SHARE

คัดลอกแล้ว

อิทธิพลจากพายุเบบินคา ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ สูงที่สุดในรอบปี ผอ.เขื่อนฯ ยืนยันเขื่อนมีความมั่นคงแข็งแรง พร้อมรับมวลน้ำ 700 ล้าน ลบ.เมตร จาก จ.น่าน

วันที่ 21 ส.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณสันเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นายวีระศักดิ์ ศรีกาวี ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ขึ้นตรวจสอบติดตามสถานการณ์น้ำ หลังพบว่า น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์มากที่สุดในรอบปี คือวันละ 170 ล้าน ลบ.เมตร และคาดว่ามวลน้ำจากอิทธิพลพายุโซนร้อนเบบินคา จะไหลเข้าสู่เขื่อนมากถึง 700 ล้าน ลบ.เมตร พร้อมยืนยันเขื่อนสิริกิติ์ยังรับน้ำได้มากถึง 2,700 ล้าน ลบ.เมตร

นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า เขื่อนสิริกิติ์เก็บกักน้ำ แม่น้ำน่านและแม่น้ำสาขา จาก จ.น่าน หลังได้รับอิทธิพลพายุโซนร้อนเบบินคา ฝนตกมากกว่า 400 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมสูงในหลายพื้นที่ จ.น่าน ล่าสุดมวลน้ำถูกไหลลงสู่แม่น้ำน่าน และเริ่มเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ วันแรกสูงถึง 171 ล้าน ลบ.เมตร และจะคงอยู่ที่ระดับไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน ลบ.เมตร จนกว่าสถานการณ์อุทกภัยจะคลี่คลาย หรือไม่มีอิทธิพลจากพายุลูกอื่นมาซ้ำอีก ซึ่งปริมาณน้ำที่ไหลเข้า ถือว่าสูงสุดในรอบปี 2561 ส่งผลให้เขื่อนสิริกิติ์มีน้ำอยู่ที่ 6,760 ล้าน ลบ.เมตร หรือร้อยละ 71 เป็นน้ำที่พร้อมใช้งาน 3,911 ล้าน ลบ.เมตร หรือร้อยละ 58 ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา 763 ล้าน ลบ.เมตร

เขื่อนสิริกิติ์ยังรับน้ำได้อีกกว่า 2,700 ล้าน ลบ.เมตร หรือร้อยละ 28 โดยอิทธิพลพายุเบบินคา น้ำจาก จ.น่าน จะไหลเข้าอ่างเก็บน้ำประมาณ 700 ล้าน ลบ.เมตร และมีการระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนเพิ่มจากวันละ 20 ล้าน ลบ.เมตร เป็นวันละ 30 ล้าน ลบ.เมตร จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดังนั้น ช่วงแล้งปีนี้คาดว่าปริมาณน้ำเก็บกักจะมีปริมาณร้อยละ 80

ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ กล่าวว่า จากปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอย่างต่อเนื่องและมากกว่าวันละ 100 ล้าน ลบ.เมตร ยังคงยืนยันว่าเขื่อนสิริกิติ์มีความมั่นคงแข็งแรง เก็บกักน้ำได้อย่างแน่นอน เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ปี 2554 เคยมีปริมาณน้ำสูงถึง 9,497.08 ล้าน ลบ.เมตร หรือร้อยละ 99.88 ใกล้เต็มความจุที่ 100% หรือที่ 162 เมตร ระดับทะเลปานกลาง เขื่อนสิริกิติ์กรมชลประทาน บริหารจัดการและวางแผนเพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้ใช้น้ำท้ายเขื่อน โดยมีการรายงานสถานการณ์น้ำและแจ้งปริมาณการระบายก่อนล่วงหน้า ทั้งระดับจังหวัด กลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชัง และประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ และสามารถสอบถามสถานการณ์น้ำได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า