คุณมีเพื่อนที่ชอบแชร์แต่คำคมหรือเปล่า งานวิจัยจากแคนาดาบอกว่ายิ่งกระบวนการคิดต่ำยิ่งส่งผลให้ประทับใจคำคมพื้นๆที่จริงๆไม่มีสาระได้ง่าย
ในงานวิจัยชื่อ “On the reception and detection of pseudo-profound bullshit (การรับรู้และตรวจจับเรื่องงี่เง่าที่ดูเหมือนลึกซึ้ง)” ของคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ Sebpearce.com ที่สุ่มเอาข้อความสั้น ๆ ที่เหมือนมีความหมายลึกซึ้งมาเผยแพร่
ตัวอย่างคำคมในเว็บไซต์เช่น “ถ้าไม่มีบ่อน้ำอันงดงามแห่งความศรัทธาของการรับรู้ตัวเอง ชีวิตนี้ก็ไร้ความหมาย” หรือ “วันนี้วิทยาศาสตร์บอกเราว่าแก่นของธรรมชาติคือเส้นนำทาง”
กอร์ดอน เพนนีคุก หนึ่งในนักวิจัยบอกว่าเขาพบเว็บไซต์นี้โดยบังเอิญ จึงคิดว่าน่าจะทำวิจัยเรื่องนี้เพราะตนเอยากรู้ว่าคนคิดจริง ๆ หรือเปล่าว่าข้อความพวกนี้ลึกซึ้งจริง ๆ
“ผมเห็นคำคมพวกนี้ในหน้าฟีตของตัวเองบ่อย ๆ โดยเฉพาะคำคมให้กำลังใจ จะมีคำคมคู่กับภาพของคนที่ไม่เกี่ยวอะไรกัน”
งานวิจัยนี้เก็บตัวอย่างจากประชากร 300 คน โดยให้ดูข้อความต่าง ๆ รวมถึงข้อความที่ไร้ความหมาย และให้ประเมินความ “ลึก” โดยให้คะแนนจาก 1 ถึง 5 ว่าตื้น ลึก หรือธรรมดา หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดต้องทำแบบทดสอบเพื่อประเมินความสามารถด้านกระบวนการคิดและบุคลิกภาพ
ตัวอย่างข้อความไร้ความหมายในการวิจัย เช่น “ความหมายที่ซ่อนไว้จะเป็นตัวเปลี่ยนแปลงความงามนามธรรมที่ไม่สมดุล”
พบว่าคนที่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าข้อความไหนคือข้อความตื้น ๆ แล้วคิดว่าข้อความนั้นลึกซึ้งจริง ๆ มักได้คะแนนความสามารถด้านกระบวนการคิดต่ำไปด้วย โดยขาดทักษะการคิดทบทวนและมักจะมีความเชื่อในเรื่องลี้ลับไปด้วย
.
อ่านงานวิจัยเต็ม ๆ ได้ที่ http://journal.sjdm.org/15/15923a/jdm15923a.pdf