SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลปกครองสูงสุด พิพากษายืนเพิกถอนคำสั่ง กทม. คดีซื้อรถ-เรือดับเพลิง ให้วัฒนา ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายเพราะไม่เกี่ยวข้องโดยตรง

วันที่ 22 พ.ย.2561 วานนี้ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนคำสั่ง กทม. ที่ให้นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชดใช้เงินจำนวน 1,296,794,910.27 บาท ให้กับ กทม. กรณีเกิดความเสียหายการทุจริตการซื้ออุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย จากบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จํากัด ประเทศออสเตรีย เมื่อปี 2547 แม้ในขั้นตอนการทำการค้าต่างตอบแทน นายวัฒนา รมว.พาณิชย์ในขณะนั้น จะเข้าร่วมประชุม ครม. เมื่อวันที่  22 มิ.ย. 2547 และ ครม.มีมติรับหลักการโครงการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง อุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยตามที่ กทม.เสมอ โดยมีเงื่อนไขทำการค้าต่างตอบแทน ร้อยละ 100 โดยมอบให้ให้กระทรวงพาณิชย์ไปดำเนินการ ซึ่งนายวัฒนารับที่จะไปดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเรื่องการค้าต่างตอบแทน

นายวัฒนา รมว.พาณิชย์ในขณะนั้น มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ไม่ได้มีหน้าที่ทำการค้าต่างตอบแทนเอง จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหาย ที่เกิดจากการทำการค้าต่างตอบแทนดังกล่าว นอกจากนี้  ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่า การกำหนดให้สินค้าในการทำการค้าต่างตอบแทนเป็นไก่ต้มสุก ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2547 เป็นผลมาจากการผลักดันของนายวัฒนา จึงไม่อาจฟังได้ว่า นายวัฒนามีส่วนต้องรับผิดชอบในการกำหนดสินค้าส่งออกเป็นไก่ต้มสุก ส่วนที่อ้างว่า นายวัฒนาตอบข้อหารือของนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในขณะนั้น  ว่า แม้ กทม.ได้ดำเนินการซื้อขายรถดับเพลิงกับผู้ขาย ก่อนการทำการค้าต่างตอบแทนแล้ว  แต่เมื่อกรมการค้าต่างประเทศได้ทำการค้าต่างตอบแทนกับบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค สเปเชียล ฟาห์รซอยก์ จํากัด ผู้ขายสินค้ากับ กทม. ก็ให้ กทม.ทำสัญญาจัดซื้อรถดับเพลิง เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการทำสัญญาต่างตอบแทนนั้น

ศาลปกครองสูงสุด เห็นว่า นายวัฒนาตอบข้อหารือไปยังนายโภคิน หลังจากการที่ กทม.ได้ทำสัญญาจัดซื้อรถดับเพลิงไปแล้ว และหลังจากที่ กรมการค้าต่างประเทศได้ทำสัญญาการค้าตอบแทนไปแล้วเช่นกัน การตอบข้อหารือดังกล่าวของวัฒนา จึงไม่ได้การกระทำที่เป็นเหตุให้ กทม.ต้องซื้อรถ-เรือดับเพลิงแพงกว่าปกติ  ส่วนที่อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศในขณะนั้น ลงนามในสัญญาการค้าต่างตอบแทน โดยไม่ได้กำหนดว่า ห้ามส่งออกไก่ต้มสุกไปยังประเทศญี่ปุ่น เห็นว่า การทำการค้าต่างตอบแทน เป็นอำนาจของอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายวัฒนา  สอดคล้องกับที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำวินิจฉัยคดีที่นายวัฒนา เป็นจำเลยที่ 3 ว่า พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น กรณีนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่า การกระทำของนายวัฒนา เป็นการกระทำจงใจ หรือประมาทเลินเล่นอย่างร้ายแรง จนทำให้ กทม. เกิดความเสียหาย

ดังนั้น นายวัฒนาไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมให้กับ กทม. ตาม มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ประกอบ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง ตาม พ.ร.บ.การรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า