Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทำความรู้จัก สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่รัฐธรรมนูญ ฉบับ 60 เพิ่มบทบาทมากขึ้น จากเดิมทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ รวมทั้งร่วมตั้งกระทู้ถามรัฐบาล กลายเป็น “เสียง” สำคัญในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี

ที่มาของ ส.ว. 250 คน ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มาจากการเลือกของประชาชนโดยตรง แต่จะมาจาก 3 ทาง
(1) ส.ว. 6 คน มาจากผู้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหาร 3 เหล่าทัพ และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งทั้งหมดเป็น สมาชิก คสช.โดยตำแหน่งด้วย
(2) ส.ว. 194 คน มาจากการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาที่ คสช.แต่งตั้ง และส่งให้ คสช.เลือกอีกที
(3) ส.ว. 50 คน คือส่วนที่เปิดรับสมัครทั่วไป และวางกลไกให้เลือกกันเอง ตั้งแต่ระดับอำเภอ, จังหวัดและระดับประเทศ แต่เลือกขั้นตอนสุดท้ายโดย คสช. แม้จะแบ่งออกเป็น 3 ทาง แต่กล่าวได้ว่าสุดท้าย คสช. ก็คือ ผู้เลือก ส.ว.ทั้ง 250 คน ซึ่งจะมีบทบาทกับการเมืองต่อไปหลายเรื่อง

ดูเพิ่มเติมกลุ่มอาชีพ ส.ว.ที่รับสมัคร https://workpointnews.com/2018/09/22/ส-ว/

ปกติแล้วผู้โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คือ ส.ส. ใครได้รับการสนับสนุนเกินครึ่งสภา ซึ่งก็คือ 251 เสียง จาก 500 เสียง ก็มีสิทธิ์จะเป็นนายกรัฐมนตรี

แต่มีการเขียนในบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ ให้ สมาชิกวุฒิสภาอีก 250 เสียง ร่วมเลือกนายกฯ จากชื่อที่พรรคการเมืองเสนอด้วย

ดังนั้น ใครจะเป็นนายกฯ จึงต้องได้เสียงสนับสนุนอย่างน้อย 376 เสียงจาก จำนวนเต็ม 750 เสียงของสองสภา (ส.ส.500+ส.ว.250)

คิดเล่นๆ ว่าถ้า ส.ว.รวมใจเป็นหนึ่งโหวตให้ใครทั้ง 250 เสียง คนนั้นก็ต้องการเสียงจาก ส.ส.แค่ 126 เสียง จาก 500 เสียง ก็เพียงพอเป็นนายกฯ

หากการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามชื่อที่แต่ละพรรคเสนอมาไม่สำเร็จ รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้เสนอขอลงมติว่าจะยอมให้เสนอชื่อคนนอกได้หรือไม่ โดยใช้เสียงเสนอเกินกึ่งหนึ่ง คือ 376 เสียง จาก 750 เสียง

สมมติฐานเดิม หาก 250 เสียง ส.ว. เป็นปึกแผ่น ต้องการเสียง ส.ส.อีก 126 เสียง

ส่วนการรับรองข้อเสนอให้เปิดให้คนนอก ต้องได้เสียง 2 ใน 3 ของสองสภารวมกันขึ้นไป เท่ากับ 501 เสียงจาก 750 เสียง หากรวมเสียง ส.ว.250 คนได้หมด ต้องล่ารายชื่อ ส.ส.ให้ได้อีก 251 คน

ถ้าผ่านได้จะกลับไปใช้เสียงแค่เกินกึ่งหนึ่งของ 2 สภารวมกัน คือ 376 เสียง จาก 750 เสียง ในการรับรองชื่อนายกฯ คนนอกคนนั้น

นอกจากการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้วุฒิสภามีอํานาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศต่อรัฐบาล และกำหนดให้รัฐบาล
ต้องแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาทราบทุกสามเดือน เท่ากับว่า มีบทบาทในการควมคุมรัฐบาลทางอ้อมด้วย

การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลายพรรคประกาศว่า ถ้าได้รับเลือกตั้งจะดำเนินการแก้ แต่เอาเข้าจริงคงไม่ง่าย เพราะถูกวางกลไกไว้ว่าต้องมีสมาชิกวุฒิสภา (ที่ คสช.เลือกในขั้นตอนสุดท้าย) เห็นชอบด้วย

ขั้นตอนเริ่มต้น ใช้เสียง ส.ส. 100 เสียง หรือ ส.ส.รวมกับ ส.ว. 150 เสียง
แต่แค่วาระที่หนึ่งรับหลักการ ก็ต้องใช้เสียง ส.ว.มาร่วมด้วย โดยต้องได้เสียงรวมมากกว่า 375 จากจำนวนเต็ม 2 สภา 750 เสียง (มีเงื่อนไขพ่วงด้วยว่า ใน 375 เสียงขึ้นไปต้องมี ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ ส.ว.ทั้งหมด 250 คน คือ 84 คน) ดังนั้นต่อให้ ส.ส.ทั้งสภาเห็นด้วยแต่ ส.ว.ไม่เอาด้วยก็แก้ไม่ได้

ถ้าผ่านวาระสอง ไปจนถึงวาระ 3 คือ ชี้ว่าจะผ่านไม่ผ่าน ยังต้องใช้เสียงจากสองสภารวมกันมากกว่า 375 เสียง โดยเสียง ส.ส. ไม่น้อยกว่า 100 คน โดยคนที่โหวตต้องเป็น ส.ส.เพียวๆ ไม่ดำรงตำแหน่งอื่นเช่น รัฐมนตรี และยังคงเงื่อนไขมี ส.ว.ไม่น้อยกว่า 84 เสียงร่วมด้วย

สรุปง่ายๆ ว่า ถ้า ส.ว. (ที่ คสช.เลือกในขั้นตอนสุดท้าย) ไม่เอาด้วย ก็ปิดประตูแก้รัฐธรรมนูญ

สมาชิกวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 หรือ มากกว่า 25 คน สามารถเข้าชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หากเห็นว่าการเสนอ การแปรญัตติ ที่เกี่ยวกับการกับการใช้เงินงบประมาณของ ส.ส.หรือคณะรัฐมนตรี ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการกระทำที่ฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ ส.ส. หรือคณะรัฐมนตรีที่เสนอต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง

อำนาจมากมายของ ส.ว. ที่หลายคนอยากเป็นโดยไม่ได้เป็นคนเด่น-คนดัง ต้องลุ้นกันว่า ท้ายที่สุด 50 รายชื่อ ส.ว. ที่ผ่านมาคัดเลือกจาก คสช. จะมีใครกันบ้าง

แล้วไปรวมกับ 194 คน ที่เลือกโดยกรรมการที่ คสช.ตั้ง และอีก 6 คนที่เป็นโดยตำแหน่ง คือ กลุ่มปลัดกลาโหมและผู้บัญชาการเหล่าทัพ รวมครบ 250 คน หรือ 250 เสียงสำคัญของสภาฯ นั่นเอง

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ workpointnews.com

Facebook / facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / instagram.com/workpointnews/

Twitter / twitter.com/WorkpointShorts

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า