SHARE

คัดลอกแล้ว

เรียนรู้บทเรียน 5 ประเทศจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว ที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องเจอมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว

ปัญหามลพิษทางอากาศที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเผชิญกับฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาด 2.5 ไมครอน ซึ่งเป็นฝุ่นขนาดจิ๋วมากๆ เล็กกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมคนเราถึง 25 เท่า ตั้งแต่ปลายปี 2561 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นปี 2562 ขณะนี้กรมควบคุมมลพิษ ขอความร่วมมือประชาชนงดการเผาในที่โล่งทุกประเภท และงดการใช้รถยนต์ควันดำอย่างเด็ดขาด (อ่าน : ตั้งด่านตรวจจับรถยนต์ควันดำ ลดแหล่งกำเนิด PM2.5 )

คุณภาพอากาศที่ไม่ดีเช่นนี้ ใช่ว่าเกิดขึ้นกับประเทศไทยเพียงประเทศเดียว หลายประเทศทั่วโลกเคยเจอปัญหาแบบนี้และบางประเทศหนักกว่าที่เรากำลังเผชิญอยู่ กรีนพีซ ไทยแลนด์  นำข้อมูลเกี่ยวกับวิธีจัดการมลพิษทางอากาศของ 5 ประเทศ ออกมาเปิดเผยให้ชวนหันมองว่า ในต่างประเทศจัดการปัญหามลพิษได้ด้วยความร่วมมือจากประชาชนและนโยบายที่จริงจังของภาครัฐ

1 กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

ปี 2018 อินเดียเจอวิกฤติคุณภาพอากาศอย่างมาก เพราะค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานถึง 2 เท่า จนเกิดแฮชแท็ก #smong เรียกร้องให้ภาครัฐแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง รัฐบาลอินเดียจึงออกนโยบาย “ห้ามรถยนต์” ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่, รถ SUV ที่มีเครื่องยนต์แรงม้ามากกว่า 2000 ซีซี, ให้รถแท็กซี่เครื่องยนต์ดีเซลหลายพันคันหยุดวิ่ง, ทดลองการให้รถยนต์หยุดวิ่งวันคี่หรือวันคู่, กระตุ้นการใช้รถสาธารณะ รถตู้อูเบอร์ให้มากขึ้น แต่ไม่มีมาตรการจัดการทางอากาศกับภาคอุตสาหกรรม ทั้งการเผาทำลายผลผลิตจากเกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าถ่านหิน

(ทางจักรยาน ในกรุงปารีส /ภาพจาก @Meehin)

2 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

นโยบายของประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง สนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น โดยไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัว วิ่งในย่านศูนย์กลางเมืองในช่วงสุดสัปดาห์ ห้ามใช้รถยนต์ในย่านฌ็องเซลิเซ่ 1 ครั้งต่อเดือน อีกทั้งยังสนับสนุนการใช้จักรยาน โดยจัดทำโครงการยืมจักรยาน หรือเรียกกันว่า ธนาคารจักรยาน และมีแนวคิดจะเก็บภาษีน้ำมันในอัตราสูง แต่ก็ทำให้เกิดการประท้วอย่างรุนแรงตามมา

3 เมืองไฟรบวร์ค (Freiburg) เยอรมนี

เมืองไฟรบวร์ค มีทางปั่นจักรยาน รวมแล้วมีระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร มีรถรางและมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก ทั้งนี้ในย่านชานเมืองบางแห่งห้ามไม่ให้ประชาชนจอดรถยนต์ใกล้ ๆ บ้าน ดังนั้นเจ้าของรถต้องเสียเงินเช่าพื้นที่จอดรถกว่า 18,000 ยูโร หรือ ประมาณ 660,162 บาท

(นักกิจกรรมกีนพีซในเยอรมนี รณรงค์ให้รัฐบาลแก้ปัญหามลพิษอย่างยั่งยืน)

4.เกาหลีใต้

รัฐบาลโสมขาว สั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในเกาหลีใต้ 8 แห่งชั่วคราวเพื่อลดมลพิษทางอากาศ หลังจากที่ก่อนหน้านั้นได้สั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินชั่วคราวเป็นเวลา 4 เดือนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และยังมีแผนการ จะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงเก่าถาวรภายในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2563 เพื่อลดมลพิษทางอากาศ และทำตามข้อตกลงปารีสเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง แม้ว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินเหล่านี้ผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศถึงร้อยละ 40

5. เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

มีแนวคิดการใช้ “จักรยาน” เทียบกับรถยนต์ โดยการขี่จักรยาน 1 ไมล์ ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.42 ดอลล่าสหรัฐ ในขณะที่การขับรถยนต์ส่วนตัวเป็นระยะทาง 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.20 ดอลล่าสหรัฐ นอกจากนี้เมืองส่วนใหญ่ในเดนมาร์กเริ่มทยอยหยุดใช้รถยนต์ มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อทำตามนโยบายเมืองที่มุ่งจะเป็นเมือง Carbon Neutral หรือเมืองที่มีกิจกรรมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเท่ากับศูนย์ภายในปี พ.ศ.2568 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า

ที่มาgreenpeace

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า