Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการด้านเคมี ม.เกษตร เผยการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยใช้น้ำผสมน้ำตาลฉีดพ่นในอากาศ ลดได้เฉพาะฝุ่น PM 10 เท่านั้น หวั่นน้ำตาลอาจทำให้เกิดเชื้อราตามมา

วันที่ 29 ม.ค. 62 รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงกรณีที่ ภาคเอกชนและภาครัฐ ใช้น้ำผสมน้ำตาลเพิ่มความหนืด ฉีดพ่นในพื้นที่บริเวณริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เพื่อจับฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ที่ผ่านมา ว่าผลที่ได้อาจไม่ต่างจากการฉีดน้ำธรรมดา

รศ.ดร.วีรชัย กล่าวว่า ละอองน้ำที่ฉีดพ่นแล้ว จะสามารถดักจับฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่ลอยในอากาศได้นั้นจะต้องมีละอองขนาดเล็กมาก และแรงดันน้ำอยู่ที่ประมาณ 70-200 บาร์ ฉีดสูงขึ้นไป 100 เมตร แต่อุปกรณ์ที่ไทยใช้อยู่ปัจจุบัน เช่นรถดับเพลิง แรงดันน้ำสูงสุดอยู่ที่ 50 บาร์ จึงสามารถจับฝุ่นขนาด PM 10 ได้เท่านั้น

นอกจากนี้ความหวานในน้ำตาลที่ตกลงบนพื้นถนน หรือตามใบไม้ จะทำให้เกิดเชื้อรา เพราะน้ำตาลเป็นสารอินทรีย์ ที่ต้องมีจุลินทรีย์ในการย่อยสลาย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า