SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงต้นปีเป็นเวลาที่มนุษย์เงินเดือนและบุคคลธรรมดาผู้มีรายได้จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2561 และที่ผ่านมารัฐบาลได้อนุมัติค่าลดหย่อนเพิ่มเติมทั้งจากการช็อปช่วยชาติและการบริจาคต่างๆ ซึ่งกรมสรรพากรได้ออกมาแนะนำว่า ผู้ที่ต้องการบริจาคลดหย่อนภาษี ควรลงทะเบียนระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) กับกรมสรรพากรเท่านั้น จึงจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

วันที่ 11 ม.ค. 2562 นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร อธิบายว่า ผู้บริจาคสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้แก่ศาสนสถาน, โรงพยาบาล, องค์กรสาธารณกุศลอื่นๆ ได้ตามปกติโดยไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนกับกรมสรรพากรเพื่อสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษี แต่การบริจาคผ่านระบบ e-Donation จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริจาค โดยไม่ต้องเก็บเอกสารหลักฐานการบริจาค และสามารถตรวจสอบข้อมูลการบริจาคได้ตลอด 24 ชม. ผ่านทาง www.rd.go.th

กรณีบริจาคให้แก่สถานศึกษา ผู้บริจาคที่ประสงค์จะนำเงินไปหักลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่าจะต้องเป็นการบริจาคผ่านระบบ e – Donation เท่านั้น เริ่มบังคับใช้สำหรับการบริจาคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ส่วนรายการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอื่นๆ เช่น กองทุนต่างๆ LTF/RMF เบี้ยประกันชีวิต ดอกเบี้ยเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ผู้เสียภาษียังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามปกติ ยกเว้นการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ซึ่งผู้เอาประกันสุขภาพต้องยินยอมให้บริษัทประกันส่งข้อมูลค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้กรมสรรพากรในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้

สำหรับมาตรการ ‘ช็อปช่วยชาติ’ กรมสรรพากรชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักฐานที่ใช้ในการหักลดหย่อนสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตร ชุมชน และทุนมนุษย์ สำหรับการซื้อสินค้า OTOP หนังสือ และยางล้อรถ ต้องเป็นการซื้อระหว่างวันที่ 15 ธ.ค. 2561 ถึงวันที่ 16 ม.ค. 2562 จึงจะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท และในกรณีผู้มีเงินได้จ่ายค่าซื้อสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าว 2 ปีภาษี จะได้รับการลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่รวมกัน 2 ปีภาษีแล้ว ต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยสินค้าที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีทั้ง 3 ประเภท มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. สำหรับสินค้า OTOP ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน จะต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าเป็นใบเสร็จรับเงิน (กรณีที่ผู้ขายสินค้าดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (กรณีที่ผู้ขายสินค้าดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)

2. สำหรับหนังสือรวมถึง e-Book แต่ไม่รวมถึงนิตยสารและหนังสือพิมพ์ จะต้องซื้อจากผู้ประกอบการ ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าเป็นใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป แล้วแต่กรณี

3. สำหรับยางล้อรถยนต์ ยางล้อรถจักรยานยนต์ และยางล้อรถจักรยานที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เสียภาษีจะต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและคูปองที่มีตราประทับของร้านค้าโดยคูปอง 1 ใบ ต่อยาง 1 เส้น

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2561 จะใช้โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560 กำหนดอัตราการเสียภาษีแบบขั้นบันได ตั้งแต่ 5-35% สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิที่ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่หากใครมีรายได้ตลอดทั้งปีมากกว่า 310,00 บาท จะต้องเสียภาษีแต่จะเสียภาษีมาก-น้อยแค่ไหนนั้นต้องมาคิดคำนวณจากค่าลดหย่อนที่เรามี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า