[et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.47″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
ปมหลอน รางมรณะ (The Girl on the Train)
Paula Hawkins : เขียน
นรา สุภัคโรจน์ : แปล
สำนักพิมพ์ โพสต์บุ๊กส์ พ.ศ. 2558
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|16px|0px” _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
‘เมื่อความจริง อาจเป็นภาพลวงตา
และภาพลวงตา อาจเป็นเรื่องจริงที่คาดไม่ถึง!’
เคยได้ยินมาเสมอว่า ‘อย่าตัดสินหนังสือจากปก’ แต่แน่นอนว่าปกเป็นสิ่งหนึ่งที่จะดึงดูดสายตาและคำโปรยเรื่องบนปกเองก็เช่นกัน เช่นเดียวกับ The Girl on the Train ที่ทั้งปกและคำโปรยดึงดูดใจเป็นอย่างยิ่ง ไม่ต้องพูดถึงคำชื่นชมมากมายจากนักอ่าน และหนังสือเล่มนี้ยังขึ้นสู่หนังสือขายดีอันดับหนึ่งของนิวยอร์กไทมส์ทันทีที่ออกวางจำหน่าย
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537535135_16250_TheGirlonthetrain.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”27px|0px|17px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
The Girl on the Train บอกเล่าเรื่องราวของผู้หญิงสามคน เรเชล เมแกน และ แอนนา ที่ดูผิวเผินเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย
ผู้หญิงคนหนึ่ง กำลังพยายามกอบกู้ชีวิตของตัวเองจากความผิดหวัง ผิดพลาด ล้มเหลว และเหมือนกำลังดิ่งลงเรื่อยๆ สู่ด้านที่เลวร้ายย่ำแย่
ผู้หญิงคนหนึ่ง พยายามจะรักษาครอบครัวอันเป็นที่รักของเธอไว้อย่างสุดความสามารถ และมองว่าปัญหาที่คุกคามเธอนั้นมาจากภรรยาเก่าของสามี
และผู้หญิงอีกคน ที่จมปลักอยู่กับอดีต ความลับดำมืด ความเจ็บปวดโหยหา ที่เหมือนโพรงลึกว่างเปล่าในตัวเอง เธอจึงดิ้นรนเพื่อจะหาคำตอบและวิธีหลุดพ้นจากความเจ็บปวดนั้น
ผู้เขียนใช้วิธีเล่าเรื่องผ่านมุมมองของตัวละครหลักทั้งสามได้อย่างน่าสนใจ (คล้ายคลึงกับหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้อ่านก่อนหน้า คือ เล่นซ่อนหาย : Gone Girl ซึ่งใช้วิธีดำเนินเรื่องด้วยการให้ตัวละครหลักเป็นฝ่ายเล่าเรื่องราวสลับกับสมุดบันทึก)
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537535081_13920_9318c424611640001ee2c3d6f6d5a331.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
ราเชลต้องนั่งรถไฟผ่านบ้านของสามีภรรยาคู่หนึ่งเกือบทุกวัน และนั่นทำให้เธอสร้างภาพของทั้งคู่ในจินตนาการขึ้นมาในเป็นแบบที่เธออยากให้เป็น แต่แล้ววันหนึ่ง เธอก็ได้เห็นเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นที่บ้านริมทางรถไฟหลังนั้น ราเชลไม่มีทางรู้ว่า สิ่งที่เธอเห็นนั้นจะเปลี่ยนชีวิตที่เหลือของเธอไปตลอดกาล
เกือบครึ่งค่อนเรื่องที่ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านนิยายชีวิต ดราม่าเข้มข้น มากกว่าจะเป็นเรื่องลึกลับเขย่าขวัญ หรือฆาตกรรม เพราะไม่ได้เต็มไปด้วยฉากฆ่าโหด เลือดสาด หรือตื่นเต้นเร้าใจ แม้กระทั่งเมื่อถึงตอนที่หญิงสาวคนหนึ่งหายตัวไปก่อนจะถูกพบเป็นศพทิ้งไว้กลางป่า แต่ผู้เขียนพาเราเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร จิตใจที่ว้าวุ่น สับสน เจ็บปวด ดิ้นรนหาทางออกและคำตอบ น้ำไปสู่บทสรุปในท้ายที่สุด
ใครฆ่า? และ เพราะเหตุใด?
