SHARE

คัดลอกแล้ว

สถิติเผย ช่วงปิดเทอมเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำมากที่สุดกว่า 56% รองลงมาเป็นอุบัติเหตุทางถนน นักวิจัยจากมหิดลเชื่อการสร้างทักษะให้เด็กเอาตัวรอดช่วยลดความเสี่ยงได้

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดเวที “ปิดเทอมเด็กปลอดภัย Child Safety Camp ค่าย 10 ทักษะความปลอดภัยในเด็ก” พร้อมเผยสถิติเด็กอายุ 1-14 ปี เสียชีวิตในช่วงปิดเทอมพบว่าสาเหตุมาจากการจมน้ำมากที่สุด

จากสถิติการเสียชีวิตของเด็กอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ในรอบ 10 ปี(พ.ศ.2551 – 2560) มีรายงานเสียชีวิตถึง มากถึง 9,574 คน หรือ เฉลี่ยปีละ 957 คน โดยแบ่งสาเหตุดังนี้

จมน้ำ ร้อยละ 56 หรือ 5,362 คน การจมน้ำนับสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 และพบว่าแหล่งน้ำที่เสี่ยง จะอยู่ในละแวกชุมชนใกล้บ้านเด็ก เช่น บ่อขุด หรือสระน้ำใช้ชุมชน คลองหรือแม่น้ำในบริเวณชุมชน

อุบัติเหตุจราจร ร้อยละ 25 หรือ 2,393 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 มาจากการขับขี่หรือซ้อนรถจักรยานยนต์ จากปั่นจักรยาน ในบริเวณละแวกบ้าน รวมไปถูกถูกรถชนบริเวณชุมชน

ตกจากที่สูง ของแข็งชนหรือกระแทก ร้อยละ 8 หรือ 766 คน เช่น ตกบันได หน้าต่าง ระเบียง หลังคา ต้นไม้ ชิงช้า แป้นบาส เสาฟุตบอล หรือเล่นของเล่นที่มีลูกล้ออย่างรองเท้าสเก็ต สกูตเตอร์ในบริเวณที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการพลัดตกหกล้มซึ่งทำให้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บสมองและการแตกของอวัยวะภายใน และการปีนป่ายโครงสร้างหนักที่ไม่ได้รับการติดตั้งอย่างมั่นคง จะทำให้เกิดการล้มทับ เป็นเหตุให้บาดเจ็บสมองหรือการแตกของอวัยวะภายในเสียชีวิตได้ เช่น การปีนป่ายรั้วบ้าน แป้นบาส เสาฟุตบอล เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น

การใช้ความรุนแรง ร้อยละ 7 หรือ 670 คน บ่อยครั้งที่มักจะเห็นว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตกเป็นเหยื่อนของการใช้ความรุนแรง ทั้งจากในครอบครัว โรงเรียน และในสังคม

ถูกไฟฟ้าช็อต ไฟดูด ร้อยละ 3 หรือ 287 คน นับเป็นสาเหตุที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมักจะเกิดกรณีกระแสไฟรั่วตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งเด็กเป็นวัยที่ยังไม่รู้วิธีการหลีกเลี่ยง หรือป้องกันตัวเอง

และร้อยละ 1 หรือ 96 คน คือสาเหตุจากการ ขาดอากาศหายใจ น้ำร้อนลวก ไฟลวก

เมื่อวิเคราะห์เฉพาะเรื่องอุบัติเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิต พบว่า เด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุดในช่วงปิดเทอม คือ เดือนเมษายน รองลงมา คือเดือนมีนาคม พฤษภาคม และตุลาคม

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ระบุว่า จากสาเหตุการเสียชีวิตของเด้กพบว่าส่วนใหญ่จะเกิดอยู่ในพื้นที่ใกล้บ้าน ในชุมชน ดังนั้น พ่อแม่และชุมชนจะต้องตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดได้รอบตัวเด็ก

พร้อมเสนอว่า ชุมชนควรเตรียมพื้นที่เล่นปลอดภัยในบริเวณบ้าน ชุมชน โรงเรียน ให้กับเด็ก โดย พื้นที่เล่นของเด็กต้องไม่อยู่ใกล้กับถนน แหล่งน้ำ พร้อมตรวจสอบการติดตั้งเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นให้มั่นคง ความปลอดภัยของสนามกีฬา เช่น แป้นบาส เสาฟุตบอล ที่ใช้งานมานานหลายปี หรืออาจจัดให้มีพี่เลี้ยงชุมชน ที่คอยสอดส่องความปลอดภัยเด็กที่เล่นนอกบ้าน แทนพ่อแม่ในช่วงปิดเทอม

 

นอกจากนี้ เด็กในวัยต่างๆ ควรมีทักษะความปลอดภัย 10 ประการ เพื่อเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ ได้แก่
1. ทักษะการพูดคุยกับคนแปลกหน้า การปฏิเสธความใกล้ชิดและการสัมผัสไม่เหมาะสม (อายุ 4-6 ปี)
2. ทักษะความปลอดภัยในบ้าน ของมีคม ของร้อน ไฟฟ้า สารพิษ ที่สูง ที่ลื่น ช่องรู เส้นสาย และสัตว์เลี้ยง (อายุ 4-6 ปี)
3. ทักษะความปลอดภัยทางน้ำ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงในชุมชน (อายุที่ 6-7 ปี)
4. ทักษะการเดินถนนโดยลำพัง การขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และการโดยสารรถยนต์ รถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย อายุที่ต้องทำได้ (อายุ 6-7 ปี)
5. ทักษะการเล่นของเล่น สนามเด็กเล่น กีฬา อย่างปลอดภัย (อายุ 6-7 ปี)
6. ทักษะการใช้ไอที อย่างปลอดภัย (อายุ 6-7 ปี)
7. ทักษะการปฐมพยาบาล ทำแผล ตามหน่วยฉุกเฉิน รู้และร่วมฝึกซ้อมแผนภัยพิบัติ ชุมชนได้ (อายุ 7-8 ปี)
8. ทักษะการกู้ชีพเบื้องต้น และเรียนรู้ความรับผิดชอบต่อสังคมในการมีส่วนร่วมในการกำจัดความเสี่ยงในระดับชุมชน อายุที่ต้องทำได้ (อายุ 9-10 ปี)
9. ทักษะการข้ามถนน (อายุ 9-10 ปี)
10. ทักษะ Home alone (อายุ 10-12 ปี)

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า