SHARE

คัดลอกแล้ว

ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ ผ่านความเห็นชอบจากสนช.แล้ว เตรียมประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยยังคงแบ่งที่ดินเป็น 4 ประเภทและกำหนดอัตราภาษีที่ต้องจ่ายอย่างชัดเจน

วันที่ 16 พ.ย. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กรรมาธิการวิสามัญแก้ไข หลังจากเมื่อวานนี้มีการพิจารณารายมาตรา โดยเนื้อหายังคงประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ แต่ลดอัตราการเสียภาษีลง ได้แก่ 1.ที่ดินเพื่อการเกษตร, 2.ที่ดินที่อยู่อาศัย, 3.ที่ดินเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม และ4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

โดยในร่างกฎหมายฉบับใหม่ ได้กำหนดอัตราไว้ชัดเจนและสามารถนำเงินภาษีดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยตรง โดยไม่ต้องนำเงินส่งคลัง จะมี่ผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ วันที่ 1 มกราคม ปี 2563 ทั้งนี้ จากการลงมติรายมาตราไม่มีการแก้ไขจากร่างเดิมของกรรมาธิการฯ จากนั้นลงมติวาระ 3 เสียงเป็นเอกฉันท์ 169 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 2 เสียง จากจำนวนผู้เข้าประชุม 171 คน เตรียมส่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการเพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ คือ

  1. ที่ดินเพื่อการเกษตร หากมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาท ต่อ 100 บาท ยกเว้น 3 ปีแรกไม่ต้องเสียภาษี แต่ นิติบุคคลรายใหญ่ เริ่มจัดเก็บทันที และที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
  2. ส่วนที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 1 ล้านบาทต่อ 200 บาท โดยบ้านหลังที่ 2 ขึ้นไป ทุกๆ 1 ล้านบาท เสียภาษี 200 บาท ห้องเช่า / บ้านเช่า เจ้าของที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบ / ตามสัญญาที่ตกลง
  3. ที่ดินเพื่อการพาณิชย์-อุตสาหกรรม จัดเก็บอัตราขั้นบันได สูงสุดไม่เกิน 0.7 % ของราคาประเมิน แต่โรงพยาบาล, สนามกีฬา ,สนามกอล์ฟ,สถานศึกษาเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 90% ของราคาประเมิน
  4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เก็บในอัตราตั้งแต่ 0.3 – 3% ของราคาประเมิน และทุก 3 ปี ต้องเสียเพิ่ม 0.2 – 0.3 % ต่อเนื่อง ไม่เกิน 27 ปี หรือจนกว่าจะมีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน

ด้าน นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขอบคุณสมาชิก สนช. ที่ผ่านความเห็นชอบร่างฎหมายฉบับนี้ ซึ่งจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ โครงสร้างระบบภาษีทรัพย์สินจะสอดคล้องกับสากล สามารถอุดช่องว่างช่องโหว่ภาษีเดิม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ท้องถิ่นมีเงินไปใช้พัฒนาพื้นที่ และสร้างธรรมาภิบาลการมีส่วนร่วมในพื้นที่

ข่าวย้อนหลัง

สนช.ลงมติร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินใหม่ 16 พ.ย. เตรียมถกประเด็นค่าปรับ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า