อาจไม่สำคัญและน่าสนใจเท่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น เกี่ยวพันกันตรงไหน? อย่างไร? และทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการตายของผู้หญิงคนหนึ่ง ล้วนได้รับผลกระทบจากมัน
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537535085_24728_The-Girl-on-the-Train.png” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ custom_padding=”0px|0px|54px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
ท้ายเล่มบอกไว้ว่านี่ เป็นนิยายเขย่าขวัญเรื่องแรกของ พอลา นักเขียนที่เคยเป็นผู้สื่อข่าวมา 15 ปี ก่อนจะผันตัวมาเขียนนิยาย ฉันว่า ฉันยินดีจะเป็นแฟนหนังสือคนหนึ่งของเธอ นับจากอ่านงานเล่มนี้จบ
โดยส่วนตัวแล้ว ฉันคิดว่าความสนุกจากการอ่านหนังสือนั้นมีสองทาง หนึ่ง คือเราพอจะรู้อยู่แล้วว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร ดำเนินไปอย่างไร กระทั่งควรจะจบอย่างไร แต่ก็ยังสนุก ความสนุกจะซ่อนซุกอยู่ในรายละเอียดระหว่างการอ่านนั้น อยู่ในแต่ละประโยค แต่ละถ้อยคำและสถานการณ์
กับทางที่สอง คือเราไม่รู้และไม่อาจคาดเดาเรื่องราวได้เลย ไม่รู้ว่าตัวละครจะพาเราไปเจอกับอะไร และเรื่องจะพลิกผันไปจากที่คาดเดาไว้ในรูปแบบไหน ความไม่รู้นั่นเองที่จะตรึงเราไว้กับเรื่องและคอยลุ้นด้วยใจระทึก
สำหรับเรื่องนี้ ความสนุกน่าจะเป็นอย่างที่สอง คือถึงแม้จะพอคาดเดาบางอย่างได้เมื่ออ่านมาถึงครึ่งทาง แต่เราก็ไม่รู้ว่าบทสรุปนั้นจะพลิกผันหรือหักเหไปทางทิศใด และนี่อาจจะเป็นนิยายเรื่องแรกที่แม้จะเดาตัวคนร้ายได้ถูก แต่กลับไม่ดีใจหรือรู้สึกกระหยิ่ม มันกลับน่าเศร้าและหดหู่ใจในชะตากรรมที่ตัวละครต้องเผชิญ
‘เมื่อความจริง อาจเป็นภาพลวงตา และภาพลวงตา อาจเป็นเรื่องจริงที่คาดไม่ถึง!’
บางครั้งก็ยากจะแยกแยะว่าสิ่งใดจริง สิ่งใดลวง น่าเศร้าที่บางครั้งเราต้องยอมรับว่ากำลังใช้ชีวิตอยู่กับภาพลวงตา ที่ไม่รู้ว่าจะสูญสลายไปในวินาทีไหน และมันอาจจะนำเรื่องเลวร้ายสุดคาดคิดมาสู่ชีวิตเรา
เมื่อถึงเวลานั้น บางทีมันก็อาจจะสายเกินไปแล้ว
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row custom_padding=”0px|0px|0px|0px” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/09/1537535132_15090_800px-Paula_Hawkins_Gteborg_Book_Fair_2015.jpg” align=”center” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_image][/et_pb_column][/et_pb_row][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.47″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]
ประวัติผู้เขียน
พอลล่า ฮอว์กินส์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 1972 ประเทศซิมบับเว ก่อนที่จะมาเขียนนวนิยาย เธอทำงานเป็นนักข่าวและนักเขียนอิสระ ในนิตยสารต่างๆ ผลงานที่โดดเด่นของเธอคือ “The Girl on the Train”
ฮอว์กินส์เป็นนักเขียนที่มีผลงานขายดีที่สุดอันดับ 2 ของ ปี พ.ศ. 2560 เป็นที่รู้จักจากผลงาน The Girl on the Train (2016), CBS This Morning (2012) และ Loose Women (1999)
เดือนสิงห์ (ผู้เขียนคอลัมน์)
เด็กหญิงรักการอ่าน ที่โตมาเป็นผู้หญิงรักการอ่าน และฝันว่าจะเป็นคุณยายผู้รักการอ่าน จนกว่าจะตายจากกันไปข้างหนึ่ง
คอลัมน์ ‘เล่าหลังอ่าน’ จะบอกเล่าสู่กันฟังถึงหนังสือที่ได้อ่าน เป็นการแลกเปลี่ยนความสุข ส่งต่อความประทับใจจากเรื่องราวระหว่างบรรทัดเหล่านั้น
[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]