SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ แจงจ่ายเบี้ยผู้ลงทะเบียนตามเกณฑ์เดิม และไม่ต้องไปรายงานตัว ทุกคนอัพเดตบัญชีธนาคารที่ได้แจ้งไว้ได้ที่ เทศบาล อบต. หรือสำนักงานเขตที่ลงทะเบียน 

วันที่ 9 ต.ค. 2561 นางไพรวรรณ พลวัน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวถึงกรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี เพิ่มเป็น 700 บาท อายุ 70 ปี เพิ่มเป็น 800 บาท อายุ 80 ปี เพิ่มเป็น 900 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป เพิ่มเป็น 1,000 บาท ว่ากรมกิจการผู้สูงอายุ ขอชี้แจงกรณีกระแสข่าวลือการเพิ่มเบี้ยคนชราและข้อมูลที่คาดเคลื่อนดังกล่าวว่า การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ยึดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552

ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการจ่ายแบบขั้นบันได คือ
– อายุ 60- 69 ปี 600 บาท/เดือน
– อายุ 70- 79 ปี 700 บาท/เดือน
– อายุ 80- 89 ปี 800 บาท/เดือน
– อายุ 90 ปีขึ้นไป 1,000 บาท/เดือน

สำหรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จากการประชุมคณะกรรมการบริการกองทุนผู้สูงอายุ ครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 มีมติอนุมัติการจ่ายเงินในโครงการมาตรการให้เงินสงเคราะห์ เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จะได้รับเงินเพิ่มในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รายได้มากกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ได้รับเพิ่ม 50 บาท/คน/เดือน และรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ได้รับเพิ่ม 100 บาท/คน/เดือน

สำหรับงวดแรกจ่ายเงินลงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ผู้มีสิทธิสามารถถอนเงินที่โอนเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นเงินสดได้ผ่านตู้ ATM ของบมจ. ธนาคารกรุงไทย และสาขาของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย

เอกสารที่ต้องใช้ มีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด /สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด /สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ 1 ชุด  และเอกสารที่ใช้ยื่นรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องลงลายมือชื่อ สำเนาถูกต้องทุกฉบับ หากผู้สูงอายุไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายนิ้วมือแทน

สามารถยื่นเอกสารแทนผู้สูงอายุได้ หากผู้สูงอายุมีความประสงค์โอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตัวจริง, สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด

กรณีที่ผู้สูงอายุที่มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพย้ายทะเบียนบ้าน ให้เทศบาล หรือ อบต.ที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพ ก็ให้จ่ายเช่นเดิมจนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น

หากต้องการรับเบี้ยยังชีพกับเทศบาล หรือ อบต.แห่งใหม่ ผู้สูงอายุต้องไปลงทะเบียนใหม่กับเทศบาล หรือ อบต.ที่ขอรับเบี้ยยังชีพใหม่ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพใหม่ในเดือนตุลาคมของปีถัดไป

ขอบคุณภาพจากเพจ สำนักงานเขตบางซื่อ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า