SHARE

คัดลอกแล้ว

เทศกาลกินเจ ปี 2561 ตรงกับวันที่ 9-17 ต.ค. รวมเป็นเวลา 9 วัน กรุงเทพโพลล์ เผย กินเจ ยุคไทยแลนด์ 4.0 ประชาชนส่วนใหญ่ ซื้อในร้านสะดวกซื้อและสั่งออนไลน์เพื่อความสะดวก

วันที่ 6 ต.ค.2561 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “กินเจ…ยุคไทยแลนด์ 4.0” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั้งผู้ที่กินเจและไม่กินเจ จำนวน 1,200 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า

เหตุผลของผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.6 ระบุว่า กินเจเพื่อบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์รองลงมาร้อยละ 73.3 ระบุว่า กินเพื่อสุขภาพและร้อยละ 66.9 ระบุว่า เป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติมาทุกปีส่วนเหตุผลของผู้ที่ไม่กินเจส่วนใหญ่ร้อยละ 75.9 ระบุว่าปกติไม่กินอยู่แล้ว/ไม่ชอบ/ไม่อร่อย รองลงมาร้อยละ 52.7 ระบุว่า ในครอบครัวไม่มีใครกิน และร้อยละ 37.8 ระบุว่าหาซื้อยาก ไม่สะดวก

ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ตั้งใจจะกินเจในปีนี้ ว่ามีวิธีจัดหา ซื้ออาหารเจอย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 75.5 ระบุว่า หาซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จตามตลาด ร้านอาหารที่ปักธงเจ รองลงมาร้อยละ 45.6 ระบุว่า ทำอาหารเจกินเองที่บ้าน และร้อยละ 23.2 ระบุว่า จะซื้ออาหารเจแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ

สำหรับกิจกรรมที่ผู้กินเจส่วนใหญ่จะปฏิบัติ ในช่วงเทศกาลกินเจร้อยละ 62.0 คือ ทำบุญ ทำทาน รองลงมาร้อยละ 40.3 คือ สวดมนต์ รักษาศีล 5 และร้อยละ 28.7 จะไปไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่างๆ

สำหรับมุมมองเกี่ยวกับเทศกาลกินเจในยุคไทยแลนด์ 4.0 ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.6 ระบุว่าหาซื้อได้สะดวกมากขึ้นมีทั้งสั่งonline/ในร้านสะดวกซื้อรองลงมาร้อยละ 52.6 ระบุว่าเหมาะสมกับเทรนด์ (trend) การดูแลสุขภาพ และร้อยละ 42.1 ระบุว่า หลายหน่วยงานมีการจัดกิจกรรม/อีเว้นส่งเสริมการกินเจมากขึ้น

รวม 8 ข้อต้องรู้ เกี่ยวกับเทศกาลกินเจ

1. เทศกาลกินเจ หรือ กินแจ บางแห่งเรียกว่า ประเพณีถือศีลกินผัก เป็นประเพณีแบบลัทธิเต๋ารวม 9 วัน กำหนดตามวันจันทรคติ คือ เริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนของทุกปี

2. จุดเริ่มต้นเริ่มขึ้นที่ประเทศจีน ปัจจุบันมีการแพร่หลายในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้ง สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย และอาจมีในบางประเทศเอเชีย เช่น ภูฏาน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศจีน ที่ประกอบด้วยฮ่องกงและมณฑลไต้หวัน ซึ่งการกินเจในเดือน 9 นี้ เชื่อกันว่า น่าจะเกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2170 ตรงกับสมัยอาณาจักรอยุธยา

3. ตำนานของเทศกาลกินเจ มีการเล่าขานกันไว้หลายตำนาน บางแห่งเชื่อกันว่ากินเจเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระมหาโพธิสัตว์กวนอิมเป็นหลักๆ แต่ยังมีอีกหลายตำนวนมากมาย ที่มีความเชื่อแตกต่างออกไป

4. คำว่า เจ ในภาษาจีนทางพุทธศาสนานิกายมหายาน มีความหมายเดียวกับคำว่า อุโบสถ ดังนั้นการกินเจ ก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยที่ถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธนิกายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจ มิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจด้วย

5. ทำไมต้องกินเจ กินเพื่อสุขภาพ อาหารเจเป็นอาหารประเภทชีวจิต เมื่อกินติดต่อกันไปช่วงเวลาหนึ่ง จะทำให้ร่างกายเกิดการปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่างๆ ออกจากร่างกายได้ ปรับระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินอาหารให้มีเสถียรภาพ กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากอาหารที่เรากินอยู่ในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้มีจิตเมตตา มีคุณธรรม และมีจิตสำนึกอันดีงาม ย่อมไม่อาจกินเลือดเนื้อของสัตว์ ซึ่งมีเลือดเนื้อ จิตใจ เช่นเดียวกับคน และ กินเพื่อเว้นกรรม การกินซึ่งอาศัยการฆ่าเพื่อเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นอาหารของเรา เป็นการสร้างกรรม แม้ไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ตาม การซื้อก็เหมือนกับการจ้างฆ่า เพราะถ้าไม่มีคนกิน ก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย

6. อาหารเจ คือ อาหารที่ปรุงขึ้นโดยไม่มีเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ เช่น นม ไข่ น้ำผึ้ง น้ำปลา เจลาติน คอลลาเจน และไม่ปรุงด้วยผักที่มีกลิ่นฉุน ได้แก่ กระเทียม ต้นหอม หัวหอม หอมแดง หลักเกียว กุยช่าย และผักชี

7. การปฏิบัติตนช่วงกินเจ งดอาหารรสจัด ซึ่งหมายถึงอาหารเผ็ด หวานมาก เปรี้ยวมาก เค็มมาก งดผักที่มีกลิ่นฉุนทั้งหลาย แยกภาชนะสำหรับอาหารเจเท่านั้น, รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ ไม่พูดคำหยาบคาย รวมถึงงดการมีเพศสัมพันธ์, ทำบุญทำทาน ไหว้พระ สวดมนต์, นุ่งขาวห่มขาวตลอดเทศกาลกินเจ และควรแต่งกายชุดขาวเข้าร่วมพิธีกรรมต่างๆ ด้วย

8. ความหมาย สีแดง เป็นสีสิริมงคล จะเห็นได้ว่าในงานมงคลต่างๆ ของคนจีน ไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง วันตรุษจีน หรือวันสำคัญต่างๆ, สีเหลือง เป็นสีสำหรับใช้ในราชวงศ์ ซึ่งอนุญาตให้ใช้ได้เพียงคน 2 กลุ่มเท่านั้น กลุ่มแรกคือกษัตริย์ ซึ่งเห็นได้จากหนังจีน เครื่องแต่งกายและภาชนะต่างๆ เป็นสีเหลืองหรือทอง ซึ่งคนสามัญห้ามใช้เด็ดขาด กลุ่มที่ 2 คืออาจารย์ปราบผี ถ้าท่านสังเกตในหนังผีจีน จะเห็นว่าเขาแต่งกายและมียันต์สีเหลือง และ สีขาว ตามธรรมเนียมจีน สีขาวคือสีสำหรับการไว้ทุกข์ สีดำที่เราเห็นกันอยู่ในขณะนี้ เป็นการรับวัฒนธรรมตะวันตก ถ้าท่านสังเกตในพิธีงานศพของจีน จะเห็นลูกหลานแต่งชุดสีขาวอยู่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า