SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหานักโทษล้นคุก นับเป็นปัญหาสำคัญที่ไทยต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทำให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ สสส. ร่วมมือกับนักวิจัย จัดทำโครงการเรือจำสุขภาวะ และได้ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อ “เรือนจำสุขภาวะ : พัฒนาคุณภาพชีวิตหลังกำแพง” โดยศึกษาผ่านกิจกรรมของผู้ต้องขังหญิง ที่มีอายุเฉลี่ย 20-50 ปี ในเรือนจำกลาง จ.ราชบุรี และ จ.อุดรธานี

รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ ที่ปรึกษาโครงการงานวิจัย กล่าวว่า การใช้วิธีวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการ “โยคะ” เปลี่ยนชีวิตพลิกตัวตนใหม่ และกิจกรรมอื่นๆ เช่น งานศิลปะ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวกกับเรือนจำและผู้ต้องขัง

ซึ่งวิธีปฏิบัติ ทีมวิจัยจะใช้ โยคะท่าที่ยากๆ อย่างท่า Locust pose เป็นท่าที่คนอื่นๆ ทำกันไม่ค่อยได้ เพื่อให้ผู้ต้องขังหญิงได้ดึงศักยภาพตัวเองให้เต็มที่และพิสูจน์ตัวเอง แสดงให้เห็นความตั้งใจ อดทน และยอมฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ต้องขังหญิง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มองเห็นคุณค่าในตัวเอง เห็นศักยภาพ และมั่นใจในตัวเอง พวกเขาจะเคารพในความสามารถของตัวเอง สามารถคุมร่างกายและจิตใจตัวเองได้และพร้อมจะออกไปทำประโยชน์และเปลี่ยนแปลงตัวเองได้มากขึ้น

การผลดำเนินการ พบว่า ผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำจะสามารถ เล่นโยคะในท่าที่ยากๆ โดยไม่มีพื้นฐานมาก่อนและใช้เวลาในการฝึกจริงจังโดยใช้เวลา เฉลี่ยเพียง 3 เดือน ทุกคนสามารถเล่นเดี่ยวและเข้าคู่ เล่นทีมได้ จำนวนผู้ต้องขังหญิงที่ผ่านกระบวนงานวิจัยชิ้นนี้จะมีความสุข รื่นรมย์ในชีวิต และมีสถิติที่จะทำผิดซ้ำน้อยมาก ถือเป็นการคืนคนดีสู่สังคมได้อย่างชัดเจน

นอกจากโยคะแล้วยังมีงานและกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ต้องขังเกิดพลังสร้างสรรค์และความสุข การจัดพื้นที่ใช้สอย เพื่อการฟื้นฟูและเยียวยา จึงต้องมีแนวคิดที่ต้องปฏิบัติต่อมนุษย์โดยใช้ความเป็นมนุษย์ในการเยียวยา (Human treatment) จัดพื้นที่เรือนจำเป็นสีเขียว (Green prison)

ด้าน ผศ.ดร.ธีรวัลย์ วรรธโนทัย หัวหน้าโครงการงานวิจัย กล่าวว่า การศึกษาวิจัยที่เน้นไปที่กลุ่มผู้ต้องขังหญิง เนื่องจากเคยได้พูดคุยกับผู้ต้องขังหญิง พบว่าเรื่องราวของผู้ต้องขับหญิงหลายคน ที่เข้ามับโทษในเรือนจำ แต่ละความผิด ล้วนมีที่มาที่ไป บางคนมีเหตุจำเป็น บางคนตกกระไดพลอยโจน และสะท้อนให้เห็นภาพตั้งแต่กการทำผิด การต่อสู้ จนถึงการเข้ามาทำทาในเรือนจำ นอกจากนี้ ยังพบว่า ชีวิตในเรือนจำโหดร้าย มีกฎระเบียบเคร่งครัด และโทษบางคดีใช้เวลานาน กว่าจะออกมารับอิสรภาพก็เข้าสู่วัยกลางคน ยิ่งได้เข้าไปพูดคุย ยิ่งทำให้พบว่า คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ถูกลืม ทำให้จำเป็นต้องมีกระบวนการบำบัดพวกเขาเพื่อให้สามารกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีความสุข

นอกจากนี้ รศ.ดร.นภาภรณ์ ได้เสนอว่า ประเทศไทยถึงเวลาต้องเปลี่ยน แนวคิดที่ทำเรือนจำให้ต่างจากสังคมภายนอกให้มากที่สุด เพราะเราต้องทำให้เรือนจำมีความปกติเหมือนสังคมภายนอก ให้โอกาสเขาและสร้างเขาให้มีความรู้ความชำนาญ พร้อมฝากถึงรัฐบาล แก้ปัญหากระบวนการยุติธรรม เพราะถือเป็นเรื่องของความสงบเรียบร้อยของประเทศ และการดูแลผู้ต้องขังที่กระทำผิดซ้ำจนนักโทษล้นคุก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า