SHARE

คัดลอกแล้ว

นทท.แห่เซลฟี่และเที่ยวชม สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ สมัย ร.5 หลังพบระเบิดและหัวรถจักรสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จมอยู่ใต้ตอหม้อสะพาน กว่า 73 ปี วางแผนเก็บกู้เพื่อก่อสร้างรถไฟรางคู่ ตั้งเป้า 6 เดือน กู้ขึ้นมาให้ยลโฉม

วันที่ 22 ก.ย. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สะพานจุฬาลงกรณ์ สะพานรถไฟที่ทอดข้ามแม่น้ำแม่กลอง อ.เมือง จ.ราชบุรี กลายเป็นจุดแลนด์มาร์คที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมและเก็บภาพสถาปัตยกรรมที่งดงามที่มีความเก่าแก่ ทั้งกลางวันและในยามค่ำคืน ในส่วนของโครงสร้างและประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวผ่านสื่อต่างๆ และมีการแชร์ในโลกโซเชียลถึงการพบระเบิดและหัวรถจักรสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2488 จมอยู่ใต้ตอหม้อของสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยจะดำเนินการก่อสร้างรถไฟรางคู่ จำเป็นที่จะต้องเก็บกู้ทั้งวัตถุระเบิดและหัวรถจักรขึ้นมา ซึ่งจะต้องใช้เวลา 5–6 เดือน ในการเก็บกู้ระเบิดขึ้นมาทั้งหมด จากนั้นจะทำการกู้หัวรถจักรขึ้นมาและส่งมอบให้ จ.ราชบุรี ไว้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชม

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกาญจนบุรีและราชบุรี ได้นำสื่อมวลชนและกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวชมและศึกษาประวัติศาสตร์การก่อสร้างสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ และการทิ้งระเบิดเพื่อทำลายสะพานรถไฟ ก่อนที่จะมีการเก็บกู้วัตถุระเบิดและหัวรถจักรขึ้นมาจากใต้แม่น้ำแม่กลอง ที่จมอยู่มายาวนานกว่า 73 ปี เพื่อนำหัวรถจักรดังกล่าวมาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชม พร้อมทั้งออกมาเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมและศึกษาถึงประวัติศาสตร์การพบวัตถุระเบิดและหัวรถจักรใต้ตอหม้อสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์

นายวิศรุต อินแหยม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานกาญจนบุรีและราชบุรี กล่าวว่า สะพานจุฬาลงกรณ์ เป็นสะพานรถไฟทอดข้ามลำน้ำแม่กลองที่สร้างขึ้นจากพระราชดำรัสของ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีกิจการรถไฟ เฉพาะสำหรับสายใต้ได้เชื่อมถนนรถไฟ จากสถานีรถไฟบางกอกน้อยไปถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองสำหรับทั้ง รถยนต์ และรถไฟ และทรงเสด็จเปิด พร้อมพระราชทานนาม “สะพานจุฬาลงกรณ์” เมื่อปี พ.ศ. 2444 หรือ ร.ศ. 120 จนสะพานทิ้งระเบิดพังเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ปัจจุบันสะพานจุฬาลงกรณ์ เป็นสะพานรถไฟ ทอดข้ามลำน้ำแม่กลอง ควบคู่กับสะพานธนะรัชต์เป็นสะพานสำหรับรถยนต์ เชื่อมตัวเมืองราชบุรี ผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สู่ถนนเพชรเกษม ที่จะออกสู่กรุงเทพฯ หรือล่องใต้ต่อไป

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แถบเอเชียก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เช้าวันที่ 8 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นอันเป็นฝ่ายอักษะ ได้ยกพลขึ้นบกที่ฝั่งทะเล จ.นครศรีธรรมราช เพื่อใช้ไทยเป็นทางผ่าน เข้ายึดประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝ่ายสัมพันธมิตร ศัตรูของญี่ปุ่น โดยที่กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนพลจากนครศรีธรรมราช ผ่านสุราษฎร์ธานี–ชุมพร–ประจวบคีรีขันธ์–เพชรบุรี-ราชบุรี สู่กาญจนบุรี ซึ่งที่กาญจนบุรี กองทัพญี่ปุ่นต้องเกณฑ์เชลยศึกมาสร้างสะพาน เพื่อยกพลทางรถไฟเข้าสู่พม่า เกิดตำนาน “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” มีเชลยศึกล้มตาย จำนวนมาก

