SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สรุปสถานการณ์น้ำ ระบุ พายุไต้ฝุ่น “มังคุด” ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย มีฝนตกหนักบางพื้นที่ช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. เผยมีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 40 จังหวัด และมีเขื่อนปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ 6 แห่ง ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ 

เมื่อเวลา 07.00 น. วันนี้ (15 ก.ย.61) ศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สรุปสถานการณ์น้ำในภาพรวม โดยระบุว่า พายุไต้ฝุ่น “มังคุด” (MANGKHUT) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ แนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ และจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ตอนบน ในวันนี้ หลังจากนั้น ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. 61 และอ่อนกำลังลงตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 61 บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงดินโคลนถล่ม

แม่น้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ มีระดับน้ำน้อยถึงน้ำปานกลาง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคตะวันออกมีระดับน้ำปานกลางถึงมาก มีน้ำสูงกว่าตลิ่งบางแห่ง โดยต้องเฝ้าระวัง แม่น้ำสาขาที่ไหลลงแม่น้ำโขง แม่น้ำนครนายก จ.นครนายก และแม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี

แม่น้ำโขง : (06.00 น.) ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังจังหวัดริมแม่น้ำโขง เนื่องจากยังคงมีฝนตกในพื้นที่

ขณะที่ สถานการณ์ฝนวันนี้ มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 40 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ขอนแก่น อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นครปฐม สมุทรสาคร นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล

โดย 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (06.00 น.)  มีฝนตกหนักถึงหนักมากใน ภาคเหนือ (แม่ฮ่องสอน 85.0 มม.) ภาคกลาง (กรุงเทพมหานคร 87.5 มม. ปทุมธานี 63.7 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี 206.0 มม. ศรีสะเกษ 76.6 มม.) ภาคตะวันออก (ตราด 125.0 มม. ฉะเชิงเทรา 94.2 มม. จันทบุรี 93.8 มม. ระยอง 63.5 มม.)  (ประจวบคีรีขันธ์ 61.5 มม.) และภาคใต้ (พังงา 86.0 มม. ระนอง 71.5 มม. สตูล 63.0 มม.) ส่วนภาคตะวันตกมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ อ่างฯขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มี 6 แห่ง ดังนี้

  1. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 542 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 543) คิดเป็น 104% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 4.42 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 4.54) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 6.15 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 6.31) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง บริเวณบ้านนาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม การบริหารจัดการน้ำปรับแผนการระบายน้ำตามสถาพน้ำท่าที่ไหลเข้าอ่างฯ โดยให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำน้อยที่สุด และต้องติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่ แจ้งเตือนให้พื้นที่ในลุ่มน้ำสงครามตอนล่าง ตั้งแต่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร จนถึง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เนื่องจากยังคงมีฝนตกในพื้นที่

  1. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 701 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 708) คิดเป็น 99% ไม่มีน้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway)  ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 2.02 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 6.99) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 9.07 ล้าน ลบ.ม. (เท่าเดิม) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ ยังคงต้องเร่งพร่องน้ำตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ

  1. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./14 ก.ย. 61/กฟผ.) มีปริมาณน้ำ 8,322 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 8,333) คิดเป็น 94% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 47.32 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 28.57) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 57.65 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 57.72) สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ ระบายน้ำเป็นวันละ 58 ล้าน ลบ.ม. จนถึง 30 ก.ย. 61 ทั้งนี้จะระบายน้ำไม่ให้เกินความจุของลำน้ำแควน้อย แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ

  1. เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (24.00 น./14 ก.ย. 61/กฟผ.) ปริมาณน้ำ 16,291 ล้าน ลบ.ม. (เท่าเดิม) คิดเป็น 92% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 30.61 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 36.52) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 29.61 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 35.53) การบริหารจัดการน้ำ ระบายน้ำผ่านเขื่อนท่าทุ่งนาวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. โดยเพิ่มขึ้นอีกวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. จนถึงวันละ 32 ล้าน ลบ.ม. จากนั้นจะระบายคงที่ไปจนถึง 30 ก.ย. 61 ทั้งนี้จะควบคุมปริมาณน้ำไม่ให้เกินระดับเฝ้าระวังของลำน้ำแควใหญ่ที่สถานีบ้านหนองบัว และปริมาณ Side Flow จากลำตะเพิน แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควใหญ่ให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำ

  1. เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 268 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 262) คิดเป็น 91% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 10.56 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 6.36) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 5.46 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 5.46)  การบริหารจัดการน้ำ เร่งพร่องน้ำตามการคาดการณ์ฝนที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่เพื่อปรับแผนการระบายน้ำ แจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนทราบถึงแผนการระบายน้ำ

  1. เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น./ชป.) ปริมาณน้ำ 194 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 192) คิดเป็น 87% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 2.86 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 2.14) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 1.02 ล้าน ลบ.ม. (เมื่อวาน 0.96) น้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้นสูง 1.02 ม. (เมื่อวาน 0.64) การบริหารจัดการน้ำ ลดการระบายน้ำ ทั้งนี้ต้องติดสถานการณ์ฝนเพื่อปรับแผนการระบายน้ำ และแจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนทราบ

