SHARE

คัดลอกแล้ว

เด็กและเยาวชนยุคดิจิทัลความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ลดลง สำรวจพบเด็กยุคนี้แห่ใช้ทวิสเตอร์หนีพ่อแม่ส่องเฟชบุ๊ก เลือกโพสต์เฉพาะด้านดี เปรียบเทียบชีวิตส่งผลโรคซึมเศร้า 46% เคยถูกแกล้งทางออนไลน์ นักวิชาการเผยควรสร้างมายด์เซ็ทคุณธรรมเด็กไทย 5.0

คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันลูกหลานของท่านใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือมือถือและอินเทอร์เน็ตนานเท่าใด… จากการสำรวจของภาคเอกชนพบว่า เด็กไทยใช้เวลากับหน้าจอและใช้อินเทอร์เน็ต 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมเด็กเยาวชนยุคเจเนอเรชั่น ซี (Generation Z หรือ Gen-Z) ที่เคยเล่นเฟซบุ๊ก หันไปเล่นทวิตเตอร์มากขึ้น เพื่อหนีพ่อแม่ที่คอยส่องลูกหลานติดตามศิลปินดาราที่ชื่นชอบ

แม้สื่อดิจิทัลจะเป็นเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของเด็กเยาวชน หรือที่เรียกว่า ยุคดิจิทัลโดยกำเนิด แต่จากการแสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ ของมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย พบว่า เด็กและเยาวชนร้อยละ 95 ตระหนักดีว่าอินเตอร์เน็ตมีอันตราย, ร้อยละ 70 รู้ว่า เพื่อนออนไลน์ไม่พูดความจริง และพบว่าเด็กและเยาวชนร้อยละ 46 เคยถูกแกล้งทางออนไลน์

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ กล่าวว่า สังคมบนโลกออนไลน์ส่วนใหญ่นำเสนอบางแง่มุมด้านดีของตัวเอง สะท้อนสังคมที่เน้นค่านิยมทางวัตถุ ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า เมื่อมีการเปรียบเทียบกับคนอื่น การส่งเสริมคุณธรรมแก่เด็กเยาวชนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจให้เข้มแข็ง

ขณะที่ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่า เด็กยุค Gen-Z เป็นเด็กที่เติบโตมาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและเรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนเว็บไซต์ สื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ซึ่งปัญหาการติดสื่อออนไลน์มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น รพ.รามาธิบดี

“ส่วนหนึ่งเกิดจากวิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ใช้อุปกรณ์ไอทีเลี้ยงลูก ทำให้ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ลดลง เนื่องจากขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างและกิจกรรมที่ได้เรียนรู้จากธรรมชาติ รวมถึงการขาดการยอมรับและนับถือตนเอง (Self-esteem) ทำให้เด็กรู้สึกว่าด้อยคุณค่าในตัวเอง เกิดความทุกข์จากการเปรียบเทียบระหว่างชีวิตตนเองและชีวิตเพื่อนในสังคมออนไลน์ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า วิธีแก้ไขปัญหานี้คือ การสร้างมายด์เซ็ทด้านคุณธรรมให้เยาวชนได้รู้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ รู้เท่าทันโลกออนไลน์ รวมถึงเข้าใจตนเองและคนรอบข้าง มีสติ สร้างวินัย จนกลายเป็นนิสัยใหม่ในที่สุด”

สำหรับโครงสร้างของสังคมมีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดทุกยุคทุกสมัย แต่ละสมัยก็จะมีพฤติกรรม, ความคิด, ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์, ความรู้ความสามารถ และค่านิยมที่แตกต่างกันออกไป สหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตก ได้จัดแบ่งกลุ่มคนออกเป็นรุ่นต่างๆ 8 เจเนอเรชั่น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกณฑ์การจัดแบ่งรุ่นนี้ก็เป็นที่นิยมใช้กันไปทั่วโลกด้วย ไปดูกันว่าเด็กยุคปัจจุบันทำไปถึงถูกเรียกว่า Generation Z

Generation Z หรือ Gen-Z คือ คำนิยามล่าสุดของคนรุ่นใหม่ เกิดหลัง พ.ศ. 2540 ขึ้นไป เด็กๆ กลุ่ม Gen-Z นี้ เติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ และเรียนรู้ได้เร็วเพราะพ่อแม่ใช้สิ่งเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน และเด็กรุ่นนี้จะเห็นภาพพ่อและแม่ต้องออกไปทำงานทุกวัน และเด็กหลายๆ คนในกลุ่ม Gen-Z ได้รับการเลี้ยงดูจากคนอื่นมากกว่าพ่อแม่ของตัวเอง

