SHARE

คัดลอกแล้ว

สหกรณ์ยางพารา จ.ตรัง ขาดทุนหนัก จากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ คาดมีแนวโน้มขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 อาจกระทบทุนสำรอง วอนรัฐบาลช่วยพยุงราคา หวั่นสหกรณ์ล้ม

วันที่ 3 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านโคกแต้ว ต.ทุ่งยาว อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ซึ่งรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน ได้มีการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี โดยมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา โดยมีเจ้าหน้าที่จากการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดร่วมพบปะกับสมาชิกด้วย ทั้งนี้ พบว่าผลการดำเนินงานในปีบัญชีสหกรณ์วันที่ 31 มีนาคม 2561 สหกรณ์โคกแต้วเป็น 1 ใน 3 สหกรณ์ที่ได้กำไรจากการดำเนินงาน โดยได้กำไรเป็นเงิน 172,125 บาท

นายปราโมทย์ พันธุศักดิ์ ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านโคกแต้ว จำกัด กล่าวว่า เฉพาะธุรกิจซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันถือว่าขาดทุนเช่นกัน แต่สหกรณ์มีการขายสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย รวมทั้งการจำหน่ายปุ๋ยให้แก่สมาชิก ซึ่งถือว่าทำกำไรได้ และเมื่อสิ้นสุดปีบัญชีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2561 ทำให้สหกรณ์ได้กำไรแค่แสนกว่าบาท แต่ก็ถือว่าได้กำไร แต่เมื่อเริ่มปีบัญชี 2562 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2561 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้พบว่า สหกรณ์เริ่มขาดทุนแล้วประมาณกว่า 2 แสนบาท สาเหตุสำคัญเกิดจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ที่ราคาน้ำยางสดกับราคายางแผ่นรมควันแตกต่างกันอยู่แค่ กก.ละประมาณ 3–4 บาท ทำให้ไม่พอค่าใช้จ่าย เพราะต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ กก.ละ 6–7 บาท ซึ่งสถานการณ์นี้กระทบกับสหกรณ์แปรรูปยางทุกแห่งประสบภาวะขาดทุน และแนวโน้มขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 หวั่นกระทบทุนสำรอง และสหกรณ์อาจล้ม หากรัฐบาลยังไม่เร่งแก้ไขปัญหา จึงอยากจะเรียกร้องรัฐบาลให้ช่วยเร่งพยุงราคา

ทางด้านนายอนิรุทธิ์ สังยวน หัวหน้ากองส่งเสริมและพัฒนายาง การยางแห่งประเทศไทย จ.ตรัง กล่าวว่า สหกรณ์ใน จ.ตรัง ที่แปรรูปน้ำยางสดเป็นยางแผ่นรมควันมีจำนวน 38 แห่ง พบว่า 95% ประสบภาวะขาดทุน ส่วนใหญ่ขาดทุนสหกรณ์ละล้านกว่าบาท สาเหตุเพราะราคาน้ำยางสดกับราคายางแผ่นรมควันห่างกันเพียงเล็กน้อย ประมาณ กก.ละ 2 บาท ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 7–8 บาท จึงทำให้ขาดทุน ซึ่งสหกรณ์ก็จะต้องพยุงรักษาสมาชิกไว้

ทั้งนี้ สหกรณ์โคกแต้วเองที่ได้กำไร เพราะส่วนหนึ่งน้ำยางสดที่ซื้อมาไม่ได้นำมาแปรรูปทั้งหมด แต่นำน้ำยางสดที่ได้ขายต่อด้วย จึงทำให้ลดภาวะขาดทุนได้ และขายสินค้าอื่นๆ ในส่วนของ กยท. ก็พยายามออกพบปะสมาชิกเพื่อให้คำแนะนำการปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนรวมทั้งปลูกแซม และหาทางช่วยลดต้นทุนการผลิต เช่น ปุ๋ยราคาถูก การให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การอบรมประชุมใหญ่ การช่วยเหลือเรื่องค่าน้ำค่าไฟ ทั้งนี้ทางรอดต่อไปของสหกรณ์คือ จะไม่แปรรูปเป็นยางแผ่นรมควันอย่างเดียว แต่อาจจำหน่ายน้ำยางสด แปรรูปเป็นยางเครป เพื่อรองรับปัญหาราคาตกต่ำอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า