ส่วน สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ/ลำน้ำที่สำคัญ

  • ภาคเหนือ มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีระดับน้ำปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในแม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร อ.เซกา จ.บึงกาฬ แนวโน้มลดลงตามการลดลงของแม่น้ำโขง ห้วยหลวง จ.อุดรธานี แนวโน้มลดลง ห้วยโมง ต.นาสี อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู แนวโน้มลดลง ทั้งนี้จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่นมังคุดอาจส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องและตกหนักในบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น ต้องติดตามสถานการณ์ฝน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีระดับน้ำน้อยถึงปานกลาง ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง
  • ภาคตะวันตก มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง
  • ภาคตะวันออก มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในแม่น้ำนครนายก บริเวณ อ.องครักษ์ จ.นครนายก แนวโน้มทรงตัว แม่น้ำปราจีนบุรี บริเวณ อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี แนวโน้มทรงตัว แม่น้ำบางปะกง อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา แนวโน้มทรงตัว ทั้งนี้จากอิทธิพลพายุไต้ฝุ่นมังคุดอาจส่งผลให้ภาคตะวันออกมีฝนตกต่อเนื่องและตกหนักในบางพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำสูงขึ้น ต้องติดตามสถานการณ์ฝน
  • ภาคกลาง มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำในแม่น้ำป่าสัก บริเวณ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
  • ภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ไม่มีน้ำสูงกว่าระดับตลิ่ง

การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำ

  • อ่างฯ ขนาดใหญ่+ กลาง : ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มี 54,684 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 77 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง มี 3,186 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 รับน้ำได้อีก 18,223 ล้าน ลบ. ม.
  • อ่างฯที่ความจุเกิน 100% ขนาดใหญ่ 1 แห่ง เขื่อนน้ำอูน (104% เท่าเดิม) ขนาดกลาง 17 แห่ง (เท่าเดิม) ซึ่งอยู่ใน ภาคเหนือ 1 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) และภาคตะวันออก 5 แห่ง (เท่าเดิม)
  • อ่างเฝ้าระวัง (80-100%) ขนาดใหญ่ 6 แห่ง เขื่อนแก่งกระจาน (99% เท่าเดิม) เขื่อนวชิราลงกรณ (94% เท่าเดิม) เขื่อนศรีนครินทร์ (92% เท่าเดิม) เขื่อนนฤบดินทรจินดา (89% เท่าเดิม) เขื่อนขุนด่านปราการชล (87% เมื่อวาน 86%) เขื่อนรัชชประภา (83% เมื่อวาน 84%) ขนาดกลาง 79 แห่ง (เพิ่มขึ้น 3 แห่ง) แยกเป็น ภาคเหนือ 8 แห่ง (ลดลง 1 อ่าง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 52 แห่ง (เพิ่มขึ้น 3 แห่ง) ภาคตะวันออก 10  แห่ง (เท่าเดิม) ภาคกลาง 7 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) และภาคใต้ 2 แห่ง (เท่าเดิม)
  • อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่า 60% ในบริเวณภาคเหนือตอนบน ขนาดใหญ่ 2 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) เขื่อนกิ่วลม (45% เมื่อวาน 44%) เขื่อนแม่กวงอุดมธารา (41% เมื่อวาน 40%) ขนาดกลาง 18 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขนาดใหญ่ 1 แห่ง เขื่อนห้วยหลวง (44% เท่าเดิม) ขนาดกลาง 10 แห่ง (เท่าเดิม)
  • อ่างเฝ้าติดตาม (น้อยกว่า 30%) ขนาดใหญ่ 3 แห่ง เขื่อนอุบลรัตน์ (29% เท่าเดิม) เขื่อนแม่มอก (26% เท่าเดิม) เขื่อนทับเสลา (25% เท่าเดิม) ขนาดกลาง 35 แห่ง (ลดลง 1 แห่ง) ภาคเหนือ 4 แห่ง (เพิ่มขึ้น 1 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 แห่ง (ลดลง 2 แห่ง)  ภาคตะวันออก 3 แห่ง (เท่าเดิม) ภาคกลาง 1 แห่ง (เท่าเดิม)  ภาคใต้ 5 แห่ง (เท่าเดิม)
  • พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม : ลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม ลำน้ำอูน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี และแม่น้ำนครนายก จ.นครนายก
  • สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา : ให้วางแผนบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยาที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยทำการผันน้ำเข้าทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีความพร้อมที่จะรับน้ำก่อน ทั้งนี้ต้องควบคุมการระบายน้ำในระดับที่เหมาะและไม่ส่งผลกระทบ พร้อมกับติดตามสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณน้ำที่ไหลหลากลงไปสมทบกับปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า