SHARE

คัดลอกแล้ว


นอกจากการเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งต้องติดตามว่าพรรคใดจะได้รับเลือกจากประชาชนเท่าไร ขณะเดียวกัน ผู้คว่ำหวอดในแวดวงการเมืองหลายคน มองไกลไปถึงช่วงของการจับขั้วตั้งรัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรีว่า จะเป็นอีกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ “ชาวนากับงูเห่า” คือ สมาชิกพรรคเปลี่ยนไปโหวตยกมือให้กับฝั่งคู่แข่ง จนเกิดการพลิกขั้วทางการเมือง
.
การเมืองไทยนับแต่อดีต มีการแหกโผยกมือสวนมติ หรือไม่ทำตามมติพรรคหลายครั้ง แต่ครั้งที่ฮือฮาที่สุดจนกลายเป็นนิยาม “งูเห่าการเมือง” คือ ครั้งการลงมติเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี จนทำให้นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2

ภาพ AFP

หลังประสบปัญหาการแก้วิกฤติค่าเงินบาท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ตัดสินใจประกาศลอยตัวค่าเงินบาท และประกาศลาออกเมื่อ 6 พ.ย. 2540 จึงเกิดการพยายามรวมเสียงเพื่อหานายกรัฐมนตรีคนใหม่
.
ฝ่ายรัฐบาลเดิมยังคงได้เปรียบ พรรคความหวังใหม่ และอีก 5 พรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันประกาศชู พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นนายกฯ อีกสมัย ขณะที่ฝ่ายค้านพยายามรวมเสียงเพื่อชู นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาท้าชิง
.

ภาพประกอบ

เสียงฝั่งรัฐบาลที่ประกอบด้วย ความหวังใหม่ ชาติพัฒนา กิจสังคม ประชากรไทย เสรีธรรมและมวลชน 221 เสียง เหนือกว่า ประชาธิปัตย์ ชาติไทย เอกภาพ ไท และพลังธรรม ที่ได้ 172 เสียง
.

แต่จากนั้น เสรีธรรมและกิจสังคมเปลี่ยนขั้ว (4+20) ทำให้ช่องว่างกลับมาเฉือนกันแค่คะแนนเดียว อยู่ที่ 197 – 196 แม้เสียงจะปริ่มน้ำสุดๆ แต่หากพรรครัฐบาลเดิมยังจับมือกันแน่น ฝ่ายค้านก็ไม่มีทางพลิกเกมได้เลย

นายชวน หลีกภัย และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์

.
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ก็มองประเด็นนี้ออก จึงแก้เกมโดยขอแค่แยกสมาชิกพรรคใดมาก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมาทั้งพรรค เกมจะเปลี่ยนทันที

ภาพ AFP

พรรคประชากรไทยของนายสมัคร สุนทรเวช ที่มีอยู่ 18 คน กลายเป็นเป้าหมาย “เสธ.หนั่น” เจรจาดึงออกได้ถึง 13 คน ก่อนที่ นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ จะประกาศลาออกจาก ส.ส.จึงเหลือ ส.ส. 12 คน ที่เปลี่ยนฝ่าย ทำให้ขั้วอำนาจพลิกทันที ฝ่ายสนับสนุนนายชวน รวมเสียงได้ 208 – 185

.

ภาพ wikipedia

12 คนนั้นประกอบด้วย นายวัฒนา อัศวเหม, นายพูนผล อัศวเหม, นายสมพร อัศวเหม, นายมั่น พัธโนทัย, พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์, นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ, นายไกรสิทธิ์ ไกรสิทธิพงศ์, นายประกอบ สังข์โต, นายสำเร็จ อัจฉริยะประสิทธิ์, นายฉลอง เรี่ยวแรง, นายสุชาติ บรรดาศักดิ์, นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย
.
การถูกหักหลังในครั้งนั้น นายสมัครเปรียบเทียบว่า เหมือนชาวนากับงูเห่า เพราะก่อนการเลือกตั้ง นายวัฒนาตกเป็นข่าวมีชื่อในแบล็คลิสต์ผู้พัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติดของทางการสหรัฐจนไม่มีพรรคไหนยอมให้เข้าร่วม เว้นแต่พรรคประชากรไทยของนายสมัคร แต่แล้วเมื่อนายสมัครยืนยันจะยืนอยู่ฝ่ายรัฐบาลเดิม กลับมีลูกพรรค แหกมติไปลงคะแนนให้อีกฝ่าย ทิ้งให้หัวหน้าพรรคกลายเป็นฝ่ายค้าน ส่วนพวกตนเองสลับขั้วไปร่วมรัฐบาล

ภาพจาก zoothailand.org

ผลจากการเปลี่ยนขั้วจาก ส.ส. 12 คน ได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีใน ครม.ชวน 1 ถึง 4 คน คือ นายวัฒนา อัศวเหม เป็น รมช.มหาดไทย, นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รมว.วิทยาศาสตร์, พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี และ นายประกอบสังข์โต เป็น รมช.แรงงาน
.
นายวัฒนา เปิดใจถึงการตัดสินใจในครั้งนั้นว่า ตลอดทั้งคืนไม่ได้นอน มีคนเกือบทุกพรรคมาหามายื่นข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งเงินทองให้ แต่ตนตัดสินใจในตอนเช้าว่าจะสนับสนุนนายชวนเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นนายกรัฐมนตรีตามที่ประชาชนส่วนใหญ่เรียกร้อง แม้จะรู้ว่าจะต้องผิดใจกับหลายคน แต่ถ้าเราสนับสนุนบุคคลตามที่นายสมัครต้องการ บ้านเมืองต้องเกิดจราจลแน่
.
รัฐบาล ชวน 2 อยู่ในตำแหน่งได้ถึง 3 ปี 92 วัน หลังการยุบสภา 9 พ.ย. 2543 มีการเลือกตั้ง เมื่อ 6 ม.ค. 2544 พรรคประชาธิปัตย์และนายชวน หลีกภัย แพ้ พรรคไทยรักไทย กลายไปเป็นฝ่ายค้าน ส่วนส.ส. 12 คน ที่เคยทิ้งนายสมัคร กลับเข้าสภาได้เพียง 2 คน ที่เหลือสอบตกทั้งหมด ส่วนนายสมัคร ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่กลางปี 2543 ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2551

นายเนวิน ชิดชอบ กอดกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศสนับสนุน จัดตั้งรัฐบาล

.หลังจากครั้งนั้น มีงูเห่าเกิดขึ้นอีกครั้ง บ้างก็เรียกว่างูเห่า 2 บ้างก็ว่าเป็นอนาคอนด้าการเมืองไทย คือ การพลิกขั้วของนายเนวิน ชิดชอบ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล ที่ทำให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ
.

หลังเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 เชื่อกันว่าอาจจะเป็นครั้งที่ 3 ของตำนานงูเห่าการเมืองไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า