SHARE

คัดลอกแล้ว

สนามเลือกตั้ง กทม.ครั้งนี้แบ่งเป็น 30 เขต ลดลงจากเลือกตั้งปี 2554 ที่มี 33 เขต

หนึ่งในเขตที่น่าจับตามอง คือ เขต 13 บางกะปิ และวังทองหลาง (เฉพาะแขวงพลับพลา) เขตนี้จะเป็นการแข่งขันกัน 2 คนรุ่นใหม่ ของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ ที่ต่างลงสนามเลือกตั้งเป็นครั้งแรกทั้งคู่

 

ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน

 

ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ

ย้อนกลับไป เลือกตั้งปี 2554  ผู้ชนะในเขตบางกะปิ คือ ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน จากพรรคประชาธิปัตย์ 35,980 คะนน ชนะ ภักดีหาญส์ หิมะทองคำ จากเพื่อไทย 32,005 คะแนน

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ ส.ส.เก่า อย่าง ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน ลูกชายของ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงสมัครเขตเพราะป่วยต้องรักษาตัวไม่สามารถลงพื้นที่ได้ จึงขยับไปลงบัญชีรายชื่อแทน ขณะที่คู่แข่งคือ ภักดีหาญส์ ย้ายไปอยู่กับ พรรคชาติไทยพัฒนาแล้ว

เพื่อไทยวางตัว “ปุ๊น” ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส หัวแถวของคนรุ่นใหม่ของพรรค เด็กปั้นของคุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไว้ล่วงหน้าและลงพื้นที่ฝากเนื้อฝากตัวกับคนในพื้นที่มาระยะหนึ่งแล้ว

ส่วนประชาธิปัตย์ เพิ่งจะเคาะส่งหัวแถวคนรุ่นใหม่ของพรรคเช่นกัน คือ “ไอติม” พริษฐ์ วัชรสินธุ หลานชายของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค เพื่อลงป้องกันพื้นที่

 

ข้อมูลของทั้ง 2 คน

ปุ๊น ตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส เกิดวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 (28 ปี) จบปริญญาตรี สาขาธุรกิจดนตรี เอกเปียโนแจ๊ส วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เคยเป็นมือคีย์บอร์ดวง เอพริลฟูลส์เดย์ สังกัดอาร์เอส และเป็นนักแต่งเพลง
ประสบการณ์ตัวแทนผู้นำเยาวชนโลก One Young World Summit 2014 ที่กรุงดับลิน และ One Young World Summit 2015 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ และเป็นอาสาสมัครตำรวจ

ขณะที่ธุรกิจครอบครัวเกือบล้มละลายจากวิกฤติต้มยำกุ้ง และพ่อ-แม่แยกทางกัน แต่ “ตรีรัตน์” ได้สานต่อธุรกิจขายกระดาษถนอมสายตา “เปเปอร์กรีน” ตั้งแต่อายุ 21 ปี และทำธุรกิจอื่นๆ จนมีมูลค่ากว่า 100 ล้าน
จึงมีประสบการณ์ทั้งด้านบริหารธุรกิจและด้านสังคม

 

ไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ  เกิดวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2535 (26 ปี) คุณพ่อและคุณแม่เป็นอาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบการศึกษาภาควิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
เกียรตินิยมอันดับ 1 มีความสนใจการเมืองตั้งแต่อายุ 13 ปี


หลังเรียนจบทำงานที่ต่างประเทศให้กับบริษัทที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์ให้รัฐบาลและบริษัทเอกชนชั้นนำทั่วโลก 2 ปี กลับมาเมืองไทยทำงานพิธีกรรายการโทรทัศน์สะท้อนแง่มุมสังคมและทำงานการเมืองร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์
มีประสบการณ์ทั้งด้านการเมืองและวิชาการ

แม้เลือกตั้งครั้งล่าสุด ประชาธิปัตย์จะชนะ แต่ถ้าย้อนไป เลือกตั้งปี 2550 ยุค บางกะปิ รวมเขตกับ มีนบุรี-สะพานสูง-ลาดกระบัง และมี ส.ส.ได้ 3 คน พรรคพลังประชาชนได้คะแนนอันดับ 1 เขตนี้จาก บรู๊ค ดนุพร ปุณณกันต์ และ คุณหญิงสุดารัตน์ แบ็กอัพคนสำคัญของ ตรีรัตน์ ก็เคยเป็น ส.ส.พื้นที่บางกะปิมาก่อน อย่างไรก็ตามแม้ พริษฐ์ จะถูกวางตัวลงเขตนี้ทีหลัง แต่ช่วงที่ผ่านมาทีมงานของประชาธิปัตย์ยังคงประสานกับคนในพื้นที่ต่อเนื่อง แม้จะว่างเว้นจากการเลือกตั้งไปนาน

สนามนี้จึงกลายเป็นสงครามตัวแทนย่อมๆ และน่าสนใจตรงที่ว่า ก้าวแรกในสนามการเมืองใครจะแจ้งเกิดได้ ใครจะเป็นฝ่ายผิดหวัง ชาวบางกะปิและวังทองหลางจะเป็นผู้ให้คำตอบ ในวันเลือกตั้ง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า