Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้พายุปาบึกจะพัดผ่านประเทศไทยไปแล้ว แต่ผลกระทบที่ตามมาหลักหนาสาหัสเอาการ ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้บางครอบครัวแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ภาครัฐและเอกชนต่างระดมความช่วยเหลือเพื่อเยียสยาผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน ล่าสุดสถาบันการเงินต่างๆ พากันออกมาตรการพิเศษช่วยผู้ประสบภัยครั้งนี้

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศ 6 มาตรการ พร้อมเตรียมวงเงิน 1,000 ล้านบาท จัดทำ “โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2562” ประกอบด้วย
1. กรณีลูกค้าเดิมที่หลักประกันเสียหาย ลดภาระดอกเบี้ยเหลือ 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรก
2. กรณีลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเดิมที่หลักประกันเสียหาย ให้กู้เพิ่ม หรือกู้ใหม่ ดอกเบี้ยพิเศษ 3.00% ต่อปี นาน 3 ปี
3. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย และกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ สามารถขอประนอมหนี้ ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน คิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรก ไม่ต้องชำระเงินงวด
4. กรณีได้รับผลกระทบด้านรายได้ ให้ประนอมหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี
5. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี และ
6. กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลังและไม่สามารถซ่อมแซมได้ให้ปลอดหนี้

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) กำหนดแนวทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้านภาระหนี้สินที่มีอยู่กับ ธ.ก.ส. กรณีที่เกษตรกรได้รับความเสียหายด้านการผลิตและส่งผลกระทบต่อรายได้ ธ.ก.ส.จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความหนักเบาของผู้ประสบภัยทุกราย และพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและฟื้นฟูการประกอบอาชีพเป็นกรณีพิเศษต่อไป

ธนาคารออมสิน กำหนดมาตรการบรรเทาช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อทุกประเภทโดยพื้นที่ใดที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยและเป็นบุคคลที่มีที่พักอาศัยหรือสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบเสียหาย ส่งผลให้รายได้ลดลง ตลอดจนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สามารถพักชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยได้เป็นระยะเวลา 3 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้พักชำระเงินต้นได้อีก 2-3 ปี โดยในระหว่างพักชำระเงินต้น ให้ชำระเฉพาะส่วนที่เป็นดอกบี้ยรายเดือน 50-100% ของดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น โดยเงื่อนไขการพักชำระหนี้หรือการผ่อนชำระหนี้ดังกล่าว จะพิจารณาตามความรุนแรงหรือผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กำหนดมาตรการผ่อนผันผู้กู้ยืมที่ประสบอุทกภัยสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด โดยผู้กู้ยืมที่ต้องการขอผ่อนผันชำระหนี้จะต้องไม่มียอดหนี้ค้างชำระ โดยดาว์นโหลดแบบ กยศ. 202/58 และ กยศ.203/58 นำไป ยื่นที่ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือสำนักงานกองทุน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ แต่ละงวด (5 ก.ค.ของทุกปี)

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) ออก 2 มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือลูกค้าธนาคารที่จะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ ได้แก่ 1.มาตรการพักชำระหนี้ สำหรับเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term loan) พักชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ส่วนสัญญาเบิกเงินทุนหมุนเวียนประเภทตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note : P/N) ออกมาตรการช่วยเหลือพักชำระดอกเบี้ยเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน และ 2.มาตรการ วงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้ลูกค้าธนาคารที่ได้รับความเสียหายมีเงินทุนไปฟื้นฟูและหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งมีระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย 0.415% ต่อเดือน ตลอดอายุสัญญา

ส่วนวงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายรายละเอียดคือ ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท, ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท, ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติมากกว่า 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ทั้งนี้ รวมวงเงินเดิมแล้วไม่เกิน 15 ล้านบาท

ส่วนหลักประกันให้พิจารณาหลักประกันเดิมก่อน และสามารถใช้หลักประกัน บสย. ค้ำประกัน เฉพาะมาตรการที่เพิ่มไม่เกิน 2 ล้านบาท

สำหรับเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนเพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจหลังภัยพิบัติผ่านไปแล้วธนาคารได้เตรียมสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษไว้รองรับ สำหรับใช้ลงทุน ขยาย ปรับปรุงกิจการ และหมุนเวียน เช่น สินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ครอบคลุมสนับสนุนกลุ่มเกษตรแปรรูป ธุรกิจท่องเที่ยว/ท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการใหม่ มีนวัตกรรม กลุ่มค้าส่งค้าปลีก ร้านโชห่วย ร้านค้าชุมชน ร้านธงฟ้า ผู้ประกอบการค้าสินค้าเกษตร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น คิดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ บุคคลธรรมดาปีที่ 1-3 เพียง 0.42% ต่อเดือน และนิติบุคคล จะมีอัตราดอกเบี้ยถูกลงไปอีก ปีที่ 1-3 เพียง 0.25% ต่อเดือน

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กำหนดมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติพายุปาบึก บสย.ได้ออกมาตรการฉุกเฉินให้ความช่วยเหลือ 2 มาตรการ ประกอบด้วย ลูกค้า บสย.ปัจจุบันที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่ออายุค้ำประกันสินเชื่อ สามารถขอขยายระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันออกไปได้อีก 6 เดือน จัดทำโครงการค้ำประกันสินเชื่อพิเศษ โครงการค้ำประกันสินเชื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ ฟรีค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสูงสุด 2 ปี ค้ำประกันสูงสุดรายละ 5 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับสินเชื่ออย่างรวดเร็ว โดยร่วมกับธนาคารพันธมิตรที่ร่วมโครงการกับ บสย.

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า