SHARE

คัดลอกแล้ว

ประชาชนส่วนใหญ่มีอาการหายใจไม่สะดวกเมื่อต้องเผชิญกับฝุ่นละอองขาดเล็ก เชื่อหากมีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองอย่างจริงจังจะแก้ปัญหานี้ได้ 

วันที่ 18 ม.ค. 2562 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ปัญหาฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” สำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 มกราคม 2562 กรณีศึกษาจากประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง ผลการสำรวจพบว่า

ผลกระทบจากปัญหาฝุ่นละอองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.31ระบุว่า ได้รับผลกระทบ และร้อยละ 46.69 ระบุว่า ไม่ได้รับผลกระทบ

ในจำนวนผู้ที่ระบุว่าได้รับผลกระทบมีอาการ
หายใจไม่สะดวก ร้อยละ 48.05
แสบจมูก ร้อยละ 41.47
ระคายเคืองตา ร้อยละ 24.10
ไอ จาม เจ็บคอ แสบคอ ร้อยละ 10.18
คันตามร่างกาย ร้อยละ 9.43
อาการอื่นๆ เช่น เป็นหวัด น้ำมูกไหล และทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ค่อยดี ร้อยละ 2.54

สำหรับหน่วยงานที่ต้องออกมารับผิดชอบในการแก้ปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ร้อยละ 72.31 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ
ร้อยละ 45.97 ระบุว่า กรุงเทพมหานคร
ร้อยละ 30.49 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก
ร้อยละ 30.41 ระบุว่า กรมอนามัย/กรมการแพทย์/กรมควบคุมโรค
ร้อยละ 22.67 ระบุว่า องค์การการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
ร้อยละ 20.75 ระบุว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
ร้อยละ 17.72 ระบุว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ร้อยละ 13.97 ระบุว่า กรมอุตุนิยมวิทยา
ร้อยละ 1.68  ระบุอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม
ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาล และร้อยละ 0.88 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

เมื่อถามถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของภาครัฐ/รัฐบาล
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 36.63 ระบุว่า ควบคุมมาตรฐานและตรวจวัด ค่าฝุ่นละอองในทุก ๆ ที่ ที่มีการก่อสร้าง ไม่ให้ค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน
รองลงมา ร้อยละ 33.52 ระบุว่า การจัดการจราจรที่ดี ไม่ให้เกิดปัญหารถติด สาเหตุของการเกิดมลพิษบนท้องถนน
ร้อยละ 28.81 ระบุว่า ให้มีมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่นละอองอย่างจริงจัง
ร้อยละ 24.34 ระบุว่า อนุมัติการก่อสร้างขนาดใหญ่ ให้เริ่มสร้างทีละโครงการ ทีละจุด ไม่เริ่มก่อสร้างพร้อม ๆ กัน
ร้อยละ 22.59 ระบุว่า รณรงค์ลดการใช้รถส่วนตัว หันมาใช้การเดินทางด้วยขนส่งมวลชน
ร้อยละ 15.00 ระบุว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อดูดซับ และลดผลกระทบจากมลพิษในอากาศ
ร้อยละ 10.38 ระบุว่า แจกหน้ากากปิดจมูกที่สามารถกันฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 ได้
ร้อยละ 7.18 ระบุว่า หยุดโรงงานอุตสาหกรรม
ร้อยละ 5.03 ระบุว่า เก็บภาษีกับผู้ที่ก่อมลพิษ
ร้อยละ 3.19 ระบุว่า ใช้แอพพลิเคชันที่ตรวจค่ามลพิษ ฝุ่นพิษต่าง ๆ เช่น AQI กรมควบคุมมลพิษ ฯลฯ
ร้อยละ 7.02 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ทำฝนเทียม ฉีดน้ำบริเวณที่มีฝุ่นละออง มีมาตรการควบคุมดูแลท่อไอเสียรถทุกชนิด กำหนดอายุการใช้งานของรถยนต์ เร่งโครงการที่กำลังก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า