SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|10px|0px” _builder_version=”3.0.47″][et_pb_row custom_padding=”3px|0px|16px|0px” _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

[/et_pb_text][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ALITA: BATTLE ANGEL คือผลงานแนวไซเบอร์พังก์ ของ เจมส์ คาเมรอน ในฐานะโปรดิวเซอร์ และ โรเบิร์ต รอดริเกซ (SIN CITY) ที่มานั่งแท่นผู้กำกับ

เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในอนาคตอีกหลายร้อยปี Alita (โรซา ซาลาซาร์) ถูกพบในกองขยะโดยอิโด (คริสทอฟ วอลซ์) แพทย์หุ่นยนต์ที่นำ Alita ไปยังคลินิคของเขา เมื่อ Alita ตื่นขึ้นมาเธอสูญเสียความทรงจำ ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร จดจำโลกที่เธออยู่ไม่ได้เลย ทุกสิ่งกลายเป็นความแปลกใหม่สำหรับอลิตา สิ่งเดียวที่ยังติดตัวเธออยู่คือทักษะความสามารถในการต่อสู้แบบไซบอร์ก

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981404_32863_03.jpg” mobile_src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981425_60151_09.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”54px|0px|13px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|17px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ถูกดัดแปลงจากมังงะ

Alita: Battle Angel ดัดแปลงจากมังงะ เพชฌฆาตไซบอร์ก ซึ่งเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นโดยยูกิโตะ คิชิโระ ตีพิมพ์ในช่วงปี 1990-1995 โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ลิขสิทธิ์ในประเทศไทยเป็นของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ความยาว 9 เล่มจบ

เจมส์ คาเมรอน และจอน แลนเดา บินไปถึงญี่ปุ่นเพื่อขอสิทธิ์ในการทำเรื่องนี้จากยูกิโตะ คิชิโระ ซึ่งต่อมาแลนเดาเล่าว่า คิชิโระ จะได้รับการอัปเดตความก้าวหน้าในการสร้างเรื่องนี้อยู่สม่ำเสมอ และยังเคยบินมาดูสถานที่ถ่ายทำด้วยตัวเองอีกด้วย

คาเมรอน ต้องการทำให้หนังออกมาใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด โดยเฉพาะการแข่งขันมอเตอร์บอลก็อาจจะมาปรากฏอยู่ในเรื่องได้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”12px|0px|12px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981414_66362_06.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”8px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เป็นหนึ่งในโปรเจ็คท์ที่ยาวนานที่สุด

เจมส์ คาเมรอน เริ่มต้นโปรเจ็คต์ Alita ตั้งแต่ก่อนปี 2000 แต่ต้องพักไปทำหนังเล็กๆ เกี่ยวกับชาวต่างดาวตัวสีฟ้าที่ชื่อเรื่องว่า Avatar ก่อน

ประกอบกับเทคโนโลยีในช่วงปี ’90 นั้นก็ไม่แน่ว่าจะสร้างโลกของ Alita ขึ้นมาได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่

คาเมรอน ให้โรเบิร์ต รอดริเกซ ที่มานั่งแท่นผู้กำกับ ย่อสกรีนเพลย์ต้นฉบับมากกว่า 180 เพจ (และโน้ตย่อยๆ กว่า 600 หน้า) มาเป็นสคริปการถ่ายทำ ซึ่งรอดริเกซสามารถย่อลงได้โดยรักษาแก่นของเรื่องไว้ เมื่อคาเมรอนพอใจ จึงเริ่มถ่ายทำกันในปี 2017 และวางกำหนดฉายไว้ในปลายปี 2018

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”20px|0px|9px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981429_56031_10.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”10px|0px|16px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ศาสตร์การทำ Motion-Capture บรรลุจุดสูงสุด

การเนรมิตโลกของ Alita มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากการพัฒนาเทคโนโลยีในการสร้าง Avatar  ตัว Alita เองก็เป็นคอมพิวเตอร์กราฟฟิกทั้งตัว ที่ใช้เทคนิค motion-capture ควบคุมการเคลื่อนไหว แบบเดียวกับที่ใช้ ลิงซีซาร์ใน Planet of the Apes

โรซาร์ ซาลาซาร์ ผู้รับบทเป็น Alita เล่าว่ามันเป็นความท้าทายใหม่ ที่ยกระดับการแสดงขึ้นไปอีก เพราะเหมือนอยู่ในอีกโลกหนึ่งเลย แม้ว่าจะยากขึ้นอีกนิดในการเล่นฉากจูบ

