Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เกิดข้อสังเกตถึงการได้เปรียบเสียเปรียบของพรรคการเมือง หลัง กกต.ประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจำนวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด แต่มากไปกว่านั้น คือ “กลเม็ด” หรือ วิธีแยบคาย, พลิกแพลง ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง

ไขข้อข้องใจ “การแบ่งเขตเลือกตั้ง” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งกำหนดให้มี ส.ส. จำนวน 350 ที่นั่ง จากเดิม 375 ที่นั่ง จำนวน ส.ส. หายไป 25 คน โดยมี 23 จังหวัด ที่จำนวน ส.ส. ลดลง

จำนวน ส.ส. ที่หายไป เป็นฐานเสียงของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องคะแนนเสียง ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้หากดูเป็นราย “ภาค” ที่อิงกับข้อมูลเดิมของพรรคการเมือง อาจดูเหมือน “แบ่งเขตเลือกตั้ง” ครั้งนี้จะมีข้อท้วงติงตั้งแต่เริ่มต้น แต่ในความเป็นจริงแล้วพรรคการเมืองแต่ละพรรค ล้วนล่วงรู้ “กลเม็ด” ที่แฝงอยู่มากกว่านั้น

(สติธร ธนานิติโชติ)

ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยจุดที่น่าสนใจสำหรับการ “แบ่งเขตเลือกตั้ง” ชนิดล้วงลึกกับ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ โดยเริ่มต้นด้วยคำยืนยันว่า จำนวน ส.ส.ที่ลดลง จากการแบ่งเขตที่ลดลงจาก 375 เขต เหลือ 350 เขตนั้น ไม่ได้มีปัญหา เพราะแบ่งตามหลักประชากร ตามทะเบียนราษฎร ของกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค. ปี 2560 เมื่อนำจำนวนประชากรหารกับ 350 (จำนวน ส.ส.เขตทั้งหมด) จังหวัดใดมีประชากรมาก ก็จะได้สัดส่วน ส.ส.ไปมาก ไม่ใช่อคติ !

แต่ปัญหาจริงๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น คือ เมื่อจังหวัดได้รับจำนวน ส.ส. ไปแล้ว จะนำไปจัดสรรที่นั่งอย่างไร ทุกจังหวัดในประเทศไทยมีหลายอำเภอ คำถามคือ จะนำอำเภอไหนมารวมกับอำเภอไหนเป็น 1 เขตเลือกตั้งจุดที่จะยุ่งคือตรงนี้

หลักการตามประกาศ กกต. กำหนดว่า อำเภอที่จะแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง ต้องมีพื้นที่ติดกัน ไม่ใช่อำเภอหนึ่งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดนั้น ส่วนอีกอำเภออยู่ทางทางตะวันตก แล้วจะมากลายเป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน แต่ถ้าแบ่งให้สองอำเภอแบบนี้เป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน ตรงนี้จะแปลก ประหลาดมาก นี่คือเจตนาผิดปกติ เพราะฉะนั้นหลักการสำคัญ คือ อำเภอต้องมีอาณาเขตติดต่อกันก่อน แต่ละเขตประชากรต้องมีจำนวนใกล้เคียงกัน คือประชากรประมาณ 180,000 คนต่อ ส.ส. 1 คน (ค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 200,000 – 160,000 คน)

ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด จะทำโมเดลแบ่งเขตเลือกตั้งภายในจังหวัด ออกเป็น 3 โมเดล แล้วประกาศรับฟังความคิดเห็นจาก ประชาชนและตัวแทนพรรคการเมือง จากนั้นจะเลือก 1 โมเดล เพื่อประกาศว่า “จะใช้” และมีช่วงเวลาให้คัดค้าน