Generation Y หรือ Gen-Y คือยุค Millennials คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2523–2540 คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายาย และรุ่นพ่อแม่ แต่ได้รับความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทรกอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย เป็นยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต พ่อแม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ลูกๆ เป็นอย่างดี ได้รับโอกาศทางการศึกษาที่ดี มีลักษณะนิสัยชอบการแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบถูกบังคับให้อยู่กรอบ ไม่ชอบอยู่ในเงื่อนไข ชอบเสพข่าวสารผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่หลากหลาย มีอิสระในความคิด กล้าซักถามในทุกเรื่องที่ตัวเองสนใจ ไม่หวั่นกับคำวิจารณ์ มีความเป็นสากลมาก ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในทั้งช่วงวัยเรียน และวัยทำงาน และจากการที่ยุคนี้เป็นยุคที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่น่าแปลกใจที่คนกลุ่มนี้จะมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการ ติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ กลุ่ม Gen-Y จะเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีใจช่วยเหลือสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นกับพ่อแม่

Generation X หรือ Gen-X  คนยุคนี้จะเกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2522 เรียกอีกชื่อว่า “ยับปี้” ย่อมาจาก Young Urban Professionals พวกเขาเกิดมาพร้อมในยุคที่โลกมั่งคั่งแล้ว ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของวิดีโอเกม, คอมพิวเตอร์, สไตล์เพลงแบบฮิปฮอป ปัจจุบันคนยุค Gen-X เป็นคนวัยทำงาน มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป พฤติกรรมที่เด่นชัดของคนยุค Gen-X คือ ชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work–life balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร เป็นตัวของตัวเองสูง มีความคิดเปิดกว้าง มีความคิดสร้างสรรค์  และหลายคนใน Gen-X มีแนวโน้มที่จะต่อต้านสังคม ไม่ได้เชื่อเรื่องศาสนา และไม่ได้ยึดขนบธรรมเนียมประเพณีมากนัก

Baby Boomer หรือ Gen-B คือคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2507 ยุคที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองเสียหายอย่างหนักจากการสู้รบ ประชากรที่เหลืออยู่ในแต่ละประเทศจึงต้องเร่งฟื้นฟูประเทศให้กลับมาแข็งแกร่งมั่นคงอีกครั้ง คนในยุคนี้จึงมีค่านิยมที่จะต้องมีลูกหลายๆ คน เพื่อสร้างแรงงานขึ้นมาพัฒนาประเทศชาติ จึงเป็นที่มาของคำว่า “เบบี้บูมเมอร์” ปัจจุบันนี้คนยุคเบบี้บูมเมอร์ มีอายุตั้งแต่ 49 ปีขึ้นไป และเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว คนกลุ่มนี้จึงเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา มีความอดทนสูง ทุ่มเทให้กับการทำงานและองค์กรมาก สู้งาน พยายามคิดและทำอะไรด้วยตัวเอง หรือเป็นพวกอนุรักษนิยม ที่เคร่งครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี

Silent Generation หรือ Gen-S หมายถึงคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2468-2488 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประชากรยุคนี้น้อยกว่ายุคอื่น และหลังจากนั้นก็เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำ คนรุ่นนี้จึงมีความเคร่งครัดต่อระเบียบแบบแผนมาก มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติสูง เคารพกฎหมาย เป็นยุคที่ผู้หญิงเริ่มออกมาทำงานนอกบ้านกันมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวคนในรุ่นนี้จึงได้รับโอกาสมากขึ้น มีช่องทางการสร้างกิจการของตัวเอง มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เป็นรากฐานจนถึงปัจจุบันนี้

Greatest Generation หรือ G.I. Generation คนกลุ่มนี้เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2444-2467 คือ ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นกำลังหลักของการต่อสู้ และเป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ผู้คนในยุคนี้จึงมีความเป็นทางการสูง ผู้ชายจะใส่สูทผูกเนคไท มีแบบแผนปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีความคิด ความเห็น ความเชื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เชื่อมั่นรัฐบาล อำนาจรัฐ มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองร่วมกัน

และยุค Lost Generation คือ ประชากรยุคแรกที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426-2443 หรือในช่วงทศวรรษที่ 80 ปัจจุบันคนกลุ่มนี้เสียชีวิตไปหมดแล้ว จึงถูกตั้งชื่อว่า Lost Generation เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนยุคนี้คือ การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1

รอบๆ ตัวเรา มีคนรุ่นไหนบ้าง การทำความเข้าใจและการให้ความสำคัญของคนแต่ละกลุ่มแต่ละวัยจะช่วยให้ลดช่วงว่างระหว่างกันได้ดีขึ้น ทำให้สังคมมีความสุขมากยิ่งขึ้น

อ้างอ้งข้อมูลจาก 12 ตัวชี้วัด สุขภาพคนไทนต่างเจเนอเรชัน และ ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า