Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คืนวันที่ 12 ส.ค.คาบเกี่ยวเช้าวันที่ 13 ส.ค.นี้จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ หรือ ฝนดาวตกวันแม่ สดร. คาดตกสูงสุด 110 ดวงต่อชั่วโมง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 9 ส.ค. 2561 นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยว่า ในช่วงคืนวันที่ 12 ส.ค.-13 ส.ค.นี้ จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ หรือ “ฝนดาวตกวันแม่” คาดว่าปีนี้ มีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 110 ดวงต่อชั่วโมง มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอัส สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 12 ส.ค.นี้เวลา 03.00 น.จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 13 ส.ค.นี้โดยคืนดังกล่าวยังตรงกับดวงจันทร์ขึ้น 1 ค่ำ ส่งผลให้ท้องฟ้าไร้แสงจันทร์รบกวนเหมาะ

สำหรับการสังเกตการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ต้องรอถึงช่วงหลังเที่ยงคืน ส่วนช่วงหัวค่ำยังมีดาวเคราะห์ที่น่าสนใจให้ชมเช่นกัน ทั้งดาวศุกร์ที่สุกสว่างทางทิศตะวันตกในช่วงหัวค่ำ ดาวอังคารสีส้มแดงสว่างชัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงอยู่ในช่วงใกล้โลก ดาวเสาร์ และดาวพฤหัสบดี ถ้าฟ้าใสปลอดเมฆสามารถดูด้วยตาเปล่าได้ทุกพื้นที่ทั่วไทย และควรเลือกสถานที่โล่งแจ้ง ท้องฟ้ามืดสนิทปราศจากแสงไฟรบกวน จะสังเกตเห็นดาวตกที่มีความสว่างและสวยงามไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยสังเกตการณ์ดูได้ด้วยตาเปล่า ทั้งนี้ การชมฝนดาวตกให้สบายที่สุดอาจใช้วิธีนอนรอชม หรือนั่งบนเก้าอี้ที่เอนนอนได้ โดยฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้รับความสนใจอย่างมากในประเทศแถบซีกโลกเหนือ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเป็นช่วงฤดูร้อน ส่วนประเทศไทยตรงกับช่วงฤดูฝนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสังเกตการณ์

ผลการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ปี 2561 รางวัลชนะเลิศ ประเภท Deep Sky Objects ชื่อภาพ “Colors of M42” โดยนายสิทธิ์ สิตไทย

“จึงต้องลุ้นกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ยกเว้นบริเวณภาคใต้ตอนล่างฝนตกค่อนข้างน้อยเป็นโอกาสดีที่จะได้ชื่นชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น”

นายศุภฤกษ์ กล่าวว่า ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล เหลือทิ้งไว้ในวงโคจรเมื่อ 20 ปีก่อน เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าวจะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศเกิดการลุกไหม้เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า ถือเป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับ 2 รองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ ที่มีสีสันสวยงามสังเกตเห็นได้ช่วงระหว่างวันที่ 17 ก.ค. – 24 ส.ค.ของทุกปี โดยช่วงประมาณวันที่ 12- 13 ส.ค.นี้ จะเป็นช่วงที่เกิดฝนดาวตกมากที่สุด คนไทยจึงนิยมเรียกฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ว่า “ฝนดาวตกวันแม่” เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และวันแม่แห่งชาติ

เนื่องจากในช่วงนี้พื้นประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูฝน จึงต้องลุ้นกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ยกเว้นบริเวณภาคใต้ตอนล่างซึ่งฝนตกค่อนข้างน้อย จึงนับเป็นโอกาสดีสำหรับของชาวใต้ที่จะได้ชื่นชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น

เทคนิคการถ่ายภาพฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์

นักถ่ายภาพดาราศาสตร์นิยมใช้การถ่ายภาพฝนดาวตกบนอุปกรณ์ตามดาว โดยถ่ายภาพแบบต่อเนื่องหลายๆ ชั่วโมง แล้วนำภาพทั้งหมดมารวมกัน มากกว่าการถ่ายภาพแบบ 1 ช็อต เพื่อรอแค่ไฟล์บอลลูกใหญ่ๆ เพราะการถ่ายภาพบนอุปกรณ์ตามดาวให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ามาก เพราะนอกจากจะมีโอกาสถ่ายติดภาพไฟล์บอลลูกใหญ่ๆ แล้วยังเก็บภาพการกระจายตัวของฝนดาวตกได้ตลอดทั้งคืนอีกด้วย มีรายละเอียดการถ่ายภาพดังนี้

  1. เลือกใช้เลนส์มุมกว้างในการถ่ายภาพ เพื่อให้สามารถเก็บภาพการกระจายตัวของฝนดาวตกได้กว้างที่สุด เนื่องจากฝนดาวตกจะกระจายตัวออกห่างจากศูนย์กลางกลุ่มดาวค่อนข้างมาก
  2. รูรับแสงเปิดกว้างสุด เนื่องจากแสงจากฝนดาวตกไม่ได้สว่างมากนัก การเปิดรูรับแสงกว้างช่วยให้กล้องมีความไวแสงมากยิ่งในการเก็บเส้นแสงของดาวตกได้ดีที่สุด
  3. ความไวแสงสูง เช่น ISO:3200 เพื่อให้กล้องสามารถเก็บภาพเส้นแสงฝนดาวตกได้มากที่สุด หากใช้ความไวแสงต่ำมากเกินไป เราก็จะได้แค่เพียงดาวตกที่เป็นไฟล์บอลดวงใหญ่ๆเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการให้ได้จำนวนภาพเส้นแสงดาวตกมากๆ การใช้ความไวแสงสูงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  4. ถ่ายแบบต่อเนื่อง โดยใช้สูตร Rule of 400/600 ในการคำนวณเวลาการเปิดหน้ากล้อง หรืออาจเปิดได้นานมากกว่าการคำนวณได้อีกเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น หากใช้กล้องแบบ APS-C กับเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 18 มม. ก็ให้ใช้ค่า 400 หาร 18 จะได้เวลาเปิดหน้ากล้องเท่ากับ 22 วินาที แต่หากใช้กล้องแบบ Full Frame ก็ใช้ค่า 600 หาร ทางยาวโฟกัส
  5. ถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องแบบตามดาวโดยให้ศูนย์กลางการกระจายตัวของฝนดาวตกอยู่ตรงกลางภาพ เนื่องจากการกระจายตัวของดาวตกไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะพุ่งไปในทิศทางใดมากที่สุด

ภาพและข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า