SHARE

คัดลอกแล้ว

นักการเมืองทยอยระงับการใช้สื่อโซเชียล หลังพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. บังคับใช้ เกรงผิดกฎหมายเลือกตั้ง

เมื่อพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 พบว่า นักการเมืองต่าง ๆ ประกาศหยุดการใช้เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เนื่องจากเกรงว่าอาจผิดกฎหมายเลือกตั้ง

ขณะที่ นายสมชัย ศรีสุทธิยากร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า “นักการเมืองที่เปิดเพจ สามารถมีต่อไปได้ตามปกติ แต้ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ถ้อยคำข้อความที่เป็นเท็จ ใส่ร้าย หยาบคาย ปลุกระดมหรือนำไปสู่การสร้างความแตกแยก นักการเมืองที่ปิดเพจและเปิดเพจใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาการโพสต์ในอดีตที่อาจมีข้อความในลักษณะดังกล่าว แล้วถูกแชร์ขึ้นมาใหม่กลายเป็นปัญหาได้ นักการเมืองที่ปิดเพจโดยถาวร แปลว่า ท่านไม่ประสงค์จะใช้ช่องทางสื่อสารทางโซเชียลเพื่อหาเสียง

อย่างไรก็ตาม หากถึงวันรับสมัครเลือกตั้งแล้ว นักการเมืองทุกคนที่มีเพจ ต้องแจ้งชื่อเพจให้ กกต.ทราบในวันรับสมัครด้วย เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเพจดังกล่าว รวมถึงแจ้งเพจกองเชียร์ที่ตนเองรับรองด้วย การแชร์เพจของนักการเมือง สามารถทำได้ โดยให้พิจารณาว่า เป็นข้อความที่ไม่เป็นเท็จ ไม่ใส่ร้าย ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย จะไม่เป็นความผิดใด ๆ นี่เป็นความเห็นของผมครับ” นายสมชัย ระบุ

โดยในระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 หมวดที่ 2 ว่าด้วยหาการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบุไว้ดังนี้

ส่วนที่ 2 การแจ้งวิธีการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 9 “ในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้สมัครแจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทางระยะเวลาในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบ ตั้งแต่วันสมัครรับเลือกตั้งเป็นต้นไป หรือก่อนดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์

ในกรณีพรรคการเมืองจะดำเนินการการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้แจ้งวิธีการรายละเอียด ช่องทาง ระยะเวลาในการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องตามแบบที่กำหนดท้ายระเบียบ ให้เลขาธิการทราบตั้งแต่วันสมัครรับเลือกตั้งเป็นต้นไป หรือก่อนดำเนินการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ในการแจ้งวิธีการหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ตามส่วนนี้ คณะกรรมการอาจกำหนดวิธีการแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“หาเสียง” อะไรทำได้-ทำไม่ได้

ราชกิจจาฯ ประกาศระเบียบกกต. วิธีการ-ข้อห้ามหาเสียงเลือกตั้ง ฉบับที่ 2

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า