SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – อธิบดีปภ. เตือน 6 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ริมแม่น้ำป่าสัก ระวังผลกระทบหลังกรมชลประทาน เพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาอีก 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

วันนี้ (24 ต.ค. 60)  นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สั่งเจ้าหน้าที่ ปภ. เร่งประสาน 6 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และ นนทบุรี เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจากการเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาของกรมชลประทาน จาก 2,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็น 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยอาจทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำริ่มฝั่งแม่น้ำ และ พื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังขยายวงกว้างมากขึ้น โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมชุดปฏิบัติการให้แก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ขณะที่เว็บไซต์ศูนย์นิรภัย  www.nirapai.com สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น การระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา และ เขื่อนอุบลรัตน์ ตั้งแต่ 10 – 24 ต.ค. ในพื้นที่ 21 จังหวัด ขณะนี้คลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด คือ จ.กำแพงเพชร และ เลย คงเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย 19 จังหวัด ได้แก่

  1. ตาก
  2. สุโขทัย
  3. พิจิตร
  4. นครสวรรค์
  5. อุทัยธานี
  6. สิงห์บุรี
  7. ลพบุรี
  8. อ่างทอง
  9. พระนครศรีอยุธยา
  10. ปทุมธานี
  11. ชัยนาท
  12. เพชรบูรณ์
  13. สุพรรณบุรี
  14. หนองบัวลำภู
  15. ขอนแก่น
  16. มหาสารคาม
  17. กาฬสินธุ์
  18. ร้อยเอ็ด
  19. อุบลราชธานี

รวมจำนวน 66 อำเภอ 416 ตำบล 2,404 หมู่บ้าน 114,288 ครัวเรือน และ 293,131 คน โดยที่ จ.มหาสารคาม ต้องอพยพประชาชน 20 ครัวเรือน

ผู้สื่อรายงานข่าวว่า จากตรวจสอบสถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท พบปริมาณน้ำจากภาคเหนือไหล เข้าเขื่อนมีปริมาณสูงวัดได้ 3,044 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนพื้นที่ อ.เมือง อ.วัดสิงห์ และ อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เพิ่มขึ้นอีก 7 เซนติเมตร วัดได้ 17.47เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง หลายจุดใกล้ที่จะล้นตลิ่งเข้าท่วมชุมชน ทั้งนี้จ.ชัยนาท มีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำท่วมแล้ว กว่า 2,800 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องขนของอพยพขึ้นมาอาศัยกิน-นอนอยู่บนถนนกว่า 700 ครัวเรือน มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายกว่า 16,000 ไร่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า