SHARE

คัดลอกแล้ว

กกต. เร่งยกร่างระเบียบส.ว. – ส.ส. รองรับกฎหมายลูกประกาศใช้ คาดระเบียบส.ว. เสร็จสัปดาห์หน้า เตือนพรรคการเมืองอย่าเพิ่งเคลื่อนไหวหาสมาชิก แนะ รอคำสั่งคลายล็อกชัดเจนก่อน ขณะที่ 28 ก.ย. เตรียมนัดพูดคุยกับพรรคการเมือง 

วันที่ 12 ก.ย. พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. แถลงว่า หลัง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว กกต.ก็จะเร่งพิจารณาระเบียบ กกต.ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ เบื้องต้นจะเร่งระเบียบกกต.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้า

เพราะ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.มีผลบังคับแล้ว และเมื่อระเบียบกกต.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.ประกาศใช้ กกต.ก็จะประกาศให้มีการลงทะเบียนองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้าคัดเลือกเป็น ส.ว. ซึ่งจะมี 2 ประเภท คือ 1. องค์กรที่มีกฎหมายจัดตั้ง และ 2. องค์กรนิติบุคคล ที่ก่อตั้งมาไม่น้อยกว่า 3 ปีมีการดำเนินกิจการต่อเนื่องและไม่แสวงหาผลกำไร

โดยจะเปิดรับลงทะเบียนที่ สำนักงานกกต.จังหวัดทั่วประเทศ ส่วนบุคคลทั่วไปที่จะลงสมัครก็จะสามารถยื่นสมัครได้ที่ว่าการอำเภอ โดยวันเวลาของการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนทาง กกต.จะมีการชี้แจงอีกครั้งหลังระเบียบกกต.ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว.ประกาศใช้

อย่างไรก็ตามการคัดเลือก ส.ว.ในส่วนของกกต.จะต้องดำเนินการคัดเลือกให้ได้ ส.ว.200 คน และส่งให้คสช. 15 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อให้คสช.คัดเลือกให้เหลือ 50 รายชื่อ และสำรองอีก 50 ชื่อ

(ภาพประกอบ)

ส่วนการเตรียมการเลือกตั้ง ส.ส. ขณะนี้ยังอยู่ในช่วง 90 วันของการรอการบังคับใช้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. โดยจะครบ 90 วัน ในวันที่ 10 ธันวาคม และจะเข้าสู่ระยะเวลาต้องการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 โดยวันสุดท้ายคือ วันที่ 9 พฤษภาคม 2562

ซึ่งเมื่อมีการคลายล็อกคำสั่งคสช.ที่ 53/2560 กกต.ก็จะใช้ช่วงเวลา 90 วัน ที่รอการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้งให้เป็นประโยชน์ตามแนวทางของรัฐบาล โดยจะเร่งดำเนินการในเรื่องของการแบ่งเขตเลือกตั้งที่จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมือง นักการเมือง ประชาชน รวม 10 วัน และคาดว่า จะใช้เวลาทั้งกระบวนการประมาณ 55-60 วัน

เมื่อแล้วเสร็จก็จะเป็นขั้นตอนการทำไพรมารีโหวตของพรรคการเมือง ที่กระบวนการทำไม่ใช่ทำได้ถึงแค่วันสุดท้ายก่อน พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.จะมีผลใชับังคับ แต่พรรคสามารถทำได้จนถึงวันก่อนรับสมัครเลือกตั้ง ถือว่า พรรคมีเวลามากกว่า 30 วันในการดำเนินการ

เลขาธิการกกต. กล่าวอีกว่า เชื่อว่าระยะเวลาดังกล่าวเพียงพอที่พรรคจะทำไพรมารีโหวต เพราะแม้การหาสมาชิกพรรค จะทำได้หลังคลายล็อก และกกต.ต้องตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรค แต่กฎหมายก็ให้สมาชิกรับรองคุณสมบัติของตนเองที่นำมายื่นสมัคร และแม้ภายหลังจะพบว่า เป็นข้อมูลเท็จบุคคลนั้นก็ต้องถูกดำเนินคดีอาญาฐานแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน รวมทั้งถ้าหากผู้นั้นไปร่วมในกระบวนการไพรมารีโหวตของพรรคก็ไม่มีผลทำให้ขั้นตอนไพรมารีโหวตของพรรคต้องเสียไป เพียงแต่คนที่ทำก็ต้องถูกลงโทษ

อย่างไรก็ตาม เลขาธิการกกต.เลี่ยงที่จะให้ความชัดเจนว่าการหาสมาชิกพรรคของพรรคการเมือง หลังคลายล็อกจะสามารถใช้วิธีการขึ้นป้ายเชิญชวน หรือขึ้นเวทีพูดเชิญชวนได้หรือไม่ และเห็นว่าต้องพิจารณาเป็นกรณีไป รวมทั้งต้องรอคำสั่งคลายล็อกของคสช.ที่จะออกมาก่อน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า