SHARE

คัดลอกแล้ว

สรุปคดีขึ้นศาลปี 61 รวมเกือบ 2 ล้านคดี ส่วนคดีรับใหม่ ยาเสพติดอันดับ 1 เกือบ 3.5 แสน ขณะที่คดีหนี้ กยศ. ติดอันดับด้วยกว่า 1.6 แสนข้อหา

วันที่ 18 ม.ค. ที่ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 12 สำนักงานศาลยุติธรรม ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แถลงผลการดำเนินงานของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม ประจำปี พ.ศ.2561 โดยเปิดเผยสถิติคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ 1,883,228 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,660,252 คดี คิดเป็นร้อยละ 88.16 , คดีที่เข้าสู่การพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ 60,191 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 54,049 คดี คิดเป็นร้อยละ 89.79 ส่วนในชั้นศาลฎีกา รับพิจารณาคดี 23,119 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 16,883 คดี คิดเป็นร้อยละ 73.02 รวมทั้ง 3 ชั้นศาลแล้ว มีคดีศาลรับพิจารณาไว้ทั้งสิ้น 1,966,538 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 1,731,184 คดี คิดเป็นร้อยละ 88.03

 

สถิติคดีทั้งหมดที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ แบ่งเป็นคดีแพ่ง 1,245,716 คดี คิดเป็นร้อยละ 66.15 คดีอาญา 637,512 คดี คิดเป็นร้อยละ 33.85 โดยจำนวนข้อหาที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศสูงสุด 5 อันดับ (เฉพาะคดีที่รับใหม่ในปี 2561) ได้แก่ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ 344,849 ข้อหา, สินเชื่อบุคคล 258,008 ข้อหา, พ.ร.บ. จราจรทางบก 181,933 ข้อหา, บัตรเครดิต 169,897 ข้อหา, กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 166,659 ข้อหา ส่วนการดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 150 เรื่อง คิดเป็นทุนทรัพย์ 105,414,884,005.69 บาท

สำหรับโครงการส่งเสริมการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลมาใช้ในการปล่อยตัวชั่วคราว EM (Electronic Monitoring) ในปัจจุบันมีศาลที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 164 ศาล และมีการติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 6,521 ครั้ง โดยประเภทคดีหรือฐานความผิดที่มีการติดอุปกรณ์ EM มากที่สุด 6 อันดับ ได้แก่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ร้อยละ 37, ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ร้อยละ 21, พ.ร.บ.จราจรทางบก ร้อยละ 16, ความผิดอื่นๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ, พ.ร.บ.เช็ค ร้อยละ 13, ความผิดเกี่ยวกับชีวิตร่างกาย ร้อยละ 8, พ.ร.บ.อาวุธปืน ร้อยละ 5 ในส่วนของการใช้อุปกรณ์ EM ในการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มีการสั่งใช้อุปกรณ์ EM ทั้งสิ้น จำนวน 13 ครั้ง ใน 5 ศาล

นายสราวุธ เปิดเผยว่า มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการคดีเพื่อให้การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมรวดเร็วขึ้นง่ายขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยลงตามนโยบายประธานศาลฎีกา เช่น ระบบส่งเอกสาร, ระบบบริการข้อมูล และระบบเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนการจัดตั้งศาลใหม่ มี 2 ศาลคือ ศาลแขวงภูเก็ต และศาลแขวงระยอง และในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เตรียมจะเปิดทำการศาลใหม่ ได้แก่ ศาลแขวงบางบอน ศาลแขวงเชียงราย ส่วนศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลจังหวัดพระโขนง และศาลจังหวัดตลิ่งชัน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านกฎหมายยกฐานะของทั้ง 3 ศาล จากศาลจังหวัดเป็นศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญามีนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลอาญาพระโขนง ศาลแพ่งตลิ่งชัน และศาลอาญาตลิ่งชัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคดีให้สอดคล้องกับปริมาณคดีในแต่ละประเภทที่มีเป็นจำนวนมาก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า