SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯกทม.ตรวจความคืบหน้าสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน เพื่อให้เมืองหลวงปลอดจากภัยพิบัติคาดเสร็จ ก.ย.นี้ เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างเหมาะสม

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 31 ส.ค.61 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (water bank) บริเวณสถานีตำรวจนครบาลบางเขน เขตบางเขน ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการตามวาระการพัฒนากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2561 “Now Moving Forward ทำจริง เห็นผลจริง” สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ยุทธศาสตร์ “มหานครปลอดภัย” ที่มีเป้าหมายให้เมืองกรุงเทพมหานครปลอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เนื่องจากถนนพหลโยธินบริเวณวงเวียนบางเขน หน้าสถานีตำรวจนครบาลบางเขน เมื่อเกิดฝนตกปานกลางถึงหนัก จะก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเป็นประจำ อีกทั้งบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง 1 ใน 17 จุดของสำนักการระบายน้ำ ซึ่งระบบในการระบายน้ำบริเวณวงเวียนจะแบ่งออกเป็น 2 ทาง ด้วยท่อระบายน้ำเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.20 ม. ส่วนหนึ่งระบายลงสู่คลองรางอ้อ-รางแก้ว และอีกส่วนหนึ่งจะระบายลงสู่คลองบางบัว ซึ่งคลองบางบัวมีระยะทางที่ไกลจากบริเวณดังกล่าว ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการระบายน้ำ ประกอบกับนโยบายตามวาระการพัฒนากรุงเทพมหานคร พ.ศ.2561 “Now Moving Forward ทำจริง เห็นผลจริง” ของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยได้มอบหมายให้สำนักการระบายน้ำสำรวจพื้นที่

สำหรับจัดเก็บน้ำและหน่วงน้ำในพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง สำนักการระบายน้ำจึงได้ดำเนินโครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน water bank บริเวณสถานีตำรวจนครบาลบางเขน เริ่มต้นสัญญาวันที่ 10 ก.ค.61 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 6 พ.ย.61 ระยะเวลาก่อสร้าง 120 วัน ประกอบด้วย ก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำค.ส.ล. จำนวน 1 บ่อ ก่อสร้างบ่อรับน้ำ ค.ส.ล. จำนวน 2 บ่อ ก่อสร้างบ่อส่งน้ำค.ส.ล. จำนวน 1 บ่อ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า กำลังสูบ 1 ลบ.ม./วินาที จำนวน 1 เครื่อง โดยก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำที่ซอยอัมรินทร์ 3 และบ่อรับน้ำที่ปลายคลองบางบัว เพื่อดึงน้ำฝนที่ท่วมขังบริเวณวงเวียนบางเขนมากักเก็บไว้ในบ่อหน่วงน้ำ เมื่อฝนหยุดตกจะสูบน้ำที่เก็บไว้ระบายลงสู่คลองบางบัว และคลองรางอ้อ-รางแก้ว สำหรับบ่อหน่วงน้ำดังกล่าว มีขนาดกว้าง 6 ม. ยาว 30 ม. ลึก 6 ม. สามารถเก็บน้ำได้ 1,000 ลบ.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 25,000 ตร.ม.

สำหรับผลการดำเนินงานบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (water bank) ที่แล้วเสร็จ ประกอบด้วย บ่อหน่วงน้ำค.ส.ล. 1 บ่อ บ่อรับน้ำค.ส.ล.แล้วเสร็จ 1 บ่อ เหลืออีก 1 บ่อ บ่อส่งน้ำค.ส.ล. 1 บ่อ และวางท่อเหล็กเหนียวเส้นผ่านศูนย์กลาง 700 มม. ได้ความยาว 54 ม. จากความยาว 300 ม. ได้ผลงาน 18% โดยรอการประปานครหลวงรื้อย้ายท่อประปาขนาด 300 มม. ที่กีดขวางแนววางท่อเหล็กเหนียวขนาด 700 มม. ขณะนี้ผลงานการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (water bank) คืบหน้าแล้ว 60% คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนก.ย.61

อย่างไรก็ตามกรุงเทพมหานครได้บูรณาการเพื่อบริหารจัดการน้ำร่วมกับกรมทางหลวง ซึ่งพื้นที่ในการก่อสร้างบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ของกรมทางหลวง โดยสำนักการระบายน้ำได้ทำหนังสือขออนุญาตกรมทางหลวงเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งกรมทางหลวงมีโครงการก่อสร้างท่อลอดบริเวณถนนรามอินทรา เพื่อรับน้ำบริเวณวงเวียนบางเขนและถนนรามอินทรา ระบายลงสู่ท่อระบายน้ำตามแนวถนนรามอินทรา ไปตามแนวถนนพหลโยธิน ลงสู่บ่อรับน้ำบริเวณคลองบางบัว

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีโครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (water bank) เพื่อแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงน้ำท่วมขัง จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย บริเวณสถานีตำรวจนครบาลบางเขน เขตบางเขน หมู่บ้านเศรษฐกิจ เขตบางแค ปากซอยสุทธิพร 2 ถนนอโศกดินแดง เขตดินแดง และใต้สะพานข้ามแยกถนนกรุงเทพกรีฑาตัดกับถนนศรีนครินทร์ เขตบางกะปิ

ส่วนรูปแบบการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (water bank) จะเริ่มจากการก่อสร้างบ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดิน พร้อมทั้งก่อสร้างบ่อส่งน้ำเพื่อรับน้ำที่ท่วมขังส่งไปยังบ่อหน่วงน้ำ โดยวางท่อระบายน้ำเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 1.20 ม. สำหรับรับน้ำฝนในช่วงเวลาที่ฝนตกเข้ามาเก็บไว้ที่บ่อหน่วงน้ำ โดยการเชื่อมท่อระบายน้ำเข้ากับท่อระบายน้ำเดิม หรืออาจจะวางท่อระบายน้ำใหม่จากบ่อหน่วงน้ำไปยังคลองโดยตรง และดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เมื่อฝนหยุดตกจะสูบน้ำจากบ่อหน่วงน้ำออกไปตามแนวท่อระบายน้ำไปยังบ่อรับน้ำเพื่อระบายลงสู่คลองในพื้นที่ต่อไป

นอกจากนี้กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการโยธา ร่วมกับ กสทช กฟน. และทีโอที จะดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบริเวณหน้าพื้นที่โครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน water bank ตามแนวถนนพหลโยธิน โดยทำคอนไม้เพื่อแยกประเภทสายสื่อสารว่าเป็นของหน่วยงานใด ส่วนสายสื่อสารที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นของหน่วยงานใด ถือว่าเป็นสายสื่อสารเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาต จะดำเนินการรื้อย้ายออกไป เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า