Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ป.ป.ช.ชี้แจงผลทางกฎหมาย หลังแก้กฎหมายยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน ให้กรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่อยู่ในนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง” ไม่ต้องแสดงบัญชี 

วันที่ 12 ธ.ค. 2561 นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการประกาศขยายเวลาการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 สำหรับผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินบางตำแหน่งออกไป โดยให้บังคับใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2561 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยมีสาระสำคัญ 2 ประการ ดังนี้

1. แก้ไขนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง” ตามมาตรา 4 ในส่วนกรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยแก้ไขตัดคำว่า “กรรมการ” และเพิ่มเติมข้อความเป็น “ผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด” อันมีผลทางกฎหมาย ดังนี้

1.1 กรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐ ไม่อยู่ในนิยามคำว่า “ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง” ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนี้ จึงส่งผลให้ตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 เป็นผู้ไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป บุคคลดังกล่าวคือบุคคลตามข้อ 4 (7) 7.8 อันได้แก่ 7.8.1 กองทุน 7.8.2 ธนาคารแห่งประเทศไทย 7.8.3 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 7.8.4 สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 7.8.5 สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 7.8.6 สถาบันพระปกเกล้า 7.8.7 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ 7.8.8 องค์การมหาชน

1.2 คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจในการกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่น ของรัฐ ให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงได้ โดยสามารถพิจารณากำหนดเฉพาะบางตำแหน่งที่มีความสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากบทนิยามเดิมที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่สามารถพิจารณากำหนดบางตำแหน่งได้ จึงต้องประกาศ ทุกตำแหน่ง

2. ยกเลิกข้อ 5 ของประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลให้กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ได้ปรากฎชื่อตำแหน่งในประกาศดังกล่าว ไม่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน จนกว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะประกาศกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมในภายหลัง

ขณะนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. อยู่ระหว่างพิจารณาแก้ไขประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว

สำหรับตำแหน่งกรรมการของหน่วยงานอื่นของรัฐ เช่น กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการขององค์การมหาชน และกรรมการของกองทุนต่างๆ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย เพื่อพิจารณาว่า สมควรกำหนดให้เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือไม่ ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 หรือมาตรา 103 จะมีผล ทางกฎหมายที่แตกต่างกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ กรณีเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 (1) เฉพาะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา รวมถึงผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีตามมาตรา 102 (2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3) ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ (7) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และ (9) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด เป็นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องเปิดเผยให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปตามมาตรา 106 แต่หากเป็นผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 103 ไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 106

อ่าน ชี้แจงกรณีคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2561 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า