SHARE

คัดลอกแล้ว

นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.)

ครม.เห็นชอบตั้ง “กระทรวงการอุดมศึกษาวิจัยและนวัตกรรม” ให้ยกร่างพรบ.อุดมศึกษา คาดส่งเข้า สนช. เดือน ก.ย.นี้ เพื่อให้พร้อมใช้ก่อน ก.พ. 2562 เทงบฯ กว่า 97,000 ล้าน

วันที่ 8 ส.ค. 2561 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 ส.ค. 2561 มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ. … ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตรวจสอบร่วมไปกับ ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม ซึ่ง ครม.มีมติอนุมัติไปเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2561 ที่ผ่านมา โดยการตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกระทรวงใหม่ในครั้งนี้ นอกจากอาศัยร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แล้ว ยังมี ร่าง พ.ร.บ.อีก 2 ฉบับ คือ 1. ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. … ซึ่งจะกำกับดูแลและวางแผนด้านการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยทั้งหมด และ 2.ร่าง พ.ร.บ.การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. … ซึ่งฉบับที่ 2 ขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ และจะส่งตามไปทีหลัง

สาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ. … จะกำหนดแนวทางการจัดการอุดมศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กับการพัฒนาคนที่มีคุณภาพ เพิ่มความสามารถการแข่งขันของประเทศ เตรียมความพร้อมเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญที่จะยกระดับเศรษฐกิจไทยให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และต่อยอดเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ ลดการนำเข้า สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงยกระดับสังคมให้เป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกันที่ไม่มีความเหลื่อมล้ำ จึงต้องมีการเชื่อมโยงกระทรวงอุดมศึกษาฯ กับเป้าหมายของประเทศ โดยจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างของการอุดมศึกษาให้มีความเป็นเอกภาพ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยจำนวนมากและมีการบริหารจัดการหลายรูปแบบ อีกทั้งต้องการยกระดับให้สถาบันอุดมศึกษามีมาตรฐานที่สามารถแข่งขันได้และสามารถยกระดับรายได้ของประเทศให้เพิ่มขึ้น หลุดพ้นจากประเทศกับดักรายได้ปานกลาง

ทั้งนี้ จะให้สถาบันอุดมศึกษามีเสรีภาพทางวิชาการ มีอิสระในการบริหารจัดการที่ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบ มีธรรมาภิบาล มีการบริการทางวิชาการแก่สังคม และส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเน้นที่สำคัญที่สุดที่พระราชบัญญัติเกี่ยวกับการอุดมศึกษาในอดีตไม่เคยระบุถึง

นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม อยู่ในชั้นคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งปกติจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 3-4 เดือน แต่เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายที่ต้องการเร่งรัดให้เกิดกระทรวงนี้ก่อนการเลือกตั้งในปี 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบงานของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษเพื่อดูแลทั้ง 3 พระราชบัญญัติสำหรับการจัดตั้งกระทรวงใหม่โดยเฉพาะ โดยให้กรอบเวลาว่าต้องแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ แล้วนำกลับมาให้ครม.ให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเดือนกันยายน เท่ากับ สนช. เหลือเวลาตั้งแต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2561 เพราะตามมารยาทแล้ว สนช.จะไม่พิจารณา พ.ร.บ.ฉบับสำคัญในช่วงใกล้เลือกตั้ง และหากสนช.ทำงานแล้วเสร็จเชื่อว่าจะมีเวลาเพียงพอสำหรับการโยกย้ายบุคลากร รวมถึงปรับโครงสร้างและกระบวนการภายในกระทรวงใหม่ ทำให้พร้อมทำงานภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562

ทั้งนี้ งบประมาณของกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมในปี 2562 จะไม่แตกต่างจากงบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เคยได้รับมากนัก คือได้รับงบประมาณ 97,000 ล้านบาท

ขอบคุณภาพประกอบจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า