Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลและทำร้ายร่างกายของผู้ที่สูดดมเข้าไป ไม่เพียงแค่เรื่องปอด ฝุ่นพิษนี้อาจส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้

นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง กล่าวว่า มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD โดยรายงานว่ามีกลุ่มคนที่อยู่ในเมืองที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน จะป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากกว่าคนที่อยู่ในเมืองที่ไม่มี PM 2.5 สูง โดยมีข้อมูลเปรียบเทียบชัดเจน ทั้งในประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO นำข้อมูลเหล่านี้มาทำการวิจัยต่อในพื้นที่อื่น พบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกั

เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีอนุภาคเล็กมากเมื่อเข้าสู่ปอด ที่มีลักษณะเป็นถุงลมที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนกับก๊าซเสีย โดยถุงลมนี้มีทางเข้าออกอยู่ทางเดียว และหากมีสิ่งแปลกปลอมที่ใหญ่กว่า 5 ไมครอน อย่าง PM 2.5 มันจึงเข้าไปในถุงลมปอด และสามารถแทรกซึมเข้าไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทำให้การทำงานของระดับเซลล์ในร่างกายมีปัญหา

 

นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง กล่าวถึงกรณีนี้ว่ามีความจำเป็นมาก และจะเกิดประโยชน์ เนื่องจาก ฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กที่เสี่ยงรับฝุ่นมากกว่าผู้ใหญ่ และสะสมในร่างกายไปจนโต ขณะที่ผู้ใหญ่หากลดการเดินทางออกไปนอกบ้าน จะช่วยลดปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดฝุ่น PM 2.5 นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยในประเทศจีน พบว่าการเลี่ยงออกไปจากบ้านช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานเป็นผลดีต่อสุขภาพมากกว่า

นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง กล่าวว่า จากการศึกษาภายในสถานพักฟื้นคนชรา ในพื้นที่ที่มี PM 2.5 ของต่างประเทศพบว่า ในคนที่เป็นโรคปอด หรือเสี่ยงเป็นโรคปอดจะเสียชีวิตเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบในหลายงานวิจัย ระหว่างกลุ่มคนที่อาศัยในพื้นที่ PM 2.5 ต่ำ และ PM 2.5 สูง และกลุ่มคนที่ใช้เครื่องฟอกอากาศกับกลุ่มที่ไม่ใช้ เพื่อให้เห็นถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่มาจาก PM 2.5 พบว่าคนที่อยู่ในเมืองที่ปริมาณ PM 2.5 สูง ทำให้คนป่วยเป็นโรคปอดมากขึ้น และคนที่ป่วยเป็นโรคปอดอยู่แล้วจะแย่ลง และทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น

ขณะที่ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า PM 2.5 เพิ่มอัตราการเสียชีวิต ก่อนเวลาอันควร จากโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ 58% และเพิ่มการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 18% และเพิ่มการเกิดโรคมะเร็งปอด 6%

นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง ระบุว่า PM 2.5 จะส่งผลต่อสมองของเด็กและผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มี PM 2.5 ความเข้มข้นสูงจะเพิ่มการเสื่อมของสมองและเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่าคนที่อยู่ในสภาพอากาศปกติ

ขณะที่เด็ก พบว่าการได้รับ PM 2.5 ในระยะเวลาหนึ่ง จะมีผลกับพัฒนาการทางสมอง และจะมีผลทำให้สติปัญญาของเด็กไม่มีเท่าที่ควร ดังนั้นเด็กจึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงแรก ที่ควรให้ความสำคัญ

นพ.จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง ระบุว่า ในสถานการณ์ที่ฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน เวลาอยู่ในบ้านจำเป็นต้องใช้เครื่องฟอกอากาศ ที่เป็นตัวกรองแบบ HEPA เท่านั้น มีงานวิจัยว่า หากใช้แบบคาร์บอนไม่สามารถฟอกอากาศที่มี PM 2.5 ได้ โดยตัวกรองแบบ HEPA สามารถไหลเวียนอากาศในห้องได้ และต้องใช้ขนาดเครื่องที่เหมาะสมกับห้อง และจะช่วยลดปริมาณ PM 2.5 ที่อยู่ในบ้านได้ และช่วยลดการหอบหืดในผู้ป่วยได้ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า