SHARE

คัดลอกแล้ว

คุณภาพอากาศในพื้นที่กทม. บางจุดเริ่มกลับมาดีขึ้น หลังปฏิบัติการกำจัดฝุ่น PM 2.5 อย่างจริงจัง ขณะที่เขตปริมณฑล “นครปฐม-นนทบุรี-สมุทรปราการ” ยังน่าห่วง

สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 17 ม.ค. พบจุดอันตรายที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5 ) เกินค่ามาตรฐาน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นใน เวลา 06.00 น. คือที่ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 104 (AQI) , แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง อยู่ที่ 101 (AQI) ขณะที่ ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 114 (AQI)

อย่างไรก็ตาม หลายพื้นที่ที่เคยประสบปัญหาคุณภาพอากาศไม่ดีในช่วงหลายวันที่ผ่านมา วันนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะแขวงดินแดง เขตดินแดง ดัชนีคุณภาพอากาศเวลา 06.00 น. อยู่ที่ 71 (AQI)

สำหรับปริมณฑลยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์คุณภาพอากาศ คือที่ ต.นครปฐม อ.เมืองนครปฐม ดัชนีคุณภาพอากาศ 118 (AQI), อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 114 (AQI) และ ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ อยู่ที่ 109 (AQI)

ขณะที่ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ที่ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อลดฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มาตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค. ทำให้เกิดฝนตกลงมาบางพื้นที่ โดยวันนี้ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงฯ ระบุว่า จะติดตามสภาพอากาศต่อไป หากสามารถปฏิบัติการได้จะมีการขึ้นบินทำฝนหลวงทันที

ติดตามข้อมูลออนไลน์  กรมควบคุมมลพิษ  กรุงเทพมหานคร  แอพพลิเคชั่น Air4Thai

สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศที่ไม่ค่อยดีนักของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐานมาตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 20 ธ.ค. 2561 บางวันที่มีฝนตกลงมาชะล้างก็ทำให้คุณภาพอากาศกลับมาดีขึ้นบ้าง แต่จนถึงขณะนี้สถานการณ์คุณภาพอากาศในช่วงหน้าหนาว ที่อากาศปิด ลมนิ่งเช่นนี้ยังคงต้องติดตามเป็นรายวัน

กรมควบคุมมลพิษ มีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินค่ามาตรฐาน ควรลดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลางแจ้ง สวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ขณะอยู่กลางแจ้ง หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว ดังต่อไปนี้ โรคทางเดินหายใจ, โรคเยื่อบุตาอักเสบ, โรคผิวหนัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

  1. พักผ่อนอยู่ในบ้าน
  2. เตรียมยาให้พร้อม
  3. ใช้หน้ากากกันฝุ่น
  4. รีบพบแพทย์ หากมีอาการ

สำหรับประชาชนทั่วไป ควรลดระยะเวลาออกกำลังกาย หรือทำงานหนักกลางแจ้ง หมั่นสังเกตอาการหากเกิดอาการแสบคอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า