SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดสถิติโรคหืดเสียชีวิตปีละสองพันคน เข้าฉุกเฉินปีละล้านครั้ง แพทย์ฯ ชี้ “โรคหืดไม่จำเป็นต้องหอบ” พร้อมแนะคนไข้หืดวิธีดูแลตัวเองด้วยหลัก 4Es หวั่นหอบหืดเฉียบพลันอันตรายถึงชีวิต

ศ.นพ. สมเกียรติ วงษ์ทิม ประธานสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย (Thai Asthma Council, TAC) กล่าวในงานประชุมวิชาการประจำปี 2561 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิดการจัดงาน “โรคหืดในทศวรรษใหม่” เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันพบโรคหืดในคนไทยมากถึงร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ และจากข้อมูลของสำนักโรคไม่ติดต่อ พบว่า ผู้ป่วยโรคหืดมีแนวโน้มเสียชีวิตมากกว่า 2,000 รายต่อปี

ศ.นพ. สุชัย เจริญรัตนกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคหืดยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วย จึงเป็นการควบคุมอาการให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติ ขณะที่การรักษาโรคหืดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก เนื่องจากเรามีองค์ความรู้และยาที่พัฒนามากขึ้น ด้วยความร่วมมือกันของ 6 สมาคมวิชาชีพ ได้แก่ สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย, สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, สมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย, สมาคมแพทย์โรคจมูก(ไทย) และราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย จึงมีการจัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดฉบับใหม่ “Thai Asthma Guideline for Adults 2019” เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยอย่างง่าย กะทัดรัด ซึ่งจะช่วยให้คนไข้โรคหืดเข้าถึงการรักษาในระดับสากลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

รศ.นพ. วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic Network) กล่าวว่า การรักษาในปัจจุบันมีส่วนช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องมานอนที่โรงพยาบาล แต่หากพิจารณาภาพรวมของคนไข้โรคหืดในประเทศไทย กลับพบว่า ยังมีคนไข้ที่เสียชีวิตจากโรคหืดอยู่มาก โรคนี้พรากชีวิตคนไข้ไปทุกวัน นั่นเป็นเพราะสัดส่วนของคนไข้โรคหืดทั้งประเทศที่เข้าถึงการรักษาที่ได้มาตฐานมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น จึงเป็นความท้าทายของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์จะทำอย่างไรให้คนไข้ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงบริการที่ได้มาตรฐานการรักษาและการใช้ยาให้ถูกต้องและถูกวิธี โดยเป้าหมายสำคัญคือ “Asthma Admission rate near zero หรือ ทำให้คนไข้โรคหืดมีอัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเข้าใกล้ศูนย์

นอกจากนี้ ในงานประชุมวิชาการยังมีการส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขที่ทำคลินิกได้มาตรฐานแล้ว สามารถขยายรูปแบบและแนวทางการรักษาแบบเดียวกันไปสู่คลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Custer) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ส่งเสริมให้สถานบริการด้านสาธารณสุขหรือสมาชิกเครือข่ายที่ทำคลินิกได้มาตรฐานขยายรูปแบบและแนวทางการรักษาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาใกล้บ้านมากยิ่งขึ้นจากเครือข่ายกว่า 1,400 แห่งทั่วประเทศ

ศ.พญ. อรพรรณ โพชนุกูล นายกผู้รั้งสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาล ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า การดูแลรักษาคนไข้โรคหืด ต้องดูแลแบบองค์รวม ทั้งการรักษาใช้ยาและไม่ใช้ยา จากการศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสม ปัจจุบันจึงประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4Es ที่คิดค้นขึ้นมาเอง นั่นคือการให้คนไข้หันมาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ (Exercise) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (Eating) อีกส่วนสำคัญคือ สิ่งแวดล้อม (Environment) คนไข้โรคหืด จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ และที่สำคัญที่สุดคือ อารมณ์ความรู้สึก (Emotion) ในภาวะที่คนไข้เครียด ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวนจะทำให้โรคกำเริบขึ้นมาได้ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีง่ายที่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว เพจเฟซบุ๊ก “Asthma Talk by Dr.Ann” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ การจัดการโรคภูมิแพ้และโรคร่วมอื่นๆที่ส่งผลให้โรคหืดอาการแย่ลง

ผศ.นพ. ธีระศักดิ์ แก้วอัมตวงศ์ เลขาธิการสมาคมสภาองค์กรโรคหืดฯ กล่าวว่า การ ประชุมครั้งนี้ยังได้แถลงโครงการร่วมระหว่างสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ และสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ริเริ่มโครงการ Severe Asthma Registry Program Thailand หรือ SARP-T ซึ่งเป็นการสร้างฐานข้อมูลของคนไข้โรคหืดรุนแรงในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ โดยการลงทะเบียนผู้ป่วยโรคหืดขั้นรุนแรงในรูปแบบสหสถาบันในประเทศไทย ประกอบไปด้วย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาล สงขลานครินทร์ โดยตั้งกลุ่ม airway disease assembly เป็นกลุ่มทางวิชาการและการวิจัย โดยแพทย์และนักวิชาการที่มีความสนใจด้านโรคหลอดลม มีพันธกิจในการจัดมาตรฐานแนวทาง การวินิจฉัย การรักษา และจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคหืดรุนแรงในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาลักษณะทางคลินิก การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การสืบค้นหาดัชนีชี้วัดทางชีวภาพที่เหมาะสมในการแยกชนิดของโรคหืดชนิดรุนแรง เพื่อให้เห็นถึงอุบัติการณ์ ความชุก และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหืดระดับรุนแรง โดยจะนำไปใช้ทำนายการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่จำเพาะสำหรับโรคหืดขั้นรุนแรง ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืด และนำไปสู่การแนวทางการวินิจฉัยและรักษา โรคหืดขั้นรุนแรง (Thai severe asthma guideline) อันจะเป็นประโยชน์กับบุคลากรการแพทย์ในการนำไปใช้รักษาคนไข้ในพื้นที่บริการได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า