ฉากใต้น้ำและการรบใต้ดิน คือ 2 ฉากใหญ่ที่ปรากฏในตัวอย่างหนัง และถ่ายทำกันตั้งแต่ 2 วันแรกที่ ซาลาซาร์ฝึกใช้เทคโนโลยีนี้

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981421_98343_08.jpg” mobile_src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981450_41443_11.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”16px|0px|17px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”11px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ตาโต

ดวงตาขนาดใหญ่ของ Alita เป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ คาเมรอนต้องการรักษาดีไซน์ของตัวมังงะดั้งเดิมไว้ เพื่อให้สามารถแสดงความรู้สึกผ่านดวงตาได้ และการที่มีตาโตขนาดนี้ก็เป็นการแบ่งแยกเธอออกจากมนุษย์ปกติด้วย

โรเบิร์ต รอดริเกซ ผู้กำกับ บอกว่าแม้คนดูจะคุ้นชินกับดวงตาในแบบมังงะและอนิเมะอยู่แล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่คนดูจะเป็นว่าตาโตของ Alita เวลาทำออกมาในแนวเรียลลิสติกแล้วจะเป็นอย่างไร และเสริมว่าคาเมรอนรู้ลึกเรื่องดวงตาดีกว่าใครๆ ด้วยประสบการณ์จาก Avatar

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”15px|0px|14px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981400_43610_02.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”9px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ยิงกันน้อยๆ ฟันกันเยอะๆ

คาเมรอนพูดถึงผลงานเก่าที่เกี่ยวกับจักรกลสังหารอย่าง ฅนเหล็ก Terminator ว่าเป็น “หนังยิงกัน” แต่มอง Alita ว่าเป็น “หนังฟันกัน”

คู่ต่อสู้ของ Alita ที่ปรากฏในตัวอย่างหนัง มีทั้งไซบอร์กที่มีดาบติดแขน และไซบอร์กยักษ์ที่ซ่อนแส้ดาบไว้ในนิ้วทุกนิ้ว ขณะที่ตัว Alita เอง ซึ่งเป็นไซบอร์กทั้งตัวเน้นใช้ร่างกายที่มีความทรงจำในศิลปะการต่อสู้สไตล์ไซบอร์กฝังอยู่เข้าห้ำหั่นกับศัตรู

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981407_19171_04.jpg” mobile_src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535996556_83889_gunnm.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”23px|0px|54px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row custom_padding=”17px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ใครคือกัลลี่

ชื่อเรื่องดั้งเดิมของมังงะคือ GUNNM มาจากสองคำ คือ “GUN” (กัน – “ปืน” ในภาษาอังกฤษ) บวกกับ “夢” (มุ – ภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “ความฝัน”) และเมื่อถูกตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษใช้ชื่อว่า Battle Angel Alita ก่อนที่จะสลับคำอีกครั้งเพื่อมาใช้เป็นชื่อภาพยนตร์ว่า Alita: Battle Angel

ขณะที่ชื่อตัวนางเอกในเวอร์ชั่นมังงะคือ “กัลลี่” ซึ่งหมออิโดะผู้ช่วยชีวิตเธอตั้งให้ใหม่เนื่องจากตัวเธอสูญเสียความทรงจำเก่าๆ ไป โดยกัลลี่เป็นชื่อแมวเพศผู้ของหมออิโดะที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษ สำนักพิมพ์คิดว่าอยากได้ชื่อที่เหมาะสมกับนักอ่านต่างชาติด้วยจึงเปลี่ยนมาเป็น Alita

ในขณะที่ชื่อจริงๆ ของนางเอกก่อนเสียความทรงจำคือ “โยโกะ”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|13px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1535981410_60376_05.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”18px|0px|27px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เลือดสีน้ำเงิน

เนื้อหาของมังงะต้นฉบับนั้นเต็มไปด้วยความรุนแรงเลือดสาด แต่ตัวหนังนั้นถูกกำหนดให้ได้เรต PG13+ จึงได้มีการเปลี่ยนสีเลือดเป็นสีน้ำเงินแทน ซึ่งโดยทั่วไป “เลือดสีน้ำเงิน” ยังเป็นความหมายแฝงถึงความสูงศักดิ์อีกด้วย

Alita: Battle Angel เข้าฉาย 20 ธันวาคม 61 ในโรงภาพยนตร์

 

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า