SHARE

คัดลอกแล้ว

กสทช. เตรียมแผนนำไทยสู่ 5 จี พร้อมทำประชาพิจารณ์ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์

วันที่ 9 ต.ค.2561 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะวานนี้ เพื่อประชาพิจารณ์ต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หรือนำมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยมีคลื่นความถี่เพียงพอสำหรับการเป็นพื้นฐานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยที่ประชุมมีความคิดเห็นหลากหลาย ซึ่ง กสทช. จะเปิดรับฟังความคิดเห็นทางออนไลน์ หรือยื่นเอกสารได้ที่ กสทช.ไปจนถึงสิ้นเดือน ต.ค. และจะรวบรวมเสนอให้บอร์ด กสทช.พิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปีหน้า

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า หน้าที่ กสทช.คือต้องจัดสรรคลื่นให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างสมดุล โดยการประเมินมูลค่าการเรียกคืนคลื่นนั้น กสทช.จะจัดจ้างมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ 3 แห่ง เป็นผู้ประเมินเพื่อความเป็นกลาง และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมนำประเทศไทยสู่ยุค 5จี ในปี 2563

รองเลขาธิการ กสทช. ระบุว่า ปัจจุบันคลื่นส่วนใหญ่อยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ ซึ่งหลักการเรียกคืนนั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะประโยชน์สังคม ที่บางครั้งประเมินค่าไม่ได้ ส่วนเม็ดเงินที่จะนำมาชดเชยเยียวยานั้นมาจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.)

ขณะที่นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อสมท. จะคืนคลื่น 2600 เมกะเฮิรตซ์หรือไม่นั้น ต้องรอหลักเกณฑ์เรียกคืนคลื่นที่ กสทช.จะออกก่อน ซึ่งการจะคืนได้หรือไม่ต้องรอเสนอให้บอร์ด อสมท พิจารณา เพราะคลื่นความถี่ ถือเป็นทรัพย์สิน และ อสมท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ต้องแจ้งการดำเนินการต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นทราบด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า