“ความไม่ลงตัว” ที่จะเกิดขึ้น คือ อำเภอเดียวกัน อาจต้องหั่นบางตำบลเพื่อไปรวมเป็นเขตเลือกตั้ง ตรงนี้กฎหมายเปิดช่องให้ทำได้ แต่ต้องคำนึงถึงความจำเป็นถึงที่สุด ยกตัวอย่าง ถ้า 1 จังหวัด มี 9 อำเภอ 1 เขต ประกอบด้วย 3 อำเภอ แต่เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนประชากรมากกว่า 250,000 คน มากกว่าค่ากลาง 180,000 คน ถึง 70,000 คน ก็ต้องไม่ให้ทั้ง 3 อำเภอ รวมกันเป็นเขตเดียว ขณะที่ อีก 3 อำเภอ ในจังหวัดเดียวอาจรวมประชากรได้เพียง 120,000 คน ซึ่งน้อยกว่า 180,000 คนเกินไป ตรงนี้ต้องแบ่งให้สมดุลกัน

ถ้าต้องการใช้การแบ่งเขตเลือกตั้ง เพื่อช่วยเหลือพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง มีหลักวิชาการที่ศึกษากัน เรียกว่า Gerrymandering หรือ การแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรม เป็นการแบ่งเลื่อนไปเลื่อนมา เพื่อจงใจให้เกิดการได้เปรียบ

(ยกตัวอย่าง)

(โมเดล 1)

  • สมมุติว่า จังหวัดหนึ่งมีประชากรทั้งหมด 200,000 คน มีจำนวน 3 อำเภอ มีพรรคการเมือง A และ พรรคการเมือง B เป็นเจ้าของพื้นที่
  • พรรคการเมือง A มีฐานเสียงในเขตอำเภอ ก. ซึ่งมีประชากรอยู่ประมาณ 100,000 คน
  • พรรคการเมือง B มีฐานเสียง เป็นอำเภอชนบทคือ อำเภอ ก. และ ข.  ซึ่งมีประชากรอยู่อำเภอละ 50,000 คน
  • หากแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นอำเภอ ก. 1 เขต และ อำเภอ ข.+ อำเภอ ค. 1 เขต
  • จังหวัดนี้จะมี ส.ส. 2 คน จากพรรค A  และ พรรค B

ความเป็นไปได้ในการแบ่งเขตใหม่

(โมเดล 2)

  • แบ่งเขตใหม่ ด้วยการผ่า “อำเภอ ก.” ออกเป็นครึ่งหนึ่งแล้วนำไปรวมกับ “อำเภอ ข.” เป็น 1 เขต
  • อำเภอ ก. ส่วนที่เหลือ นำไปรวมกับ “อำเภอ ค.” เป็นอีก 1 เขต
  • ฐานเสียงของพรรค A และ พรรค B ถูกแยกออกไปทั้งสองเขต
  • ใช้สถิติการเลือกตั้งเดิม พบว่า คนเมืองซึ่งอยู่ใน อำเภอ ก. จะออกมาใช้สิทธิ์ประมาณร้อยละ 60 ส่วนคนชนบท ในอำเภอ ข. และ ค. จะใช้สิทธิ์ประมาณร้อยละ 80
  • ถ้าพรรค A มีผู้มาลงคะแนนให้ตามฐานเสียง เขตละ 30,000 คน
  • ถ้าพรรค B มีผู้มาลงคะแนนให้ตามฐานเสียง เขตละ 40,000 คน
  • พรรค B จะชนะพรรค A ทั้ง 2 เขต ได้ ส.ส. ทั้ง 2 คนของจังหวัดนี้

“นอกจากนี้ ถ้าจังหวัดที่มี 3 ตระกูลครองอยู่ ถ้าใช้โมเดล Gerrymandering เลื่อนฐานเสียง แบ่งเขตเลือกตั้งให้ได้เปรียบกับตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ก็จะอาจล้มตระกูลบางตระกูลได้เลย พรรคการเมืองเขารู้กันเรื่องนี้ ดังนั้นการแบ่งเขตเลือกตั้ง จึงต้องแบ่งอย่างยุติธรรม

เวลาโมเดลออกมา เราไปสังเกตได้เลยว่า นักการเมืองจะเลือกโมเดลแบ่งเขตแบบที่เขาได้ประโยชน์ ส่วนพรรคที่อยากกินรวบคนอื่น ก็อาจดึงดันใช้อีกโมเดล ก็ต้องสู้กันไป ซึ่งการแบ่งตามภาคไม่มีนัยอะไรเพราะเป็นหลักประชากร” ดร.สติธร สรุป

 

ข้อมูลอ้างอิง : 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า