SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก @CannabisCulture

กระทรวงพาณิชย์ตั้งกรรมการตรวจสอบคำร้องขอจดสิทธิบัตรกัญชา หลังบริษัทต่างชาติยื่นคำขอจดสิทธิบัตรกัญชาแล้ว 9 คำขอ ทำให้เกิดข้อกังวลจากหลายฝ่าย จึงต้องเชิญเรียกอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามาชี้แจง

วันที่ 16 พ.ย.2561 นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยวานนี้ว่า สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคำร้องขอจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับกัญชาทั้งหมดให้ทราบผลภายในสัปดาห์หน้า ส่วนกรณีการยกเลิกคำขอจดสิทธิบัตรเป็นเรื่องทำได้ยาก เนื่องจากยื่นคำขอตั้งแต่ปี 2553 รวมถึงสั่งการให้ฝ่ายกฎหมายเข้ามาตรวจสอบเชิงลึก เช่นเดียวกับ สนช.ได้เชิญอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้ชี้แจงในวันที่ 20 พ.ย.นี้ ก่อนจะบรรจุร่างแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดเข้าสู่การประชุม สนช. และมีการตั้งข้อสังเกตการทำหน้าที่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ล่าช้าปล่อยให้เรื่องยืดเยื้อนาน 10 ปี

นายสมชาย แสวงการ ในฐานะเลขานุการวิป สนช.กล่าวว่า โดยส่วนตัวให้สั่งเพิกถอนคำขอรับฯ ทั้งหมดทันที เพราะกัญชายังเป็นยาเสพติด ขณะที่จะไม่ปิดกั้นให้ต่างชาติมายื่นขอจดสิทธิบัตร แต่ควรรอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ก่อน

ภาพจาก @CannabisCulture

ขณะที่ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรรมการพิจารณาการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าเมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาปล่อยให้บริษัทต่างชาติยื่นคำขอจดสิทธิบัตรกัญชาแล้ว 9 คำขอ และได้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้กรมฯ จะอ้างว่ายังไม่ได้ออกเลขสิทธิบัตรให้ แต่ในทางกฎหมายก็ถือว่า คำขอได้รับการคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่ยื่นแล้ว และต่อมากรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงว่า การยื่นคำขอรับสิทธิบัตร เป็นสิทธิที่ผู้ประดิษฐ์จะพึงดำเนินการได้ตามกฎหมายสิทธิบัตร หากคำขอสิทธิบัตรมีเอกสารครบถ้วนถูกต้อง เจ้าหน้าที่ก็จะต้องรับคำขอไว้ส่งให้ผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรพิจารณาต่อไป พร้อมทั้งอธิบายว่า สารสกัดจากกัญชาจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร จะไม่มีใครเป็นเจ้าของสิทธิในสารสกัดจากกัญชาตามธรรมชาติ ทุกคนมีสิทธิที่จะวิจัยและนำมาใช้ประโยชน์

ภาพจาก @CannabisCulture

ด้านภาคประชาชนที่ติดตามเรื่องการเข้าถึงยา ทั้งมูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์ และนักวิชาการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการเข้าถึงยา แถลงเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาสามารถยกคำขอได้ก่อน เมื่อตรวจพบคำขอที่ขัดต่อพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 9 ที่ระบุว่า การประดิษฐ์ต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองทางสิทธิบัตร (1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช”และ (4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ กรณีของกัญชาจึงห้ามข้อจดสิทธิบัตร

การยื่นขอจดสิทธิบัตรส่งผลกระทบต่อประชาชน สถาบันวิจัย รวมทั้งองค์การเภสัชกรรมที่มีงานวิจัยและเตรียมขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกัญชา เนื่องจากกฎหมายระบุว่าการคุ้มครองสิทธิบัตรเกิดขี้นนับตั้งแต่วันยื่นขอจดสิทธิบัตร ระหว่างรอผลการพิจารณา ซึ่งใช้เวลาอย่างน้อย 7-8 ปี ผู้อื่นไม่สามารถขอจดทะเบียนซ้ำได้ จากประสบการณ์ทำงานพบว่าในกรณีของสิทธิบัตรยาที่ผ่านมา บริษัทมักใช้วิธีขู่ว่าจะดำเนินคดี

https://www.facebook.com/thiravat.h/posts/2254192474614294

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า