SHARE

คัดลอกแล้ว

บรรยากาศที่ชายหาดแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช ที่เคยประสบวาตภัยครั้งรุนแรงจากพายุแฮเรียต เมื่อปี พ.ศ. 2505 และคาดว่า จะเป็นพื้นที่ที่ “พายุปาบึก” จะขึ้นฝั่งในวันที่ 4 ม.ค. ร้านอาหารบริเวณชายหาดปิด

วันที่ 3 ม.ค. 2562 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบ บริเวณชายหาดแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงจะได้รับผลกระทบจาก “พายุโซนร้อนปาบึก” พบว่า เจ้าของร้านอาหารบริเวณชายหาดปิดร้านหนีพายุ พร้อมอพยพออกจากพื้นที่เข้าไปอยู่ในตัวเมือง อ.ปากพนังเพื่อความปลอดภัย ทำให้บรรยากาศที่หาดแหลมตะลุมพุกตั้งแต่เช้าวันนี้เงียบเหงา ไม่มีทั้งคนและสัตว์เลี้ยง

ในทะเลบริเวณแหลมตะลุมพุกมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร คลื่นค่อนข้างแรงและซัดเข้าหาฝั่งต่อเนื่อง ประกอบกับระดับน้ำทะเลเริ่มหนุนสูงซัดซายฝั่งเหลือประมาณ 4-5 เมตร ท้องฟ้าค่อนข้างมืด ฝนตกลงมาเล็กน้อย สลับกับลมกระโชกเล็กน้อยถึงปานกลาง

(หมู่บ้านแหลมตะลุมพุก)

ขณะที่ สำรวจบ้านเรือนของประชาชน หมู่บ้านแหลมตะลุมพุก ซึ่งอยู่ห่างจากชายหาดประมาณ 500 เมตร พบว่า ชาวบ้านยังคงใช้ชีวิตปกติ จากการสอบถามทราบว่า ชาวบ้านจะรอดูสถานการณ์จากทางราชการก่อนว่า หากสถานการณ์รุนแรง จะมีการอพยพกันทั้งหมู่บ้าน อย่างไรก็ตามตั้งแต่วันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมาได้มีการอพยพคนแก่ ผู้ป่วยติดเตียง รวมทั้งเด็กเล็กไปอาศัยที่บ้านญาติในตัว อ.ปากพนังเรียบร้อยแล้ว

มีรายงานว่า แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดของพายุโซนร้อนปาบึกว่า เวลานี้แนวเมฆส่วนหน้าของพายุเข้าสู่พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ และ จ.สงขลาแล้ว จากเดิมที่คาดว่า พายุจะขึ้นฝั่งที่จ.ชุมพรนั้น คาดการณ์ล่าสุดพบว่า น่าจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งที่บริเวณแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช แล้วผ่านไปสุราษฎร์ธานี ออกฝั่งอันดามัน จ.ระนอง

ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นสากล (JTWC) ระบุว่า พายุจะมีกำลังเร็วลมก่อนขึ้นฝั่งในช่วงค่ำวันที่ 4 ม.ค.ที่บริเวณแหลมตะลุมพุก โดยความเร็วลมหมุนรอบตัวอยู่ที่ 50 นอต หรือประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และอาจจะมีลมกระโชกแรงขึ้นมาเป็นระยะ ความเร็วลมกระโชกสูงสุดอยู่ที่ 65 นอต หรือ 120 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง จากนั้นจะเคลื่อนตัวไปฝั่งอันดามัน ในวันที่ 5 ม.ค. อย่างไรก็ตาม ยังคงทำให้มีลมและฝนตกหนักในพื้นที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร ช่วงวันที่ 4-6 ม.ค.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า