นายวิศรุต กล่าวอีกด้วยว่า ในครั้งนั้นทหารญี่ปุ่นให้ทางชาวไทยไปหาท่อนซุงหรือ ต้นไม้มาทำเสาตอหม้อ โดยชาวไทยได้นำไม้นิ้ว หรือ ไม่นุ่น ขนาดใหญ่มาให้ทางญี่ปุ่น ซึ่งเห็นว่าเป็นไม้ท่อนใหญ่ จึงให้นำไปเป็นเสาตอหม้อสะพาน โดยไม้นิ้ว หรือ ไม้นุ่น เป็นไม้ที่เปาะและหักโค่นง่าย ส่วนที่พื้นสะพานและราวสะพานทางญี่ปุ่นได้เลือกใช้ไม้สักทองเพราะคิดว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง จนสามารถสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำแม่กลองได้สำเร็จเรียบร้อย ญี่ปุ่นจึงนำหัวรถจักรของ รฟท. มาลองวิ่งทดสอบดู เริ่มต้นตั้งแต่หัวสะพานฝั่งด้านเมืองราชบุรี ขาล่องใต้ วิ่งข้ามไปยังฝั่งค่ายบูรฉัตร ขาเข้ากรุงเทพฯ การวิ่งบนสะพานรถไฟชั่วคราวผ่านไปได้ด้วยดี จากนั้นได้ทดลองวิ่งถอยหลังกลับมาทางฝั่งเมืองราชบุรี ปรากฏว่า ตอม่อชั่วคราวไม่สามารถทานน้ำหนักได้เนื่องจากเป็นไม้ที่เบาะหักง่าย สะพานจึงหัก ส่งผลให้หัวรถจักรที่นำมาทดลองวิ่งจมลงสู่ใต้น้ำบริเวณใต้สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบัน ทำให้หทารญี่ปุ่นไม่สามารถใช้เส้นทางสู่ทางภาคใต้

นายสายัณห์ ศรีสมุทรนาค อดีตข้าราชการทหาร สังกัดกรมยุทธโยธาทหารบกชาวราชบุรี เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันตนเองอยู่ในเขตพื้นที่ของสะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์นี้มานานมากแล้ว ได้ข่าวจากปู่ย่าตายายที่เล่าให้ฟังว่าตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 มีระเบิดสะพานและหัวรถจักรตกลงไป ตอนที่ตนเองนั่งเรือมาเรียนที่ในเมืองก็จะนั่งเรือผ่าน ตอนที่น้ำแห้งก็จะเห็นหัวรถจักรโผล่ขึ้นมาจากน้ำตอนนั้น มีความตื่นเต้นเพราะสมัยนั้นยังเด็ก และใต้น้ำยังมีระเบิดทำให้เกิดความกลัว ซึ่งสมัยนั้นมีเรือดูดทรายวิ่งผ่านและมีการมาจอดและลงไปงมภายในน้ำ ก็ไม่เห็นจะมีอันตรายใดๆ และตอนที่มีการสร้างสะพานธนะรัชต์ ซึ่งสร้างขึ้นมาคู่กับสะพานจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี 2504 หลังจากที่เกิดระเบิดสะพานเดิมไปแล้ว และต้องมีการปักเข็มก็เกิดแรงสั่นสะเทือน แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อระเบิด

สะพานรถไฟจุฬาลงกรณ์จึงนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งของ จ.ราชบุรี การเดินทางสะดวกและมีมุมสำหรับเซลฟี่ และเชคอินที่หลากหลาย โดยเฉพาะในเวลากลางวันจะมีรถไฟวิ่งผ่านตามช่วงเวลา ส่วนในยามค่ำคืนได้มีการประดับไฟแอลอีดีไว้อย่างสวยงาม ซึ่งจะมีการสลับสีตามช่วงเวลาที่รถไฟวิ่งผ่าน และเมื่อแสงสะท้อนกับผิวน้ำในแม่น้ำแม่กลองจะได้ภาพที่สวยงาม

นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงยังมีพิพิธภัณฑ์ทหารช่าง ซึ่งอยู่ติดกับศาลหลักเมือง จ.ราชบุรี และกำแพงเมืองเก่า ที่มีการนำหัวรถจักรของ ร.ฟ.ท.หมายเลข 756 มาจัดแสดงพร้อมด้วยตู้โบกี้รถไฟอีกจำนวน 2 ตู้ เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ไปศึกษาและถ่ายภาพอีกด้วย ส่วนที่บริเวณใต้สะพานมีร้านค้า ร้านอาหารริมทางไว้บริการนักท่องเที่ยวได้แวะรับประทาน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า