Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสุขภาพจิต เผย เด็กรังแกกันในโรงเรียน ไทยติดอันดับ 2 ของโลก มีเด็กถูกรังแกกว่า 6 แสนคนต่อปี  ชี้เด็กพิการ-เพศทางเลือกเสี่ยงถูกรังแกมากสุด

จากเหตุการณ์รุ่นพี่ ม.2 รุมทำร้ายเด็ก ป.4 ซึ่งเป็นออทิสติก สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์ความรุนแรงของการรังแกกันในโรงเรียนที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการถ่ายคลิปส่งต่อกันในกลุ่มเพื่อนและสื่อโซเซียล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรง ที่ส่งผลต่ออารมณ์-จิตใจ-ร่างกาย และคุณภาพชีวิตในระยะยาว

เมื่อต้นปี 2561 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยผลการสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด เพื่อสำรวจสภาวการณ์เด็กและเยาวชนในระดับจังหวัด โดยอาศัยการสำรวจพฤติกรรมเด็ก และตัวบ่งชี้คัดสรร พบว่า ประเทศไทยมีเด็กถูกรังแกในสถานศึกษา ปีละประมาณ 6 แสนคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลก มีนักเรียนถูกรังแกจากเพื่อนนักเรียนด้วยกันสูงถึงร้อยละ 40 รองจากญี่ปุ่น ขณะที่ในปี 2553 การสำรวจนักเรียนนักศึกษาในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศพบว่าร้อยละ 33 เคยรังแกผู้อื่นทางออนไลน์ อีกร้อยละ 43 บอกเคยถูกคนอื่นรังแก

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เด็กจำนวนมากกำลังเผชิญการถูกรังแก ล้อเลียน ส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่อยากไปโรงเรียนมากขึ้น และยังพบปัญหาใหม่ มีการรังแกกันผ่านสื่อออนไลน์ทั้งการใช้ข้อความ ภาพ หรือวิดีโอคลิปบนโลกอินเตอร์เน็ตด้วย

อธิบดีกรมสุขภาพจิต มองว่า การรังแกกันหรือล้อเลียนกันในโรงเรียนถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นการปลูกฝังเด็กเรื่องความรุนแรง การทำร้ายกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อเด็กทั้ง 2 ฝ่ายในระยะยาว ทั้งทางรางกาย-จิตใจ และคุณภาพชีวิต

นักเรียนที่ถูกรังแกมักเครียด ซึมเศร้า มีปัญหาการเข้าสังคม หากถูกกดดันรุนแรงหรือเรื้อรัง จะนำไปสู่การทำร้ายคนอื่นเพื่อแก้แค้น หรือทำร้ายตนเอง รุนแรงถึงฆ่าตัวตาย ส่วนนักเรียนที่เป็นผู้กระทำ หรือรังแกผู้อื่น เมื่อทำบ่อยครั้งจนกลายเป็นนิสัยเคยชิน จะมีปัญหาบุคลิกภาพแบบใช้ความก้าวร้าว ความรุนแรงต่อผู้อื่น ความรู้สึกผิดน้อย ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เป็นอันธพาล อาชญากรได้ สังคมจึงต้องช่วยกันใส่ใจ เร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทั้งที่บ้านและโรงเรียน เพื่อลดการสูญเสียคุณภาพประชากรในสังคมที่เกิดจากผลกระทบปัญหานี้ในระยะยาว

แนวทางแก้ปัญหา “รังแกกันในโรงเรียน”

ด้านสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ เร่งทำการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมป้องกันการรังแกกันในโรงเรียนที่สอดคล้องกับบริบทโรงเรียนไทย โดยเน้นที่กลุ่มเด็กระดับชั้นประถมศึกษา อายุ 6-13 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยของการเรียนรู้เรื่องเพื่อน การพัฒนาบุคลิกภาพ พัฒนาการด้านศีลธรรมและการอยู่ในสังคมที่สำคัญ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร และมีความเชื่อมต่อระหว่างสาธารณสุขกับสถานศึกษา ครู ผู้บริหารโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่า การลดปัญหาการรังแกในโรงเรียนจะต้องให้ความสำคัญทั้งกลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงถูกรังแกสูงด้วย เช่น เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการช้า เด็กพิการ กลุ่มเด็กนักเรียนเพศทางเลือก ซึ่งมีรายงานมักถูกรังแกมากเป็นพิเศษ และเด็กกลุ่มที่ครอบครัวมีการใช้ความรุนแรง หรือเด็กที่ป่วยโรคทางจิตเวช เช่น สมาธิสั้น ซึ่งมักพบว่าเป็นเด็กกลุ่มที่เป็นผู้รังแก ที่ผ่านมา ประเทศไทยเองมีต้นทุนการดำเนินงานในเรื่องนี้อยู่บ้างแล้วจากองค์กรแพธ ทู เฮลท์ (PATH2 HEALTH) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แต่ยังเป็นการดำเนินงานนำร่องในบางโรงเรียน

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า