SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนกลับไปปี 2552 ฤทธิรงค์ ชื่นจิตร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ขณะนั้น) ถูกตำรวจจังหวัดปราจีนบุรีจับกุมและซ้อมให้รับสารภาพว่าเป็นคนกระชากสร้อยทอง เพียงเพราะเขามีรูปพรรณสัณฐานคล้ายคนร้าย

 

พยานซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ 4 คนที่อยู่ในเหตุการณ์ เล่าว่าตำรวจใช้เข่ากดหลังเด็กหนุ่มให้นอนราบไปบนพื้น สลับกับใช้ถุงดำครอบศีรษะให้หายใจไม่ออก เตะชายโครง และข่มขู่ว่า ถ้าไม่รับสารภาพก็จะตายเขาจึงยอม แต่ต่อมาตำรวจอีกชุดจับคนร้ายตัวจริงได้ ทำให้ฤทธิรงค์พ้นข้อกล่าวหา

 

https://youtube.com/watch?v=eG8ImizxdCQ

 

 

 

หากนั่นก็ไม่ได้ทำให้บาดแผลจากการถูกซ้อมทรมานนานนับชั่วโมงจางหายไป เท้าที่กำลังก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยต้องหยุดชะงัก หันสู่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (รพ.จิตเวช) เพื่อรักษาอาการป่วยจนถึงปัจจุบัน

 

“ทุกวันนี้ก็ยังเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องครับ มีอาการหวาดระแวง วิตกกังวล ฝันร้าย ไม่อยากเข้าสังคม แล้วในช่วงนั้นก็เป็นช่วงรอยต่อของชีวิตด้วย คือกำลังจะเรียนต่อมหา’ลัย พอมาเจอเหตุการณ์นี้เลยต้องดร็อปทุกอย่าง กว่าจะฟื้นฟูตัวเอง มันก็เสียโอกาสไปเยอะครับ” ฤทธิรงค์เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตเขาหลังจากที่ตกเป็น แพะ

 

ตลอดเวลา 8 ปี ที่ผู้ถูกกระทำต้องวนเวียนเข้าออกโรงพยาบาล ตำรวจซึ่งเป็นผู้ลงมือซ้อมกลับไม่ต้องรับผิดชอบอะไร สมศักดิ์ ชื่นจิตร พ่อของผู้เสียหาย ตัดสินใจเดินหน้าเรียกร้องความยุติธรรมด้วยตนเอง เขายื่นหนังสือร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐมากกว่า 40 แห่ง เสียค่าดำเนินการไปแล้ว 4-5 ล้านบาท บ้านและที่ดินติดจำนอง โดยที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากหน่วยงานใด

 

กระทั่งปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท.เขตพื้นที่ 2 ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง พบว่ามีมูล จึงส่งเรื่องต่อให้ ป.ป.ท.สำนักงานใหญ่ในปี 2556

 

ระหว่างกระบวนการสืบสวนของ ป.ป.ท. ตำรวจระดับสารวัตรนายหนึ่งให้นักการเมืองท้องถิ่นและผู้กำกับสถานีตำรวจเข้าเจรจากับสมศักดิ์ เสนอเงิน 5 ล้านบาทแลกกับการยุติเรื่องทั้งหมด แต่เขาไม่ยินยอม จึงถูกข่มขู่คุกคามและใส่ร้ายว่าเกี่ยวข้องกับการทุจริตและติดยา

 

“ในการต่อสู้ผมใช้ชีวิตอย่างลำบาก มันมีทั้งเกลี้ยกล่อม ทั้งข่มขู่คุกคาม ซึ่งในระยะหลังมา 3 ถึง 4 ปี ผมใช้ชีวิตอยู่แต่ในบ้าน ในกล้องวงจรปิดที่ติดอยู่ในบริเวณหน้าบ้านหลังบ้าน ต้องช่วยเหลือตัวเองโดยที่ไม่มีคนอื่นมาให้ความปลอดภัย ครอบครัวของเราต้องอยู่อย่างหวาดผวา” สมศักดิ์เล่า

 

สิงหาคม 2557 ป.ป.ท.มีหนังสือสั่งยุติเรื่อง เนื่องจากฝ่ายตำรวจตั้งพยานเท็จขึ้นมาให้การว่าไม่เคยมีการซ้อมทรมาน ถึงอย่างนั้นผู้เป็นพ่อก็ยังไม่ยอมแพ้

 

ปี 2558 ครอบครัวชื่นจิตรได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและแอมเนสตี้นำเรื่องฟ้องศาล จนวันที่ 15 ธันวาคม 2559 ศาลสั่งว่ามีมูล และจะนัดสืบพยานในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 บทสรุปของเส้นทางเรียกร้องความยุติธรรมของผู้ถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นอย่างไร คงอยู่ที่ดุลยพินิจศาล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า