SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทยสภาเห็นชอบให้เพิ่มโรคลมชักเข้าไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยงอันตราย ส่วนโรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคผ่าตัดสมอง ยังไม่มีข้อสรุป แจงใบรับรองแพทย์ต้องได้มาตรฐานแพทยสภากำหนด 2 ส่วน

วันที่ 21 ม.ค. 2562 จากเหตุกาณ์การชายวัย 44 ปี ขับรถปิกอัพพุ่งชนรถยนต์บนถนนพัทยาใต้ จ.ชลบุรี เหตุเกิดเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 4 ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย หลังเหตุการณ์สงบลงพบว่า สาเหตุเกิดจากอาการลมชักหรืออาการป่วยของชายวัน 44 ปี และในร่างกายไม่พบปริมาณแอลกอฮอล์ จึงกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย เพราะเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากกรณีนี้เองกรมการขนส่งทางบกได้หารือกับแพทยสภาเพื่อเพิ่มสภาวะของโรคที่มีความเสี่ยงหรืออันตรายต่อการขับรถเพิ่มอีก 4 กลุ่ม ได้แก่ โรคลมชัก โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคผ่าตัดสมอง จากเดิมที่กำหนดไว้ 5 โรค ได้แก่ โรคเท้าช้าง วัณโรค โรคเรื้อน พิษสุราเรื้อรัง และโรคติดยาเสพติดให้โทษ

ล่าสุดแพทยสภาได้เห็นชอบให้เพิ่มโรคลมชักในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ ให้อยู่ในกลุ่มโรคเสี่ยงอันตรายต่อการขับรถแล้ว ยกเว้นแต่ไม่มีอาการชักเกิน 2 ปี ซึ่งเบื้องต้นได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้เจ้าหน้าที่ส่วนออกใบอนุญาตขับรถรับทราบข้อมูลเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป ส่วนอีก 3 กลุ่มโรคที่เหลือ คือ โรคเบาหวาน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และโรคผ่าตัดสมอง ยังไม่มีข้อสรุป ยังอยู่ระหว่างการหารือกับแพทยสภา เพราะการกำหนดเพิ่มโรคต้องพิจารณาโรคและระดับอาการความรุนแรงของโรคด้วย บางโรคไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะไม่แสดงอาการ ในแต่ละโรคแพทย์ต้องเป็นผู้วินิจฉัย ต้องใช้ระยะเวลาพิจารณานานเกี่ยวกับสภาวะโรคนั้น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนและเป็นที่ยอมรับได้ในสังคม

ขอบคุณภาพจาก ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับผู้ที่จะขอใบรับรองแพทย์เพื่อนำเอกสารไปประกอบการยื่นคำขอรับใบขับขี่จะต้องใช้ใบรับรองแพทย์ตามแบบมาตรฐานที่แพทยสภารับรอง หรือกำหนดขึ้นมาใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนของผู้ขอรับใบรับรองแพทย์รับรองตนเอง ประวัติโรคประจำตัว ประวัติอุบัติเหตุและการเข้ารับการผ่าตัดที่สำคัญ ผู้ขอรับใบรับรองแพทย์ต้องลงลายมือชื่อในใบรับรองแพทย์ เพื่อยืนยันการให้ข้อมูลว่าถูกต้องตามความจริง

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของแพทย์ ในการตรวจรับรองผู้ขอรับใบรับรองแพทย์ว่า ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต จิตฟั่นเฟือน ปัญญาอ่อน ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติดให้โทษ อาการโรคพิษสุราเรื้อรัง และอาการแสดงของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม รวมทั้งโรคลมชักด้วย

ก่อนหน้านี้นพ.อุดม ภู่วโรดม ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา เคยกล่าวว่า โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในสมอง กรรมพันธุ์ หรือเนื้องอกในสมอง ที่ส่งผลให้สมองผิดปกติ โดยจะมีอาการชักอยู่สองแบบคือ ชักกระตุก ชักเกร็ง หรือนิ่ง เหม่อลอย ซึ่งสถิติขณะนี้คาดว่ามีคนไทยเป็นโรคลมชัก 600,000-700,000 คน ซึ่งถ้าเข้าพบแพทย์รักษาอาการ ทานยาอย่างสม่ำเสมอก็สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้ โดยจะเป็นอันตรายเมื่อขาดยา และไม่ควรทำงานที่ต้องบังคับเครื่องจักร ขับรถยนต์ เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นด้วย ซึ่งสถาบันประสาทวิทยาพยายามหารือกับกรมการขนส่งเพื่อให้ออกเป็นกฎหมายว่า ผู้ป่วยลมชักที่ไม่มีอาการมาแล้ว 6 เดือน-1 ปี เท่านั้นจะสามารถทำใบขับขี่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ลมชักกำเริบ หนุ่มใหญ่ขับย้อนศร กวาดรถนับสิบ ตาย 2 บาดเจ็บอื้อ 15

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า