน

2) ด้านการดำรงชีพและการบรรเทาทุกข์ ให้จัดเตรียมคลังเสบียงอาหารให้มีความพร้อมในการจัดตั้งครัวสนาม โรงครัวเคลื่อนที่ เพื่อช่วยเหลือด้านการดำรงชีพ อาหาร น้ำดื่ม แก่ประชาชนได้ทันที ทั้งนี้ หากพื้นที่ใดมีการจัดตั้งโรงครัวพระราชทานขึ้น ให้บูรณาการทุกหน่วยงานร่วมดำเนินการภายใต้โรงครัวพระราชทานให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส โดยมอบหมายผู้รับผิดชอบดูแลการดำเนินการดังกล่าวอย่างชัดเจน

3) การจัดการทรัพยากรด้านการคมนาคมขนส่ง ให้ปรับปรุงทะเบียนเครื่องจักรกลของจังหวัดให้เป็นปัจจุบัน โดยระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ การติดต่อประสานงาน ผู้มีอำนาจสั่งการเคลื่อนย้ายยานพาหนะเครื่องจักรกลดังกล่าว เพื่อให้สามารถใช้ในการจัดการสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว

4) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลประชาสัมพันธ์ร่วม ให้เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว สามารถใช้เป็นจุดประสานข้อมูลสถานการณ์ร่วมกันของทุกหน่วยงาน และเพื่อให้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับประชาชนและสื่อมวลชนเป็นไปอย่างถูกต้อง ชัดเจน อีกทั้งสามารถใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการที่ประชาชนจะแจ้งขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้ด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า